มันสำปะหลัง

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง


มันสำปะหลังลงหัวทุกสภาพอากาศ หัวใหญ่ซุปเปอร์จัมโบ้ จำนวนหัวมาก เพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง ผลผลิตต่อไร่สูง

ระยะแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก

อย่างละ 20 ซี.ซี.


10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม แช่ท่อนพันธุ์นาน 10-30 นาที
 

คุณประโยชน์
เพิ่มการแตกราก รากเยอะ เพิ่มการแตกตาใบ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง

ระยะเริ่มปลูก-เจริญเติบโต

อย่างละ 20 ซี.ซี.


10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 15-30 นาที และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่นทุกๆเดือน
 

คุณประโยชน์
เพิ่มการแตกราก รากเยอะ ลำต้นใหญ่ ใบสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยให้พืชทนแล้ง ทนร้อนได้ดี

ระยะลงหัว

20 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้ทูเบอร์ก้า ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง
 

คุณประโยชน์
ช่วยให้มันสำปะหลังลงหัวทุกสภาพอากาศ จำนวนหัวมาก หัวใหญ่สม่ำเสมอ เพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง ผลผลิตต่อไร่สูง

ระยะขยายหัว-เก็บเกี่ยว

อย่างละ 20 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 15-30 วัน
 

คุณประโยชน์
หัวใหญ่ซุปเปอร์จัมโบ้ จำนวนหัวมาก ไส้ไม่กลวง เพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง เนื้อแน่น ผลผลิตต่อไร่สูง

ทุกอัตราผสมน้ำ 20 ลิตร


ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, พรีคัส)


เพิ่มการแบ่งเซลล์ พืชเจริญเติบโตดี รากพืชแข็งแรง ลำต้นใหญ่ ใบสมบูรณ์ ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ใบมัน ช่วยให้พืชทนแล้ง ทนร้อน ทนหนาว ทนดินเค็มได้ดี วัคซีนพืช ป้องกันโรคพืช และต้านทานแมลง

ฮิวโม่-เอฟ65


เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ช่วยให้พืชกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ต้นสมบูรณ์ เขียวทน เขียวนาน ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย ใช้ปริมาณน้อย ต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง

สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส)


หัวใหญ่ซุปเปอร์จัมโบ้ จำนวนหัวมาก ไส้ไม่กลวง หัวไม่แตก เพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง เนื้อแน่น ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง

ทูเบอร์ก้า

ช่วยเพิ่มการลงหัว ทำให้พืชลงหัวได้ดีขึ้น เพิ่มขนาดหัว เพิ่มจำนวนหัว ไม่รัดต้น เพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง หัวใหญ่สม่ำเสมอ ผลผลิตต่อไร่สูง ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต

การปลูกและการดูแลรักษามันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี โดยมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรจะทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน คือประมาณเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม อีกร้อยละ 20 ปลูกในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 13 จะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม สำหรับการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนนี้ ผลผลิตหัวสดที่ได้จะสูงกว่าการปลูกในช่วงอื่นๆ แต่ในดินที่มีลักษณะเนื้อดินค่อนข้างหยาบ การปลูกในช่วงฤดูแล้งจะให้ผลผลิตสูงที่สุด ดังนั้นในการตัดสินใจเลือกช่วงการปลูกมันสำปะหลังที่เหมาะสม จึงต้องพิจารณาทั้งปริมาณน้ำฝน และลักษณะของดิน

การเตรียมดิน
มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ในดินทั่วไปตั้งแต่ดินเหนียวถึงดินทราย แต่จะให้ผลผลผิตสูงในดินเนื้อหยาบ และดินร่วนซุย ที่มีการระบายน้ำได้ดี ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในดินที่ชื้นแฉะเพราะหัวมันจะเน่าเสียได้ง่ายและมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิสูง การเตรียมดินควรไถ 2 ครั้ง ด้วยผาน 3 และผาน ไถลึกประมาณ 8-12 นิ้ว โดยไถกลบมันสำปะหลังที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในฤดูเพาะปลูกที่ผ่านมา สำหรับพื้นที่ปลูกทีลาดเอียง การไถควรขวางทิศทางของความลาดเอียง เพื่อลดการสูญเสียหน้าดิน และพื้นที่ปลูกที่มีน้ำท่วมขัง ก็ควรทำร่องระบายน้ำและยกร่องปลูก

การเตรียมท่อนพันธุ์
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ขยายด้วยลำต้น โดยอายุของท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 8-12 เดือน ซึ่งเมื่อนำไปปลูกจะมีเปอร์เซนต์อยู่รอดถึง 90-64 เปอร์เซนต์ ขนาดความยาวของท่อนพันธุ์ ประมาณ 20-25 เซนติเมตร มีจำนวนตาประมาณ 10 ตาขึ้นไปต่อ 1 ท่อนพันธุ์ และต้นพันธุ์ที่ตัดมานั้น หากยังไม่นำไปปลูกเลยก็ควรตั้งกองไว้ในที่ร่มมีแดดผ่านได้เล็กน้อย และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 7-15 วัน เพราะคุณภาพของท่อนพันธุ์จะเสื่อมและอัตราการงอกจะลดลงได้

ระยะปลูก
ระยะปลูกมันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตั้งแต่ระยะ 60×60 เซนติเมตร จนถึง 120×120 เซนติเมตร โดยระยะ 100×100 เซนติเมตรจะมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าระยะอื่นๆ แต่ถ้าหากเกษตรกรมีการใช้เครื่องทุ่นแรง ระยะปลูกระหว่างแถวxต้น อาจใช้ 120x80 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องทุ่นแรง

วิธีการปลูก
วิธีการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรมี 2 วิธี คือ
1. การปลูกแบบนอน
2.การปลูกแบบปัก
โดยการปลูกแบบปักจะให้ผลดีกว่าการปลูกแบบนอน เนื่องจากมันสำปะหลังจะงอกได้เร็วกว่า สะดวกต่อการปลูกซ่อมและกำจัดวัชพืช การปลูกแบบปักสามารถปลูกได้ทั้งปักตรงและปักเอียง โดยปักลึกลงไปในดินประมาณ 10-15 เซนติเมตร

การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเมื่อเทียบกับพืชไร่อื่นๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมากเมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี ธาตุอาหารในดินย่อมลดลงตามลำดับ ส่งผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลังลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-8-16ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งๆละเท่าๆกัน ในครั้งแรกให้ใส่หลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้ว 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 3 เดือน นอกจากการใส่ปุ๋ยเคมีแล้ว เกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยพืชสด โดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม หรือปอเทือง แล้วไถกลบในระยะก่อนออกดอก หรือปลูกพืชแซมที่ช่วยบำรุงดินปลูกระหว่างแถว เพื่อช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกวิธีหนึ่ง

การกำจัดวัชพืช
เป็นสิ่งที่จำเป็นมากเนื่องจากการปล่อยให้วัชพืชขึ้นแข่งขันกับมันสำปะหลังโดยไม่กำจัดเลย จะทำให้ผลผลิตลดลงถึง 25-50 เปอร์เซนต์ การกำจัดวัชพืชควรทำอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 30 และ 60 วันตามลำดับ และควรมีการกำจัดเพิ่มเติม ถ้าหากยังพบว่ามีวัชพืชขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น โดยระบบการจัดการวัชพืชในแปลงปลูกมันสำปะหลัง มี 4 ระบบ คือ
ระบบที่1 วิธีเขตกรรมตามด้วยการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทฆ่าวัชพืช คือ ทำการไถพรวนโดยใช้รถไถเล็กเดินตามหรือแรงงานสัตว์เข้าไปกำจัดวัชพืชที่ขึ้นมาแล้ว หลังจากนั้นรอจนวัชพืชขึ้นมาใหม่อีกรุ่นหนึ่งจึงฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืช ประเภททำลายโดยวิธีสัมผัส ทั้งนี้ต้องมีครอบกันละอองและมันสำปะหลังควรสูงประมาณ 70-80 เซนติเมตร ระบบนี้ เหมาะสำหรับการปลูกเมื่อมีฝนน้อย ช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม ระบบที่ 2 วิธีเขตกรรมตามด้วยการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมผสมกับประเภทฆ่าวัชพืช
ระบบที่2 เหมือนกับ ระบบที่ 1 ในขั้นตอนไถพรวน 1-2 ครั้ง แล้วฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชชนิดเดียว ประเภทคุมวัชพืชหรือใช้ 2 ชนิดผสมกัน คือ ประเภทคุมและประเภทฆ่าวัชพืช โดยมีครอบกันละออง และมันสำปะหลังควรสูงเกิน 70 เซนติเมตร ระบบที่ 2 นี้ จะเหมาะสำหรับการฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชในช่วงที่มีฝนตกชุก
ระบบที่3 วิธีฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมวัชพืชตามด้วยวิธีเขตกรรม เป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับช่วงการปลูกมัน สำปะหลังที่มีฝนตก โดยฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชทันทีหลังปลูกมันสำปะหลัง จากนั้นเมื่อวัชพืชขึ้นมาแล้ว ให้ใช้วิธีกำจัดด้วยจอบเฉพาะจุด โดยระบบนี้ควรปลูกด้วยระยะต้นห่างกัน 0.5-0.8 เมตร
ระบบที่4 วิธีฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมหรือสารกำจัดวัชพืชประเภทฆ่าเมื่อปลูกด้วยท่อนพันธุ์ยาวและใช้ระยะปลูกถี่ โดยใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังยาว 50 เซนติเมตร หลังจากที่มันสำปะหลังงอกขึ้นมาแล้วสูงเกิน 70 เซนติเมตร ให้ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดวัชพืชประเภทคุมหรือฆ่าวัชพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีครอบกันละอองเพื่อป้องกันอันตรายต่อต้นมันสำปะหลังโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคมันสำปะหลัง


โรคใบไหม้

cassavapat1

สาเหตุ เกิดจากบักเตรี
ลักษณะอาการ ลักษณะอาการ เริ่มแรกแสดงอาการใบจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ ใบเหี่ยว ยางไหล จนถึงอาการยอดเหี่ยว และแห้งตายลงมา นอกจากนี้ยังทำให้ระบบท่อน้ำอาหารของลำต้นและรากเน่า
การแพร่ระบาด ติดไปกับท่อนพันธุ์ โดยฝนหรือดิน รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร
การป้องกันกำจัด
-ใช้พันธุ์ต้านทาน หรือพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคปานกลาง เช่น ระยอง 90, ระยอง 9
-ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ หรือหลีกเลี่ยงการใช้ท่อนพันธุ์ส่วนโคนลำต้นหรือโคนกิ่งมันสำปะหลัง
-ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรงให้ปลูกพืชหมุนเวียนอายุสั้น เพื่อลดประชากรเชื้อโรคในดิน
-การใช้สารเคมีเป็นทางเลือกสุดท้าย ควรใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบเป็นพวกทองแดง


โรคแอนแทรคโนส

cassavapat2

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา C. gloeosporioides
ลักษณะอาการ ลำต้นแก่เป็นแผลที่มีขอบเขตแน่นอน สีน้ำตาลหรือสีดำ ถ้ามีปริมาณน้ำฝนมากหรือความชื้นสูงๆ แผลจะขยายตัว ลามขึ้นสู่ยอด ลำต้นอ่อน แผลมีขอบเขตไม่แน่นอน สีน้ำตาลอ่อน เมื่อมีความชื้นสูงจะขยายตัวสู่ส่วนยอด ทำให้ยอดตายอย่างรวดเร็ว เป็นรอยไหม้ที่โคนก้านใบติดกับลำต้นและก้านใบส่วนที่ติดกับตัวใบหักลู่ลง ในที่สุดจะหลุดร่วงทั้งต้น
การแพร่ระบาด โรคระบาดไปกับท่อนพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ ฝน ลม แมลงและอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ
การป้องกันกำจัด
-ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
-การเขตกรรม ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน ไถกลบเศษซากมันสำปะหลังลึก ๆ ช่วยลดประชากรเชื้อโรคในดินได้
-หากโรคระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบของทองแดง


ที่มา :   กรมวิชาการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์

1.การบริโภคเป็นอาหารโดยตรง ปกติที่นิยมรับประทานจะเป็นหัวมันสำปะหลังชนิดหวาน หมายถึงชนิดที่มีกรดไซยานิคน้อย เช่น มันปิ้ง มันเชื่อม เป็นต้น

2.อุตสาหกรรมมันเส้น การแปรรูปที่ใกล้ตัวเกษตรกรมากที่สุดคือการทำมันเส้น เมื่อเก็บเกี่ยวหัวมันสดแล้วก็จะนำมาส่งลานมัน ซึ่งเกษตรกรบางรายมีลานของตัวเองก็จะทำการแปรรูปโดยใช้เครื่องตัดหัวมันเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปตากบนลานซีเมนต์ เมื่อแห้งดีแล้วก็ทำการเก็บเพื่อส่งขายเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์หรืออุตสาหกรรมมันอัดเม็ดต่อไป

3.อุตสาหกรรมมันอัดเม็ด มันอัดเม็ดหรือที่เรียกว่ามันเม็ด ผลิตโดยการอัดมันเส้นโดยเครื่องอัดภายใต้สภาวะความร้อนและความดัน หลังจากอัดแล้วจะมีลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เนื่องจากมันเม็ดมีปริมาณแป้งสูงจึงใช้เป็นแหล่งอาหารให้พลังงานของสัตว์

4.อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง แป้งมันสำปะหลังมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความขาว มันวาว เป็นแป้งที่ ขาวใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรส เหมาะมากเมื่อนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในอาหารจะไม่มีกลิ่นรสแปลกปลอม สามารถนำแป้งมันสำปะหลังไปใช้บริโภคในครัวเรือน อุตสาหกรรมแป้งดัดแปร ใช้ทำผงชูรสและไลซีน สารให้ความหวาน อุตสาหกรรมอาหารและสาคู อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมไม้อัดและกาว อุตสาหกรรมสิ่งทอ


ที่มา:   หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีแปรรูปมันสำปะหลังและแป้ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์