เคลียร์
สารเสริมประสิทธิภาพ
คุณสมบัติ
เคลียร์ เป็นสารเสริมประสิทธิภาพเสริมการกำจัดเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยเสริมการกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดที่อยู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็วโดยการช่วยให้ตัวยาสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง เคลียร์ มีสารประกอบอินทรีย์ทีสามารถวิ่งไปจับกับเชื้อโรค ทำให้ผนังเซลของเชื้อโรคเสียสมดุลและแตกสลายได้ทันที เคลียร์ ยังเป็นสารเสริมประสิทธิภาพที่ทำให้ตัวยากระจายและจับติดใบหรือส่วนต่างๆของพืชได้ดี เคลียร์ ไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในพืชและจะหมดประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคหรือสารอินทรีย์อื่นๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
Polyoxyethylene sorbitan monolaurate   10%
(non ionic surfactant)
คุณประโยชน์
-ใช้เสริมยากำจัดและควบคุมโรคพืชได้รวดเร็ว โดยเคลียร์สามารถเสริมการฆ่าเชื้อโรคได้ทั้ง เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่ายที่ทำให้เกิดโรคพืช บริเวณผิวนอกของพืช เช่น โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเหี่ยว โรคแคงเคอร์ โรคยอดเน่า โรคผลเน่า และอื่นๆ เป็นต้น-ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการควบคุมและกำจัดเชื้อโดยที่เคลียร์สามารถแพร่กระจายตัวยาได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่น และจับกับเชื้อโรคที่ผิวด้านนอกของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
-สามารถใช้ร่วมกับยาป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ทุกชนิด ยกเว้นสารเสริมประสิทธิภาพอื่นๆ และสามารถลดการใช้และการดื้อยาของสารกำจัดโรคพืชทั่วๆไปได้
-เคลียร์สามารถใช้ได้ทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว(Pre-harvest) และหลังการเก็บเกี่ยว(Post-harvest) และจะสูญสลายอย่างรวดเร็ว จึงไม่ตกค้างในพืชและผลผลิต ปลอดภัยต่อพืช คน และสัตว์
-เคลียร์ทำให้พืชสะอาด ปราศจากเชื้อโรค และ เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ได้กับพืชไร่ พืชผักผลไม้ และไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิดโรคพืชก่อนเก็บเกี่ยว ใช้อัตรา 5-10 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณติดเชื้อหรือทั่วต้นเมื่อพบการระบาดทุกๆ 5-7 วัน
โรคพืชหลังเก็บเกี่ยว ใช้อัตรา 5 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร จุ่มหรือแช่ผลผลิตเกษตรนาน 5 นาที
เหมาะกับเสริมยารักษาโรคแอนแทรคโนส, โรคราน้ำค้าง, ราแป้ง, ใบจุด, ราสนิม, โรคเน่า และโรคอื่นๆ ในหอม กระเทียม พริก มะเขือเทศ ข้าว ข้าวโพดหวาน หอม กระเทียม แตงโม แตงกวา แคนตาลูป คะน้า กะหล่ำปลี ผักกาด ฟัก มะระ บวบ หน่อไม้ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ทุเรียน ลำไย ส้ม มะนาว กล้วยไม้ มะละกอ กล้วย มันฝรั่ง สับปะรดและพืชตระกูลถั่ว

กลไกการออกฤทธิ์
1. ผนังเซลชั้นนอก (outer membrane)
2. ผนังเซลชั้นใน (cytoplasmic membrane)
การออกฤทธิ์ที่ชั้นนอก (outer membrane)
ผนังเซลซึ่งมีลักษณะเป็น Lipopolysaccharide จะมีประจุลบอยู่ด้านนอกเรียงตัวในลักษณะเป็น bilayer ดังนั้นเคลียร์จะวิ่งไปจับกับผนังเซลอย่างรวดเร็ว ทำให้ผนังเซลบิดเกิดรอยร้าวขึ้น และเคลียร์สามารถผ่านเข้าไปสู่ชั้นในได้ต่อไป
การออกฤทธิ์ที่ชั้นใน (cytoplasmic membrane)
Cytoplasmic membrance ก็จะมีลักษณะเป็นbilayerเหมือนชั้นนอก ซึ่งมีประจุลบที่บริเวณผิว เคลียร์ที่เข้ามาจะจับติดกับผนังเซลแล้วมีกลไลออกฤทธิ์ที่เป็นไปได้ดังนี้
- การจับกับผิวผนังเซลมากพอจะทำให้ผนังเซลแตกสลาย
- จะเกาะกลุ่มกันทำให้เกิดท่อที่ผนังเซล ทำให้สารภายเซลไหลออกได้
- จะเรียงตัวที่ผิวเซลเหมือนปูพรม ทำให้ผนังเซลสูญเสียความแข็งแรง
- ตามรอยรั่วเข้าไปทำลายอวัยวะภายในเซลซึ่งมีประจุลบ