แตงกวา

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแตงกวา


ลูกอ่อนติดดก เพิ่มขนาดผลใหญ่
ติดดอกต่อเนื่อง ไม่หลุดร่วง
ต้นเขียว เก็บได้นานขึ้น

ระยะต้นกล้า(5-7 วัน)

อย่างละ 20 ซี.ซี.

10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร- ซีบีเอ็น)อย่างละ 20 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

คุณประโยชน์
แตกรากดี รากขาว รากเยอะ ต้นกล้าแข็งแรง ใบใหญ่ ใบหนา วัคซีนพืช ป้องกันโรค เชื้อราไวรัส
ระยะเจริญเติบโต ระยะออกดอก(15-30 วัน)

อย่างละ 20 ซี.ซี.

20 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร- ซีบีเอ็น)อย่างละ 20 ซี.ซี. และ พรีคัส 20 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน

คุณประโยชน์
ใบเขียว ใบหนา ยอดไม่ชะงัก ช่วยผสมเกสร ติดดอกดก ขั้วเหนียว ไม่หลุดร่วง วัคซีนพืช ป้องกันโรค เชื้อราไวรัส
ระยะขยายลูกและเก็บเกี่ยว(30 วันเป็นต้นไป)

อย่างละ 20 ซี.ซี.

20 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร- ซีบีเอ็น)อย่างละ 20 ซี.ซี. และ พรีคัส 20 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน

คุณประโยชน์
ลูกอ่อนติดดก เพิ่มขนาดผลใหญ่ ติดดอกต่อเนื่อง ไม่หลุดร่วง ต้นเขียวสด เก็บได้นานขึ้น วัคซีนพืช ป้องกันโรค เชื้อราไวรัส
ทุกอัตราผสมน้ำ 20 ลิตร


ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร ซีบีเอ็น)-เคลียร์


อัตราและวิธีการใช้
แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร- ซีบีเอ็น) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 10 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน ใช้รักษาโรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัส Cucumber mosaic


เคลียร์


อัตราและวิธีการใช้
เคลียร์ 10 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน ใช้รักษาโรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis

บี-ลอง


อัตราและวิธีการใช้
บี-ลอง 1 กก. คลุกปุ๋ย 50 กก. ใส่ทุกๆ 3-6 เดือน

คุณประโยชน์
เขียวไว เขียวทน เขียวนาน ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ลดปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผล

การปลูกและการดูแลรักษาแตงกวา


แตงกวา เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ นํ้าเต้า ซึ่งมีการปลูกกัน อย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวสั้น โดยใช้เวลาเพียง 30-45 วัน

การเตรียมดิน
ก่อนการปลูกแตงกวา ทำการไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วันเพื่อทำลายวัชพืชและศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออกแล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปปรับโครงสร้างของดิน ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา

ระยะปลูก
การเตรียมหลุมปลูกนั้น ควรกำหนดระยะระหว่างต้นประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่

วิธีการปลูก
วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสมํ่าเสมอประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น

การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้
1.ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
2.หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
3.ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคแตงกวา


โรคราน้ำค้าง

cucumberpat1

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis
ลักษณะอาการ
เริ่มเป็นจุดสีเหลืองบนใบ แผลนั้นจะขยายออกเป็นเหลี่ยมในระหว่างเส้นใบ ถ้าเป็นมากๆ แผลลามไปทั้งใบทำให้ใบแห้งตาย ในตอนเช้าที่มีหมอกนํ้าค้างจัดช่วงหลังฝนตกติดต่อกัน ทำ ให้มีความชื้นสูง ในบริเวณปลูกจะพบว่าใต้ใบตรงตำแหน่งของแผลจะมีเส้นใยสีขาวเกาะเป็นกลุ่มและมีสปอร์เป็นผงสีดำ
การแพร่ระบาด เชื้อราสาเหตุของโรคราน้ำค้างเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 16 – 22 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสูง หากมีหมอก น้ำค้าง หรือฝนตกอย่างหนัก จะทําให้เชื้อราแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว สปอร์ของเชื้อราสามารถเคลื่อนย้ายไป โดยลม และบางครั้งอาจติดไปกับแมลงบางชนิด
การป้องกันกำจัด
1.บำรุงรักษาต้นให้สมบูรณ์ จะช่วยให้พืชไม่อ่อนแอต่อโรค
2.เก็บใบหรือส่วนของพืชที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย
3.เมื่อมีการระบาดในช่วงหมอกและน้ำค้างลงควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี
4.เกษตรกรที่ปลูกแตงใหม่ควรคลุกเมล็ดแตงด้วยสารเคมี

ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์


แตงกวา เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่นิยมนำผลดิบมาใช้ประโยชน์ในหลายรูปแบบ อาทิ การรับประทานสด การปรุงอาหาร การแปรรูปแตงกวาดอง และใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น โลชั่น สบู่ แชมพู รวมถึงนำมาใช้เป็นสมุนไพรช่วยในการขับพิษ แก้ร้อนใน ป้องกันท้องผูก และช่วยย่อยอาหาร เป็นต้น


ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร