เทคนิคการเพิ่มผลผลิตพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหยวก พริกหวาน


ผลใหญ่สม่ำเสมอ ทรงสวย ผิวสวย สีเข้ม ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ปัองกันโรคเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส หมดปัญหาโรคใบหงิก ใบด่าง ยอดไม่เดิน

ระยะเพาะกล้า

10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่น 1 ครั้ง
 

คุณประโยชน์
เพิ่มการแตกราก รากเยอะ ต้นกล้าแข็งแรง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส

ระยะย้ายปลูก-เจริญเติบโต

อย่างละ 20 ซี.ซี.         5 ซี.ซี.


10 กรัม



อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร-ซีบีเอ็น) อย่างละ 10 ซี.ซี., เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่นทุกๆเดือน

 

คุณประโยชน์
เพิ่มการแตกราก รากเยอะ ต้นกล้าแข็งแรง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส

ระยะออกดอก-ติดผลอ่อน

อย่างละ 20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส,โปร-ซีบีเอ็น), สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, พรีคัส, แซมวิก้า) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

 

คุณประโยชน์
ออกดอกดก ติดผลดี ขั้วเหนียว หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส

ระยะขยายขนาดผล-เก็บเกี่ยว

อย่างละ 20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส,โปร-ซีบีเอ็น), สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, พรีคัส, แซมวิก้า) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

 

คุณประโยชน์
เพิ่มการสร้างเนื้อ ขยายขนาดผล ผลใหญ่สม่ำเสมอ ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ออกดอกดก ติดผลดี เก็บได้นานหลายรุ่น

ทุกอัตราผสมน้ำ 20 ลิตร ห้ามใส่สารจับใบ


ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, โปร ซีบีเอ็น), เคลียร์

ต้นสมบูรณ์ ใบใหญ่ ใบหนา ช่วยผสมเกสร หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส


เคลียร์

นวัตกรรมเคมีเกษตรพืชยุคใหม่ สูตรประจุบวกรุนแรง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคเชื้อราทุกชนิด ประสิทธิภาพสูง สามารถหยุดการลุกลามของเชื้อโรคทันที ใช้ปริมาณน้อย ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต


แพ็คคู่(เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ)

สูตรประจุบวกรุนแรง ผสมผสานกรดไขมัน สูตรความเข้มข้นสูง หมดปัญหาโรคกุ้งแห้ง โรคใบยอดเน่า โรคเหี่ยวเขียว โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคเชื้อราและโรคแบคทีเรียทุกชนิด

สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส)

ผลใหญ่สม่ำเสมอ ทรงสวย ผิวสวย เนื้อแน่น สีเข้ม ได้น้ำหนัก ต้นสมบูรณ์ ออกดอกดก ติดผลดี เก็บได้นานหลายรุ่น

ฮิวโม่-เอฟ65

สารอินทรีย์ปรับปรุงสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ช่วยการแตกราก รากขาว รากยาว รากเยอะ ปลดปล่อยปุ๋ย และเคลื่อนย้ายปุ๋ยไปยังส่วนที่พืชต้องการ กินปุ๋ยดี ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย เสริมฤทธิ์ยาคุม-หญ้า คุมหญ้าได้นานขึ้น

การปลูกและการดูแลรักษาพริก


ในประเทศไทยสามารถปลูกพริกได้ตลอดปี แต่จะปลูกได้ผลดีที่สุดระหว่างเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่เก็บผลผลิตในฤดูแล้ง ทำให้สะดวกในการตากแห้ง อีกทั้งเป็นช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู ( 24-29 องศาเซลเซียส)
แต่จะปลูกให้ได้ราคาสูงจะต้องปลูกในเดือนเมษายน-พฤษภาคมและสิงหาคม-กันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ปลูกพริกยากที่สุด

การเตรียมดิน
-ไถดินลึก 30-40 เซนติเมตร 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งตากดินทิ้งไว้ 2-3 สัปดาห์
-ถ้าดินมี pH ตํ่าให้ปรับสภาพของดินโดยใช้ปูนขาว ตามคำแนะนำของการวิเคราะห์ดิน โดยทั่วๆไปไม่เกินครั้งละ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์

ระยะปลูก
สำหรับระยะปลูกพริกที่เหมาะสม พริกขี้หนูและพริกชี้ฟ้า เป็นพริกที่มีทรงพุ่มใหญ่ ควรใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร พริกหยวก ใช้ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ส่วนระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพริกยักษ์ซึ่งเป็นพริกที่มีทรงพุ่มเล็ก ควรใช้ระยะห่างระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร

วิธีการปลูก
การปลูกพริกในปัจจุบันสามารถทำได้ด้วยกัน 2 วิธี ซึ่งเกษตรกรจะเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ดังนี้
1. การเพาะเมล็ดพันธุ์ ในแปลง
2. การเพาะเมล็ดพันธุ์ในกะบะเพาะที่มีวัสดุเพาะเมล็ด

การดูแลรักษา
-ใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 3-4 ตันต่อไร่ หรือประมาณ 500 กรัมต่อหลุม
-ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 รองก้นหลุมอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
-หลังจากปลูกกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่
-หลังปลูกแล้ว อายุ 15-20 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ทุกๆ 3 สัปดาห์ ประมาณ 4-5 ครั้ง

การกำจัดวัชพืช
-ควรกำจัดขณะวัชพืชยังเล็กเพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลักหรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืช หรือติดไปกับผลผลิต
-ควรเก็บวัชพืช และเศษพืชโดยเฉพาะที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก

ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคพริก


โรคกุ้งแห้งหรือแอนแทรคโนส

chillipat1

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp.
ลักษณะอาการ
ลักษณะการเข้าทำลายในพริกผลใหญ่ จะเกิดจุดฉ่ำน้ำขึ้นโดยที่ผิวของผล พริกจะมีรอยบุ๋มเล็กน้อย และมีอาการฉ่ำน้ำเป็นรูปวงกลมหรือวงรี ต่อมาแผลจะค่อยๆ ขยายออก เชื้อราจะสร้างสปอร์ซึ่งเห็นเป็นวงกลมสีดำชัดเจน สำหรับในพริกผลเล็ก ลักษณะการทำลายในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน คือ เนื้อเยื่อผลพริกเกิดจุดฉ่ำน้ำแต่ไม่ปรากฏรอยบุ๋ม หรือ ปรากฏแต่ไม่ค่อยชัดเจน แต่ถ้าผลพริกถูกทำลายในช่วงที่ฝนไม่ตก แผลจะไม่เป็นทรงที่แน่นอน พบการระบาดมากในระยะที่ผลผลิตพริกกำลังเจริญเติบโต แสดงอาการเห็นได้ชัดกับผลพริกที่แก่จัดหรือสุก
การแพร่ระบาด พบการระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ความชื้นในอากาศมีมากจนทำให้เชื้อรา เจริญเติบโตได้ดีและปัจจัยเสริมที่ทำให้โรคระบาดรุนแรงก็คือ พริกขาดแคลเซียมที่จะเป็นตัวช่วยให้เซลล์แข็งแรงต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรีย เมื่อเกิดโรคระบาดไม่มีการป้องกันที่ถูกวิธี
การป้องกันกำจัด
1.ทำการกำจัดวัชพืชอย่าให้เป็นที่สะสมของโรค-แมลง และความชื้น
2.เก็บผลพริกที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลง
3.ควบคุมโรคโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
4.ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราพ่นทุก 1-2 อาทิตย์ต่อครั้ง


โรคใบจุด

chillipat2

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Cercospora sp.
ลักษณะอาการ ใบพริกร่วงก่อนกำหนด ถ้าเกิดกับต้นกล้าพริก ต้นกล้าจะแห้งตายโดยจะเริ่มแสดงอาการเป็นจุดขนาดเล็ก ต่อมาขยายวงกว้างจนเป็นแผลขนาดใหญ่ ตรงกลางแผลจะแห้งบางเป็นสีเทาอ่อนหรือน้ำตาล ขอบแผลสีน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลอมแดง แผลที่เกิดขึ้นอาจลุกลามมารวมติดกันเป็นแผลใหญ่และหลุดร่วงไป
การแพร่ระบาด เกิดได้ดีในอากาศชื้น เชื้อราจะแพร่กระจาย และระบาดได้ดีโดยลม การสาดกระเซ็นของนํ้า แมลง เครื่องมือกสิกรรม และสิ่งเคลื่อนไหวทุกชนิด การอยู่ข้ามฤดูของเชื้อ เส้นใยที่ขึ้นเกาะกินอยู่บนต้นพืช เมื่อพืชตายก็จะอาศัยเกาะกินอยู่บนเศษซากพืชต่อมาได้อีก อย่างน้อย 1 ฤดูปลูก หรือไม่ก็ไปอาศัยเกาะติดอยู่กับเมล็ด
การป้องกันกำจัด
1.เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ
2.หลีกเลี่ยงการปลูกพริกในแปลงที่เคยมีโรคระบาดมาก่อนอย่างน้อย 2 ปี
3.เมื่อเกิดโรคระบาดรุนแรง ควรใช้สารเคมี

ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์

ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของพริกมีหลากหลายชนิด ได้แก่ พริกป่น น้ำพริก น้ำจิ้มพริก ซอสพริก อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องบางชนิด อาหารกึ่งสำเร็จรูปที่มีพริกเป็นเครื่องปรุง ส่วนใหญ่แล้วพริกที่นำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นพริกแห้ง ยกเว้นในซอสพริกและน้ำพริกบางชนิดที่ใช้พริกสดในการแปรรูป

จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2548 พบว่ามีกลุ่มเกษตรกรผลิตพริกและผลิตภัณฑ์แปรรูปขั้นต้นออกจำหน่ายเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นจำนวน 99 กลุ่ม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพริกกับคนไทยและอุตสาหกรรมแปรรูปพริกยังเป็นอุตสาหกรรมอาหาร และจากสถิติการส่งออกและการนำเข้าของกรมศุลกากรปี 2549 พบว่า การส่งออกพริกมีทั้งรูปผลสด ซอสพริก พริกแห้ง เครื่องแกงสำเร็จรูป และพริกบดหรือป่น เป็นปริมาณรวม 34,653 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2,139 ล้านบาท ชนิดที่ส่งออกเป็นมูลค่ามาก 3 ลำดับแรกเป็นผลิตภัณฑ์พริกที่ได้จากการแปรรูป คือ พริกแกง (1,082 ล้านบาท) ซอสพริก (866 ล้านบาท) และพริกสดหรือแช่เย็น (86 ล้านบาท) สำหรับการส่งออกพริกแห้งมีมูลค่า 66 ล้านบาทแต่มีการนำเข้าเป็นมูลค่าสูงถึง 693 ล้านบาท โดยนำเข้ามากที่สุด 3 ลำดับแรก จากประเทศอินโดนีเซีย (564 ล้านบาท) พม่า (81 ล้านบาท)และจีน (26 ล้านบาท) ปริมาณการส่งออกและนำเข้าพริกแห้งแสดงให้เห็นว่าความต้องการใช้พริกแห้งมีมากขึ้น แต่ปริมาณ คุณภาพและราคาของพริกที่ผลิตได้ไม่สอดคล้องหรือสม่ำเสมอกับความต้องการใช้ของผู้แปรรูป จึงทำให้ต้องมีการนำเข้าพริกแห้งเพื่อมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศ


ที่มา :   คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น