ทุเรียน

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตทุเรียน


8 ขั้นตอนง่ายๆ
กับเทคนิคการทำ
ทุเรียน

ระยะฟื้นสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว

ทางดิน


หลังการตัดแต่งกิ่ง
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ซอยล่อน-25 อัตรา 200 ซี.ซี. ผสม ฮิวโม่-เอฟ65 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม 1 ครั้ง
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ หว่านใต้ทรงพุ่ม

คุณประโยชน์
แก้ปัญหาดินแข็ง ดินเหนียว ดินอัดแน่น และดินดาน ทำให้การระบายน้ำในดินดีขึ้น เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน ปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ปลดปล่อยปุ๋ยที่ถูกตรึงอยู่ในดินช่วยกำจัดสารพิษ และโลหะหนักจากยาฆ่าแมลง ฟื้นฟูรากฝอย รากเยอะ ทำให้ต้นลำไยแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น

คำแนะนำ:
หลังตัดแต่งกิ่งควรใช้แพ็คคู่ เคลียร์ - ออร์กาโน-เอฟ ล้างต้นทุเรียนทั้งต้นเพื่อป้องกันโรคใบติด ราสีชมพู ราสนิม และโรคไฟทอปธอร่า ทำให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์ แข็งแรง โดยใช้ เคลียร์ 100 ซีซี. ผสม ออร์กาโน-เอฟ 200 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบกิ่ง และลำต้นทุเรียน ให้เปียกชุ่ม และใช้เคลียร์ 100 ซีซี. ผสม ออร์กาโน-เอฟ 400 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดที่โคนต้นป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า

ทางใบ



หลังการตัดแต่งกิ่ง
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน ใช้ เคลียร์ 100 ซีซี. ผสม ออร์กาโน-เอฟ 200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ กิ่ง และลำต้นทุเรียน 1 ครั้ง

คุณประโยชน์
สามสหาย ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นได้อย่างรวดเร็ว ช่วยในการแตกกิ่ง ใบใหญ่ ใบหนา ใบเขียวเข้ม ใบมัน ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มพลังงาน และสารอาหารสะสมที่จำเป็นต่อการออกดอก ติดผล แพ็คคู่ เคลียร์ - ออร์กาโน เอฟ ช่วยล้างเชื้อโรคในสวนทุเรียน ป้องกันโรคใบติด โรคราสีชมพู โรคราสนิม และโรคไฟทอปธอร่า

เกร็ดความรู้:
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งทันทีให้โปร่ง และเป็นรูปฉัตร แสงแดดส่องถึงใต้ต้นทุเรียน ให้ตัดกิ่งทุเรียนที่ถูกแมลงเข้าทำลาย กิ่งที่เป็นโรค และกิ่งที่ชี้ลงดินออก ทำการระเบิดดิน ฟื้นฟูรากฝอย และใส่ปุ๋ยทางดิน ให้อาหารเสริมทางใบ ทำให้ต้นทุเรียนแตกกิ่งก้านใบใหม่ เพื่อสังเคราะห์แสงและสะสมอาหารเต็มที่อีกครั้ง ทำให้ต้นทุเรียนมีความพร้อมในการให้ผลผลิตครั้งต่อไป
ระยะทำใบ

ทางดิน


ใบชุดแรก
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ ซอยล่อน-25 200 ซีซี. ผสม ฮิวโม่-เอฟ65 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม 1 ครั้ง
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 หว่านใต้ทรงพุ่ม

ใบชุดที่ 2
อัตราและวิธีการใช้
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 หว่านใต้ทรงพุ่ม

คุณประโยชน์
แก้ปัญหาดินแข็ง ดินเหนียว ดินอัดแน่น และดินดาน ทำให้การระบายน้ำในดินดีขึ้น เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน ปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ปลดปล่อยปุ๋ยที่ถูกตรึงอยู่ในดิน ช่วยกำจัดสารพิษ และโลหะหนักจากยาฆ่าแมลง ฟื้นฟูรากฝอย รากเยอะ ทำให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น

คำแนะนำ:
ควรให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง การให้อาหารเสริมทางใบจะเพิ่มการสะสมอาหารให้สมบูรณ์อย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากพัฒนาการของใบอ่อน เปลี่ยนเป็นใบสีเขียวเข้ม ใบมัน

ทางใบ


ใบชุดแรก
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ผสม เคลียร์ อัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน

ใบชุดที่ 2
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ผสม เคลียร์ อัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน

คุณประโยชน์
สามสหาย ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นได้อย่างรวดเร็ว ช่วยในการแตกกิ่ง ใบใหญ่ ใบหนา ใบเขียวเข้ม ใบมัน ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มพลังงาน และสารอาหารสะสมที่จำเป็นต่อการออกดอก ติดผล เคลียร์ ช่วยล้างเชื้อโรคทุกชนิดในสวนทุเรียน เช่น โรคใบติด ราสีชมพู ราสนิม และโรคไฟทอปธอร่า

เกร็ดความรู้:
ต้นทุเรียนจะแตกใบอ่อน ภายหลังจากต้นทุเรียนแตกรากฝอย การระเบิดดิน และฟื้นฟูรากฝอยของต้นทุเรียน จะทำให้น้ำซึมผ่านดินได้ดียิ่งขึ้น ทำให้น้ำไม่ขังเมื่อฝนตกหนัก ช่วยลดปัญหาโรครากเน่า โคนเน่าในต้นทุเรียน
ระยะพ่นสาร

ทางดิน

งดการให้น้ำใต้ต้นทุเรียน ภายหลังโฉบสารพาโคลบิวทราโซล

คุณประโยชน์
เพื่อให้ต้นทุเรียนเกิดความเครียด ทำให้การโฉบสารมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

คำแนะนำ:
ควรโฉบสารพาโคลบิวทราโซล ระยะทุเรียนแตกใบอ่อนชุด 2 ในช่วงใบเพสลาดต้นทุเรียนไม่ควรโดนฝนนาน 4-5 ชั่วโมงหลังโฉบสาร และควรงดน้ำใต้ต้นทุเรียนภายหลังโฉบสาร

ทางใบ

อัตราและวิธีการใช้
ใช้สารพาโคลบิวทราโซล 10 % อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ให้เปียกชุ่ม 1 ครั้ง

คุณประโยชน์
ยับยั้งการแตกใบอ่อน เพิ่มการออกดอก

เกร็ดความรู้:
สารพาโคลบิวทราโซล มี 2 ชนิด คือ สารพาโคลบิวทราโซล 10% เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ต้องการให้ต้นทุเรียนออกดอกสม่ำเสมอทั่วทั้งต้น และสารพาโคลบิวทราโซล 25% เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ต้องการให้ต้นทุเรียนออกดอกก่อนฤดู แต่ผลเสียของสารพาโคลบิวทราโซล มีผลทำให้ท่อลำเลียงอาหารที่ปลายใบเล็กลง มีผลเสียต่อระบบรากฝอย และทำให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อนยาก ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต
ระยะสะสมอาหาร

ทางดิน

ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 หว่านใต้ทรงพุ่ม

คุณประโยชน์
เพิ่มพลังงานและความสมบูรณ์ของต้น ทำให้ต้นทุเรียนเกิดความพร้อมในการออกดอก ติดผล ช่วยในการยับยั้งการแตกใบอ่อนของต้นทุเรียน

คำแนะนำ:
เลือกต้นทุเรียนที่มีความสมบูรณ์ อายุไม่ควรต่ำกว่า 4 ปี การทำทุเรียนนอกฤดู ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอไปตลอดถึงเก็บเกี่ยว

ทางใบ



อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 200 ซีซี. ผสม เคลียร์ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 3-4 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

คุณประโยชน์
สามสหาย ทำให้ใบสมบูรณ์ ใบใหญ๋ ใบหนา ใบเขียวเข้ม ใบมัน เพิ่มพลังงาน และสารอาหาร สะสมที่จำเป็นต่อการออกดอก ติดผล เคลียร์ ช่วยล้างเชื้อโรคทุกชนิดในสวนทุเรียน เช่น โรคใบติด ราสีชมพู ราสนิม และโรคไฟทอปธอร่า

เกร็ดความรู้:
ต้นทุเรียนที่มีการสะสมอาหารที่ดีโดยการใส่ปุ๋ยทางดินและฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบ มีผลทำให้ ต้นทุเรียนมีความอุดมสมบูรณ์ มีความพร้อมในการออกดอกพร้อมกันทั่วทั้งต้น ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา
ระยะเปิดตาดอก

ทางดิน

ให้นำเศษใบไม้ใต้ต้นทุเรียนออก และให้น้ำใต้ต้นทุเรียนพอประมาณ

คุณประโยชน์
ทำให้ต้นทุเรียนเกิดความเครียด เพิ่มการเกิดตาดอกใต้ท้องกิ่ง

คำแนะนำ:
เมื่อสภาพอากาศแล้งติดต่อกัน 7-10 วัน ต้นทุเรียนจะมีอาการใบตั้งชันสู้แสง ทางดินให้น้ำเฉพาะที่โคนต้นพอประมาณ ไม่ต้องให้น้ำที่ปลายทรงพุ่ม และให้นำเศษใบไม้ใต้ต้นทุเรียนออกให้หมดเพื่อให้ต้นทุเรียนเกิดความเครียด มีผลทำให้ต้นทุเรียน มีความพร้อมในการออกดอก กรณีใต้ท้องกิ่งทุเรียนแตกใบอ่อน แนะนำใช้อิมเพล 300 ซีซี. ผสม พรีคัส 300 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตรฉีดพ่นใต้ท้องกิ่ง 2 ครั้ง ห่างกัน 3-5 วัน มีผลทำให้ไข่ปลาจะแทงออกมาจำนวนมาก และแขนงดอกเยอะ

ทางท้องกิ่ง


หลังจากสภาพอากาศแล้ง 10-14 วัน
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ อิมเพล 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นใต้ท้องกิ่ง 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน

กรณีฝนตกหนักหลังจากอากาศแล้ง 10-14 วัน
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ อิมเพล 200-500 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นใต้ท้องกิ่ง 1-2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน

คุณประโยชน์
เพิ่มการเกิดตาดอกใต้ท้องกิ่ง ทำให้แทงช่อดอกได้รวดเร็วขึ้น จำนวนช่อดอกเยอะ ช่อดอกสมบูรณ์

เกร็ดความรู้:
อิมเพล คือสารสร้างฮอร์โมนไซโตไคนิน สร้าง RNA DNA และมีส่วนผสมสาหร่าย การใช้อิมเพลในระยะเปิดตาดอก มีผลทำให้ต้นทุเรียนได้รับฮอร์โมนไซโตไคนินเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุเรียนมีความพร้อมในการเกิดตาดอกที่ใต้ท้องกิ่ง ส่วนการใช้อิมเพลในระยะดึงช่อดอก มีผลทำให้ช่อดอกทุเรียสมบูรณ์ ติดผลดก ผลทุเรียนที่ได้มีความสมบูรณ์ รูปทรงสวย
ระยะไข่ปลา ตาปู เหยียดตีนหนู กระดุม มะเขือพวง หัวกำไล

ทางดิน

ระยะตาปู เหยียดตีนหนู
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ ซอยล่อน-25 200 ซีซี. ผสม ฮิวโม่-เอฟ65 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม 1 ครั้ง
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หว่านใต้ทรงพุ่ม
ให้น้ำเยอะทุกๆ 2 วัน

ระยะดอกบาน
ให้น้ำแต่น้อยแค่ดินพอเปียกชุ่มๆ

คุณประโยชน์
แก้ปัญหาดินแข็ง ดินเหนียว ดินอัดแน่น และดินดาน ทำให้การระบายน้ำในดินดีขึ้น เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน ปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ปลดปล่อยปุ๋ยที่ถูกตรึงอยู่ในดินช่วยกำจัดสารพิษ และโลหะหนักจากยาฆ่าแมลง ฟื้นฟูรากฝอย รากเยอะ ทำให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น

คำแนะนำ:
ระยะไข่ปลา ตาปู เหยียดตีนหนู กระดุม มะเขือพวง หัวกำไล ระยะนี้ควรให้น้ำมากขึ้นทุกๆ 2 วัน
ระยะดอกบาน ระยะนี้ควรให้น้ำแต่น้อยลง

ทางใบ


ระยะตาปู เหยียดตีนหนู
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 200 ซีซี. ผสม อิมเพล 100-200 ซีซี. ผสม จิ๊ป 2% 50 ซีซี. ผสม เคลียร์ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบในทรงพุ่ม และที่ดอก 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

ระยะกระดุม มะเขือพวง หัวกำไล
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 200 ซีซี. ผสม อิมเพล 100-200 ซีซี. ผสม เคลียร์ 100 ซีซี. ผสม ออร์กาโน-เอฟ 200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ในทรงพุ่ม และที่ดอก 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

ระยะดอกบาน
ปัดดอกที่กิ่ง เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป เพื่อช่วยในการผสมเกสร

คุณประโยชน์
สามสหาย และ อิมเพล ช่วยเพิ่มการออกดอก ดอกดกทั่วทั้งต้น ช่อดอกอวบอ้วน ช่อดอกยาว ช่อดอกสมบูรณ์ เกสรตัวผู้เกสรตัวเมียอายุยาวขึ้น ช่วยในการผสมเกสร ทำให้ติดผลดก ขั้วเหนียว ลดปัญหาการหลุดร่วง เคลียร์ เสริมป้องกันเชื้อราเข้าขั้วดอก

เกร็ดความรู้:
โดยธรรมชาติต้นทุเรียนจะแตกใบอ่อนทั่วทั้งต้น ถ้าต้นทุเรียนสูญเสียพลังงานมากหรือต้นทุเรียนมีใบที่ไม่สมบูรณ์ และมีจำนวนใบน้อย ดังนั้นถ้าต้นทุเรียนแตกใบอ่อนก่อนดอกบานจะเป็นการดีมาก เพราะจะมีผลดีต่อต้นทุเรียนในระยะหางแย้ไหม้ จนถึงระยะขยายขนาดผล
ระยะหางแย้ไหม้ – ระยะติดผลอ่อน

ทางดิน

ระยะหางแย้ไหม้
ให้น้ำทุกๆ 2 วัน

ระยะติดผลอ่อน
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 หว่านใต้ทรงพุ่ม

คุณประโยชน์
เพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้นทุเรียน สร้างเปลือก สร้างเมล็ด สร้างเนื้อ

คำแนะนำ:
กรณีต้นทุเรียนไม่สมบูรณ์ มีจำนวนใบน้อย และใบมีขนาดเล็ก ควรป้องกันต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยใช้สามสหาย อย่างละ 200 ซีซี. ผสม ปุ๋ยเกร็ด 0-42-56 อัตรา 500 กรัม ผสม เมพิควอต คลอร์ไรด์ 25% อัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ นอกทรงพุ่ม 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน

ทางใบ


ระยะหางแย้ไหม้
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ผสม เคลียร์ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบในทรงพุ่ม และที่ลูก 1 ครั้ง

ระยะติดผลอ่อน
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ผสม เคลียร์ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบในทรงพุ่ม และที่ผลอ่อน 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน

คุณประโยชน์
สามสหาย ทำให้ช่อดอกสมบูรณ์ ทำให้ติดผลดี ผลอ่อนโตเร็ว สม่ำเสมอทั่วทั้งต้น หนามแหลม หนามเขียว ขั้วผลใหญ่ รูปทรงสวย ขั้วเหนียว ลดปัญหาการหลุดร่วงและการแตก เคลียร์ เสริมป้องกันเชื้อราเข้าขั้วผล

เกร็ดความรู้:
หลังฝนตกหนัก ไนโตรเจนในดินจะสูง มีผลทำให้ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน ทำให้ผลอ่อนร่วงหล่นเป็นจำนวนมาก ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-42-56 เหมาะสำหรับต้นทุเรียน ใช้ในการยับยั้งการแตกใบอ่อนของต้นทุเรียน สารเมพิควอต คลอร์ไรด์ คือสารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช ใช้ในการยับยั้งการแตกใบอ่อนของต้นทุเรียน
ระยะขยายขนาดผล – ระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน

ทางดิน

ระยะขยายขนาดผล
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 หว่านใต้ทรงพุ่ม

ระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 หรือ สูตร 13-13-21 หว่านใต้ทรงพุ่ม
คุณประโยชน์
เพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้นทุเรียน สร้างเปลือก สร้างเนื้อ เพิ่มความหวาน

คำแนะนำ:
ควรให้น้ำต้นทุเรียนอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ควรตัดแต่งลูกทุเรียนที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง และควรเก็บลูกทุเรียนไว้ให้เหมาะสมกับขนาดของต้นทุเรียน ควรใช้เชือกฟางโยงลูกและกิ่งทุเรียนเพื่อป้องกันกิ่งทุเรียนฉีกหัก ควรป้องกันการเข้าทำลายของแมลงและศัตรูพืช

ทางใบ


ระยะขยายขนาดผล
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ผสม เคลียร์ 50 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบในทรงพุ่ม และที่ผลทุเรียน ทุกๆ 10-15 วัน

ระยะก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ สามสหาย อย่างละ 200 ซีซี. ผสม เคลียร์ 100 ซีซี. ผสม ออร์กาโน-เอฟ 200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบในทรงพุ่ม และที่ผลทุเรียน 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน


คุณประโยชน์
สามสหาย ทำให้ผลทุเรียนโตเร็ว เพิ่มการสร้างเปลือก สร้างเนื้อ ลูกใหญ่สม่ำเสมอ พูเต็ม หนามแหลม หนามเขียว รูปทรงสวย ผิวสวย เนื้อแน่น ได้น้ำหนัก รสชาติหวานมัน ผลผลิตต่อไร่สูง แพ็คคู่ เคลียร์ -ออร์กาโน เอฟ ช่วยเสริมป้องกันเชื้อโรคไฟทอปธอร่า เข้าขั้วผลและที่ผลทุเรียน

เกร็ดความรู้:
ผลทุเรียนจะเริ่มสร้างเนื้ออย่างรวดเร็วประมาณ 30 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว ดังนั้นระยะนี้ น้ำ แสงแดด ปุ๋ยและอาหารเสริม จึงจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อการสร้างเปลือก สร้างเนื้อ เพิ่มความหวาน และลดปัญหาการหลุดร่วงของผลทุเรียน


ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

อิมเพล
อิมเพล สารส่งเสริมเปิดตาและพัฒนาดอกสำหรับพืช

เพิ่มเปอร์เซ็นต์การออกดอก ออกดอกดก แขนงดอกเยอะ ช่อดอกสมบูรณ์ ช่วยผสมเกสร ติดผลดี รูปทรงสวย
สารสำคัญ
สารผสมนิวคลีโอไทด์, สารสกัดสาหร่่าย (Ascophyllum nodosum)

อัตราและวิธีการใช้
ใช้อิมเพล 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
แพ็คคู่ ซอยล่อน-25, ฮิวโม่-เอฟ65
แพ็คคู่ ซอยล่อน-25, ฮิวโม่-เอฟ65 สารเสริมประสิทธิภาพดิน

ระเบิดดิน เพิ่มการแตกราก ทำให้การระบายน้ำในดินดีขึ้น ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน เพิ่มการรัดใบอ่อนของต้นทุเรียน ล้างสารพิษ และโลหะหนักจากยาฆ่าแมลง
สารสำคัญ
ซอยล่อน-25 - แอมโมเนียม ลอริล อีเทอร์ซัลเฟต
ฮิวโม่-เอฟ65 - กรดฮิวมิค, กรดฟูลวิค

อัตราและวิธีการใช้
ใช้ซอยล่อน-25 200 ซีซี. ผสม ฮิวโม่-เอฟ65 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม
แพ็คคู่ เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ
แพ็คคู่ เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ สารเสริมประสิทธิภาพชนิดสัมผัสและชนิดดูดซึม

สารเสริมประสิทธิภาพชำระล้างโรคใบติด โรคราสีชมพู ไฟทอปธอร่า ในสวนทุเรียน หมดปัญหาเชื้อโรคทุกชนิดอย่างยาวนาน
สารสำคัญ
ออร์กาโน-เอฟ - แคลเซียมคีเลท, กรดคาร์บอกซิลิก กรดไขมัน, สารประกอบเซลลูโลส
เคลียร์ - สารลดแรงตึงผิว

อัตราและวิธีการใช้
ใช้ แพ็คคู่ เคลียร์ 100 ซีซี. ออร์กาโน-เอฟ 200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นห่างกัน 7 -10วัน
(กรณีโรครุนเเรง ใช้แพ็คคู่ เคลียร์ 100 ซีซี. ออร์กาโน-เอฟ 400 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นห่างกัน 3-5 วัน )

เคลียร์
เคลียร์ สารเสริมประสิทธิภาพ

นวัตกรรมเคมีเกษตรพืชยุคใหม่ สารเสริมประสิทธิภาพชำระล้าง โรคเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส ใช้ปริมาณน้อย ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต
สารสำคัญ
สารลดแรงตึงผิว

อัตราและวิธีการใช้
ใช้ เคลียร์ 100 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ กิ่งและต้น

เทคนิคพิเศษ
ใช้ เคลียร์ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร แทนสารจับใบชนิดอื่น เพื่อล้างเชื้อโรคทุกชนิดในสวนทุเรียน
สามสหาย
สามสหาย โปร-ซีบีเอ็น , พรีคัส , แซมวิก้า

ใบใหญ่ ใบหนา ใบเขียวเข้ม ใบมัน ช่อดอกอวบ ช่อดอกยาว ช่อดอกสมบูรณ์ ช่วยผสมเกสร ติดผลดก ขั้วเหนียว ผลอ่อนโตไว ลูกเรียงสม่ำเสมอ รูปทรงสวย หนามแหลม หนามเขียว
สารสำคัญ
โปร-ซีบีเอ็น - แคลเซียมคีเลท, โบรอน, กรดอะมิโน
พรีคัส - สารมาเลท, แมกนีเซียมคีเลท, กรดกลูตามิค
แซมวิก้า - คาร์โบไฮเดรต, กรดอะมิโน, กรดฟูลวิค, แมกนีเซียมคีเลท

อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

การปลูกและการดูแลรักษาทุเรียน


ทุเรียน เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในเขตที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 10-46 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี การกระจายตัวของฝนดี ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงประมาณ 75-85 % ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5.5-6.5

การเตรียมดิน
ปรับพื้นที่ก่อนที่จะกำหนดผังปลูกและติดตั้งระบบน้ำ โดยปรับพื้นที่ให้ราบไม่ให้มีแอ่งที่น้ำท่วมขังได้ และถ้าเป็นไปได้ควรปรับเป็นเนินลูกฟูกเพื่อปลูกทุเรียนบนสันเนิน

ระยะปลูก
8-10 X 8-10 เมตร ปลูกทุเรียนได้ประมาณ 16 – 25 ต้น/ไร่

วิธีการปลูก
ทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูกซึ่งเหมาะกับพื้นที่ค่อนข้างแล้งและยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก วิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น แต่ถ้ามีฝนตกชุก น้ำขัง รากเน่าและต้นตายได้ง่าย ส่วนการปลูกโดยไม่ต้องขุดหลุม (ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีนี้การระบายน้ำดี น้ำไม่ขังโคนต้น แต่ต้องวางระบบน้ำก่อนปลูก ซึ่งต้นทุเรียนจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญ คือ ควรใช้ต้นกล้าขนาดเล็กที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอ แต่ถ้าจะปลูกด้วยต้นกล้าขนาดใหญ่ควรตัดแต่งรากที่ขดงอทั้งที่ก้นถุงและด้านข้างออก รวมทั้งควรพรางแสงให้กับต้นที่ปลูกใหม่ด้วยตาข่ายพรางแสง หรือทางมะพร้าว หรือปลูกไม้ให้ร่มเงา เช่น กล้วย

การดูแลรักษา
ปีแรกหลังปลูก ควรใส่ปุ๋ยและทำโคน 4 ครั้ง (การทำโคน หมายถึง การกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ถากดินรอบนอกทรงพุ่มมาพูนกลบใต้ทรงพุ่มในลักษณะลาดเอียงจากต้นพันธุ์ออกไปโดยรอบ หลีกเลี่ยงการถากดินบริเวณโคนต้น เพราะระบบรากทุเรียนที่อยู่ค่อนข้างตื้นใกล้ผิวดินจะได้รับอันตราย ชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้โรครากเน่าโคนเน่าเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น ) โดยควรใส่ปุ๋ยและทำโคนครั้งที่ 1 หลังจากปลูกแล้วประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี ควรใส่ปุ๋ยและทำโคน เดือนเว้นเดือน โดยในแต่ละครั้ง ควรใส่ปุ๋ยในปริมาณ ดังนี้
ครั้งที่1 -3 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 150 - 200 กรัมต่อต้น
ปีต่อๆไป (ระยะที่ต้นทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต) ควรใส่ปุ๋ยและทำโคนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและหลังฤดูฝน โดยควรใส่ปุ๋ยในปริมาณ ดังนี้ ปุ๋ยคอก อัตราเป็นบุ้งกี้ต่อต้นต่อปี เท่ากับสองเท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) แบ่งใส่ 2 ครั้งต่อปี ยกตัวอย่าง เช่น ต้นทุเรียนมีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร ควรใส่ปุ๋ยคอกปีละ 6 บุ้งกี้ หรือ 13.5 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ครั้ง (2.25 กิโลกรัม = 1 บุ้งกี้ ) ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้นต่อปี เท่ากับขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (เมตร) แบ่งใส่ 2 - 4 ครั้งต่อปี ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุเรียนมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ทรงพุ่ม 3 เมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีปีละ 3 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 - 4 ครั้งต่อปี

การกำจัดวัชพืช
ควรใช้หลายๆวิธีประกอบกัน ทั้งการใช้แรงงานถอน ถาก ตัดด้วยเครื่องมือหรือใช้สารเคมี โดยต้องระมัดระวังอย่าให้ระบบรากกระทบกระเทือนและระวังไม่ให้ละอองสารเคมีกำจัดวัชพืชสัมผัสกับต้นทุเรียน

ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคทุเรียน


โรครากเน่าโคนเน่า

durianpat1

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora
ลักษณะอาการ ถ้ารากเน่ามาก ใบทุเรียนที่อยู่ปลายกิ่งจะแสดงอาการซีดเหลือง ชะงักการเจริญเติบโตและต่อมาจะร่วง ปลายรากฝอย เน่าเปื่อย รากแขนงมีอาการเน่า ส่วนอาการที่โคนจะปรากฏจุดฉ่ำน้ำและมักมีน้ำเยิ้มออกมา เมื่อใช้มีดถากดูจะพบว่ามีน้ำไหลออกมา เนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อเยื่อไม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม อาการจะลุกลามเน่ารอบโคนต้น ทำให้ใบร่วงหมดต้น และยืนต้นแห้งตายในเวลาต่อมา สำหรับในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี มีน้ำขัง เชื้อราจะแพร่ระบาดไปสู่ใบ กิ่ง และส่วนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
การแพร่ระบาด เชื้อราไฟทอปธอร่าสามารถแพร่กระจายโดยทางลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์และผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีลมพายุ และความชื้นสูง จะเหมาะสมกับการแพร่กระจายและเข้าทำลายต้นทุเรียนได้ดี
การป้องกันกำจัด
1. ติดตามสถานการณ์โรครากเน่าโคนเน่า โดยสำรวจทุกต้น 7 วันต่อครั้ง
2. จัดทำร่องระบายน้ำในบริเวณสวนที่มีพื้นที่ต่ำ เพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขัง
3. ตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
4. ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
5.ใช้สารเคมี


โรคราสีชมพู

durianpat2

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Corticium saimonicolor
ลักษณะอาการ เมื่อดูจากภายนอกทรงพุ่ม จะเห็นต้นทุเรียนมีอาการใบเหลืองร่วงเปนหย่อมๆ คล้ายกับอาการกิ่งแห้งหรือโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟทอปธอร่า แต่ถ้าสังเกตให้ดีตามกิ่งที่อยู่ด้านในของพุ่มจะเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุมโคนกิ่งที่มีใบเหลืองร่วงนั้น เมื่อโรคเจริญลุกลามและมีอายุมากขึ้น เส้นใยสีขาวที่ เห็นเริ่มแรกจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีชมพู ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์เพื่อการระบาดไปยังต้นอื่นๆ ส่วนของกิ่งที่เชื้อราขึ้นปกคลุมอยู่เมื่อถากออกดูจะเห็น เนื้อเยื่อเปลือกแห้งเป็นสีน้ำตาล
การแพร่ระบาดเชื้อราจะเข้าทำลายบริเวณกิ่งในทรงพุ่มที่ซ้อนกันหรืออยู่กันอย่างหนาแน่น ทำให้สะสมความชื้นและมีโอกาสที่เชื้อราจะเข้าทำลายได้ง่าย
การป้องกันกำจัด
1.เมื่อพบการเข้าทำลาย ให้ทำการถากเปลือกบริเวณที่เชื้อราเข้าทำลายออกแล้วทาแผลด้วยสารเคมีหรือฉีดพ่นให้ทั่วกิ่งและลำต้น ถ้ากิ่งนั้นเป็นโรครุนแรง ควรตัดทิ้งและเผาทำลาย
2.ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้โปร่งในช่วงหลังเก็บเกี่ยว ช่วยให้ต้นทุเรียนมีการถ่ายเทอากาศและความชื้นดี ต้นเจริญเติบโตแข็งแรง และมีสภาพไม่เหมาะสมกับการระบาดของเชื้อโรค
3.พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชกับต้นทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์


1.เนื้อทุเรียนแช่แข็ง โดยใช้ระบบ IQF อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส นำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -20 ถึง -25 องศาเซลเซียส สามารถยืดอายุการเก็บรักษาเนื้อทุเรียนได้นาน 12 เดือน โดยคุณภาพด้านรสชาติ กลิ่น สี ยังเป็นที่ยอมรับ
2.ทุเรียนกวนกึ่งสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ โดยการนำทุเรียนสุกมากวนให้เหนียวพอประมาณ ไม่ใส่น้ำตาลและสารเคมีทุกชนิด เมื่อกวนได้ที่แล้ว บรรจุในถุงพลาสติกปิดผนึกให้แน่น นำไปเก็บรักษาในห้องเย็นที่อุณหภูมิ -20 องซาเซลเซียส จะสามารถเก็บไว้ได้นานและยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้ เช่น เครื่องดื่มผสมน้ำทุเรียน เยลลี่ผสมทุเรียน ท๊อฟฟี่ผสมทุเรียน
3.เนื้อทุเรียนดิบเพื่อการแปรรูป เช่น ทุเรียนทอดกรอบ
4.การใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียน เช่น ใช้เป็นพลังงาน ปุ๋ย กระดาษ


ที่มา:   กรมวิชาการเกษตร