เทคนิคการเพิ่มผลผลิตหน่อไม้ฝรั่ง

แตกหน่อดี จำนวนหน่อเยอะ หน่อตรง หน่ออวบ
หน่อเขียว หน่อกรอบ ได้น้ำหนัก
หมดปัญหาหน่อเป็นเสี้ยน ผลผลิตต่อไร่สูง
หมดปัญหาโรคลำต้นไหม้
โรคแอนแทรคโนส


ใช้แพ็คคู่ ซอยล่อน-25 20 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่นทางดิน ทุกๆ 3-6 เดือน
คุณประโยชน์
เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ทำให้การระบายน้ำในดินดีขึ้น ช่วยให้แตกหน่อดี จำนวนหน่อเยอะ


อย่างละ 20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.
อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, โปร-ซีบีเอ็น)อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทางใบทุกๆ 7-10 วัน
คุณประโยชน์
ลำต้นใหญ่ ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ช่วยให้พืชทนร้อน ทนแล้ง ได้ดีขึ้น วัคซีนพืช ป้องกันโรค และต้านทานแมลง หมดปัญหาโรคลำต้นไหม้ และโรคเชื้อราทุกชนิด


อย่างละ 20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.
อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย(พรีคัส, โปร- ซีบีเอ็น, แซมวิก้า)อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทางใบทุกๆ 7-10 วัน
คุณประโยชน์
แตกหน่อดี จำนวนหน่อเยอะ หน่อตรง หน่ออวบ หน่อเขียว หน่อกรอบ หมดปัญหาหน่อเป็นเสี้ยน ผลผลิตต่อไร่สูง
ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

ลำต้นใหญ่ ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ช่วยให้พืชทนร้อน ทนแล้งได้ดี วัคซีนพืช ป้องกันโรค และต้านทานแมลง


นวัตกรรมเคมีเกษตรพืชยุคใหม่ สูตรประจุบวกรุนแรง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคเชื้อราทุกชนิด ประสิทธิภาพสูง สามารถหยุดการลุกลามของเชื้อโรคทันที ใช้ปริมาณน้อย ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต


สูตรประจุบวกรุนแรง ผสมผสานกรดไขมัน สูตรความเข้มข้นสูง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคเซอโคสปอร่าไบล์ โรคเน่าเปียก โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราทุกชนิด และโรคแบคทีเรียทุกชนิด คุ้มครองให้ต้นหน่อไม้ฝรั่งปราศจากเชื้อโรคทุกชนิดอย่างยาวนาน


แตกหน่อดี จำนวนหน่อเยอะ หน่อตรง หน่ออวบ หน่อเขียว หน่อกรอบ ได้น้ำหนัก หมดปัญหาหน่อเป็นเสี้ยน ผลผลิตต่อไร่สูง

ปฏิวัติระบบราก ระเบิดดิน เพิ่มการแตกรากฝอย ทำให้การระบายน้ำในดินดีขึ้น ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ช่วยให้หน่อไม้ฝรั่งแทงหน่อได้ง่ายขึ้น
การปลูกและการดูแลรักษาหน่อไม้ฝรั่ง
การเตรียมดิน
ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ได้แก่ ดินที่มีเนื้อดินร่วนจนถึงดินเหนียวร่วน หน้าดินลึกและมีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลางขึ้นไป ส่วนดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีน้ำขัง มีชั้นดินดานข้างใต้ เป็นกรดและด่างจัด นับว่าเป็นดินที่ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช ทั้งนี้เพราะดินดังกล่าวเป็นอุปสรรคที่สำคัญซึ่งขัดขวางการเจริญเติบโตของ รากพืช เป็นสาเหตุให้พืชเจริญเติบโตช้าและให้ผลผลิตต่ำ
ระยะปลูก
แปลงปลูกหน่อไม้ฝรั่งนั้น เกษตรกรนิยมทำแปลงปลูกแบบยกร่อง โดยจะปลูกหน่อไม้ฝรั่งบนสันร่อง สำหรับแนวร่องนั้นอาจจะมีน้ำขังระหว่างร่องหรือไม่มีน้ำขังก็ได้
1. การยกร่องในที่ลุ่ม
การยกร่องแบบนี้มักจะนิยมทำกันในเขตที่ราบลุ่มซึ่งมีน้ำขังได้ง่าย หรือมีการเปลี่ยนจากการทำนามาเป็นพืชผัก ความกว้างของร่องควรกว้าง ประมาณ 4-5 เมตร มีร่องน้ำกว้างประมาณ 1 เมตร โดยใช้ระยะระหว่างต้นประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวประมาณ 1-1.20 เมตร เพื่อให้เข้าไปเก็บเกี่ยวได้สะดวก
2. การยกร่องในดินดอน
ในที่ดอนที่มีสภาพดินร่วนหรือดินทราย ลักษณะของดินดังกล่าวไม่สามารถจะเก็บกักน้ำเอาไว้ได้ เกษตรกรจึงทำการยกร่อง เพื่อที่จะให้น้ำแก่ต้นหน่อไม้ฝรั่งโดยการปล่อยน้ำให้ไหลไปตามร่อง การเตรียมแปลงปลูกในที่ดิน จะต่างกับการยกร่องแปลงปลูกในที่ลุ่มตรงที่จะต้องมีการไถปรับระดับหน้าดิน ให้ลาดไปทางใดทางหนึ่ง โดยมีระดับความลาดเทของพื้นที่โดยประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ โดยให้แนวที่สูงที่สุดอยู่ใกล้แหล่งน้ำมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อประหยัดสายยางในการขึ้นน้ำ และยังทำให้การไหลของน้ำเป็นไปได้อย่างสะดวก
วิธีการปลูก
นำเมล็ดมาหยอดลงในร่องที่เตรียมไว้ หยอดเมล็ดเป็นจุด ๆ ละ 1 เมล็ด ห่างกันจุดละ 10-15 เซนติเมตร จากนั้นกลบเมล็ด โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้เขี่ยดินขอบร่องลงกลบในร่องบาง ๆ แล้วใช้ฟางคลุมทับบนแปลงหนาพอประมาณ ละลายยาป้องกันเชื้อราใส่ในบัวรดน้ำ รดให้ทั่วแปลง
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ยในระยะแรก ๆ จะให้ในรูปของปุ๋ยละลายน้ำ โดยใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้สลับกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตราที่เท่ากัน ละลายปุ๋ยใส่บัวรดน้ำราดบนแปลงแล้วรดน้ำตามให้ชุ่มประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง ให้ประมาณ 3-4 ครั้ง จากนั้นเริ่มให้ปุ๋ยเม็ด สำหรับปุ๋ยเม็ดให้ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 15-20 กรัม ต่อพื้นที่ปลูกประมาณ 1 ตารางเมตร ใส่ปุ๋ยเม็ดเดือนละครั้ง ประมาณ 2-3 ครั้ง ใส่พร้อมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 200-300 กรัม ถ้าไม่มีแรงงานพอในการให้ปุ๋ยแบบละลายน้ำรด
เดือนที่ 1 ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 10-15 กรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ตารางเมตร
เดือนที่ 2 ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 15-20 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร
หลังปลูกแล้ว อายุ 15-20 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ทุกๆ 3 สัปดาห์ ประมาณ 4-5 ครั้ง
การกำจัดวัชพืช
หลังจากกล้าหน่อไม้ฝรั่งงอกแล้ว ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ การกำจัดวัชพืชในช่วงเดือนแรกของการเพาะกล้า ควรทำอย่างระมัดระวัง เพราะกล้าหน่อไม้ฝรั่งยังอ่อนแออยู่ หากกระทบกระเทือนอาจทำให้ต้นกล้าตายได้ การใช้มือถอนจะดีที่สุด การกำจัดวัชพืชบนแปลงกล้า ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช แต่ถ้าเป็นรอบ ๆ บริเวณแปลงเพาะกล้า หรือบริเวณทางเดิน สามารถใช้สารเคมีได้โดยไม่เกิดปัญหาใด ๆ
ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร
โรคหน่อไม้ฝรั่ง
โรคเน่าเปียก

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Choanephora sp.
ลักษณะอาการ
มักเกิดกับต้นอ่อนเริ่มแตกกิ่งแขนงหรือยอดอ่อน เชื้อโรคจะเข้าทำลายตรงปลายหน่อ มีลักษณะแผลฉ่ำน้ำ สีเขียวเข้ม ต่อมายอดอ่อนจะมีสีเหลืองและเหี่ยว เชื้อราจะสร้างก้านสั้นๆ ปลายก้านมีตุ่มสีดำเล็กๆ อยู่บริเวณแผลนั้น
การแพร่ระบาด
โรคระบาดรุนแรงในฤดูฝน และในสภาพที่มีความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
1.แช่กล้าก่อนปลูกด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช
2.หากพบโรคให้เก็บต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ในแปลงหรือบริเวณใกล้แปลงปลูก
3.หากพบการระบาดให้ฉีดสารป้องกันและกำจัด
โรคแอนแทรคโนส

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp.
ลักษณะอาการ
พบที่ลำต้นเป็นแผลจุดเล็กๆสีน้ำตาล แผลขยายใหญ่ขึ้น จะพบจุดสีส้มหรือสีดำเรียงซ้อนกันเป็นชั้น และจะยุบตัวลงตามความยาวของลำต้น ทำให้ต้นเหี่ยวแฟบเป็นสีเขียวอมเหลือง คล้ายถูกน้ำร้อนลวก ใบเทียมจะเหลืองซีด
การแพร่ระบาด
อาศัยน้ำหรือลม เพื่อนำสปอร์แพร่กระจายไปยังต้นหน่อไม้ฝรั่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง และอาจเกิดได้จากรอยแผลที่เกษตรกรทำการตัดยอดของต้นหน่อไม้ฝรั่งเพื่อป้องกันต้นหักล้ม โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
1.แช่กล้าก่อนปลูกด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช
2.หากพบโรคให้เก็บต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ในแปลงหรือบริเวณใกล้แปลงปลูก
3.หากพบการระบาดให้ฉีดสารป้องกันและกำจัด
โรคราสนิม

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Puccinia asparagi
ลักษณะอาการ
อาการระยะเริ่มแรกจะปรากฏบนกิ่งหรือแขนงเล็กๆที่เพิ่งแตกออก โดยจะเกิดเป็นตุ่มยาวเล็กๆ สีน้ำตาลหรือแดงขึ้นก่อน ต่อมาตุ่มเหล่านี้จะแตกออกเกิดแผลเล็กๆ มากมาย ลักษณะเป็นจุดหรือขุยสีน้ำตาลแดง โดยแผลเหล่านี้จะเป็นที่เกิดของสปอร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อแก่จะหลุดกระจายไปตามลมหรือสิ่งที่ไปสัมผัสถูกต้องเข้า กิ่งหรือต้นที่แสดงอาการจะแห้งและแก่เร็วก่อนกำหนด ต่อมาในตอนปลายๆ ฤดูปลูก หรือใกล้เก็บเกี่ยวจุดแผลสีแดงหรือน้ำตาลจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีดำ ทำให้กิ่งหรือแขนงที่แห้งกลายเป็นสีดำไปด้วย
การแพร่ระบาด
การระบาดมักจะเริ่มในระยะที่มีนํ้าค้างหมอกจัดหรือในช่วงที่มีฝนตกปรอยๆ อากาศชื้นมากๆ พบว่าโรคราสนิมของหน่อไม้ฝรั่งจะเสียหายรุนแรงในดินแห้งมากกว่าดินที่เปียกชื้นหรือชุ่มนํ้า สำหรับอุณหภูมินั้นพบว่าไม่มีความสำคัญมากนัก ทั้งในการงอกของสปอร์และการเข้าทำลายพืช
การป้องกันกำจัด
1.เก็บทำลายต้นตอเศษซากพืช พร้อมทั้งต้นที่งอกขึ้นมาเองให้หมดจากบริเวณแปลงปลูก หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว
2.ปลูกพืชให้มีระยะระหว่างแถวและต้นให้ห่างกัน พอสมควร ให้ลมพัดผ่านได้สะดวกเพื่อให้น้ำค้างหรือนํ้าฝนระเหยแห้งจากต้นพืชโดยเร็ว
3.เมื่อเกิดโรคขึ้นกับพืชขณะปลูก ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมี
4.เลือกปลูกหน่อไม้ฝรั่ง โดยใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
การนำไปใช้ประโยชน์
ในตลาดของหน่อไม้ฝรั่งมีทั้งขายบริโภคสด ๆ และส่งโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดหน่อขาว และหน่อเขียว
การแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมหน่อไม้ฝรั่งที่นำมาแปรรูปจะมีขนาดไม่เท่ากัน จึงต้องตัดออกและมีเศษที่เหลือจากการตัด เพื่อไม่ให้วัตถุดิบในการผลิตสูญเปล่าจึงมีการศึกษาทดลองใช้เศษที่เหลือ หน่อไม้ฝรั่งที่เหลือทิ้งจากการแปรรูปของโรงงานอุตสาหกรรม นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ ที่มีศักยภาพสูงในด้านการตลาดซึ่งมีหลายชนิด เช่น
-หน่อไม้ฝรั่งบรรจุกระป๋อง เป็นของเหลวขุ่นสีเขียว คล้ายน้ำใบบัวบก มีกลิ่นหอมของหน่อไม้ฝรั่ง รสหวาน มีตะกอน ขนาดเล็กนอนก้นกระป๋อง
-ซุปหน่อไม้ฝรั่งชนิดข้นบรรจุกระป๋อง เป็นของเหลวข้น ๆ สีน้ำตาลอมเขียว กลิ่นหอมของมันเนยผสมกลิ่นเครื่องเทศ
-ซุปหน่อไม้ฝรั่งผง เป็นผงละเอียดสีเขียว มีกลิ่นหอม เมื่อผสมน้ำจะคืนรูปเป็นซุปหน่อไม้ฝรั่ง มีลักษณะคล้ายซุปหน่อไม้ฝรั่งกระป๋อง แต่มีสีเขียวน่ารับประทานกว่าซุปกระป๋อง
-หน่อไม้ฝรั่งดองเค็มและปรุงรส มีลักษณะเป็นสีขาวแต่มีเนื้อนิ่มมาก
-หน่อไม้ฝรั่งกวนลักษณะปั้นเป็นทรงกลม สีเขียวอ่อน รสหวาน
-กากจากหน่อไม้ฝรั่ง ที่เหลือจากการทำน้ำหน่อไม้ฝรั่ง นำไปอบแห้ง และป่นเป็นผงจะมีสีเขียวอ่อน สามารถนำไปใช้ เป็นวัตถุดิบเสริมเกี่ยวกับการทำเยื่อใยเพิ่มในอาหาร
-ซุปหน่อไม้ชนิดเข้มข้น มีส่วนผสมของผัก เครื่องเทศ นม เนย หน่อไม้ฝรั่งดองปรุงรสด้วยซุปเห็ดหอมและหน่อไม้ฝรั่งกวน
ที่มา : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์