กระเทียม

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตหอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม หอมแบ่ง


หัวใหญ่สม่ำเสมอ หัวแน่น ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง วัคซีนพืช เสริมประสิทธิภาพป้องกันโรคพืช และต้านทานแมลง หมดปัญหาโรคใบจุดสีม่วง โรคใบไหม้ โรคหอมเลื้อย

ระยะเริ่มปลูก

อย่างละ 20 ซี.ซี.         5 ซี.ซี.


10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, โปร-ซีบีเอ็น) อย่างละ 20 ซี.ซี., เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง

คุณประโยชน์
เพิ่มการแบ่งเซลล์ พืชเจริญเติบโตดี ช่วยให้พืชแข็งแรง หาอาหารได้ดี ป้องกันโรคหอมเลื้อยหรือโรคแอนแทรคโนส วัคซีนพืช ป้องกันโรคพืช และป้องกันแมลง

ระยะเจริญเติบโต (สะสมอาหาร)

อย่างละ 20 ซี.ซี.         5 ซี.ซี.


10 กรัม



อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, โปร-ซีบีเอ็น) อย่างละ 20 ซี.ซี., เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง

คุณประโยชน์
เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ต้นแข็ง ใบตั้ง ต้นแข็งแรง สมบูรณ์ หมดปัญหาโรคใบจุดสีม่วง โรคใบไหม้ โรคหอมเลื้อย วัคซีนพืช ป้องกันโรคพืช และต้านทานแมลง

ระยะลงหัว

20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้ทูเบอร์ก้า 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง

คุณประโยชน์
ช่วยการลงหัว ทำให้พืชลงหัวได้ดีขึ้น ไม่รัดต้น เพิ่มขนาดหัว หัวใหญ่สม่ำเสมอ ผลผลิตต่อไร่สูง ไม่มีสารตกค้าง หมดปัญหาโรคใบจุดสีม่วง โรคใบไหม้ โรคหอมเลื้อย

ระยะขยายหัว-เก็บเกี่ยว

อย่างละ 20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

คุณประโยชน์
หัวใหญ่สม่ำเสมอ ทรงสวย ผิวสวย ไส้ไม่กลวง หัวไม่แตก หัวแน่น ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต
ทุกอัตราผสมน้ำ 20 ลิตร ห้ามใส่สารจับใบ


ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, โปร ซีบีเอ็น)

ต้นแข็ง ใบตั้ง ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง เขียวนวลสมบูรณ์ เขียวทน เขียวนาน หมดปัญหาโรคใบจุดสีม่วง โรคใบไหม้ โรคหอมเลื้อย วัคซีนพืช ป้องกันโรคพืช และต้านทานแมลง

เคลียร์

นวัตกรรมเคมีเกษตรพืชยุคใหม่ สูตรประจุบวกรุนแรง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคเชื้อราทุกชนิด ประสิทธิภาพสูง สามารถหยุดการลุกลามของเชื้อโรคทันที ใช้ปริมาณน้อย ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต


แพ็คคู่(เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ)

สูตรประจุบวกรุนแรง ผสมผสานกรดไขมัน สูตรความเข้มข้นสูง หมดปัญหาโรคหอมเลื้อย โรคใบจุดสีม่วง โรคใบไหม้ โรคเน่าเละ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราทุกชนิดและโรคเชื้อแบคทีเรียทุกชนิดคุ้มครองให้ต้นหอมปราศจากเชื้อโรคทุกชนิดอย่างยาวนาน

สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส)

หัวใหญ่สม่ำเสมอ หัวแน่นได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง

ทูเบอร์ก้า

ช่วยการลงหัว ทำให้พืชลงหัวได้ดีขึ้น เพิ่มขนาดหัว ไม่รัดต้น หัวใหญ่สม่ำเสมอ ผลผลิตต่อไร่สูง ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต

ฮิวโม่-เอฟ65

สารอินทรีย์ปรับปรุงสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ช่วยการแตกราก รากขาว รากยาว รากเยอะ ปลดปล่อยปุ๋ย และเคลื่อนย้ายปุ๋ยไปยังส่วนที่พืชต้องการ กินปุ๋ยดี ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย เสริมฤทธิ์ยาคุม-หญ้า คุมหญ้าได้นานขึ้น

การปลูกและการดูแลรักษากระเทียม


กระเทียม เป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบติดกันแน่น เนื้อสีขาวมีกลิ่นฉุน การปลูกจะใช้กลีบกระเทียม พื้นที่ที่ระบายนํ้าดีกระเทียมจะลงหัวในช่วงที่มีอากาศหนาว ดังนั้นจึงปลูกได้ดีเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

การเตรียมดิน
ดินที่เหมาะสม สำหรับการปลูกกระเทียม ควรเป็นดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ถ้าหากเป็นกรดจัดจะทำให้กระเทียมไม่เจริญ ควรใส่ปูนขาวก่อนปลูกอย่างน้อย 15 วัน เพื่อปรับดินให้เป็นกรดอ่อน ๆ (pH 5.5-6.8) ก่อนไถควรหว่านปุ๋ยคอกก่อนประมาณ 4 ตันต่อไร่ ถ้าเป็นดินเหนียวควรใช้ไถบุกเบิกก่อนพรวน ถ้าเป็นดินร่วนใช้เฉพาะพรวนและยกแปลงเพื่อการให้น้ำและระบายน้ำได้ดี การเตรียมดินดีจะช่วยให้กระเทียมลงหัวดี

ระยะปลูก
การปลูกใช้กลีบกระเทียมจิ้มลงไปโดยเอาส่วนรากลงลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบ เป็นแถวตาม ระยะปลูกที่กำหนด ในพื้นที่ 1 ไร่ต้องใช้หัวพันธุ์ 100 กิโลกรัม หรือกลีบ 75-80 กิโลกรัม ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10 x 10 -15 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตสูงที่สุด

วิธีการปลูก
กระเทียมปลูกโดยใช้กลีบ ซึ่งประกอบเป็นหัว นิยมใช้กลีบนอกปลูก เนื่องจากกลีบนอกมีขนาดใหญ่ จะให้กระเทียมที่มีหัวใหญ่และผลผลิตสูง การนำกระเทียมไปปลูกในฤดูฝน จะทำให้กระเทียมงอกไม่พร้อมกัน โตไม่สม่ำเสมอกัน
แกะกระเทียมแยกเป็นกลีบ ระวังอย่าให้มีแผลเพราะเชื้อราจะเข้าทำลายได้ง่าย นำมาดำในแปลงที่เตรียมไว้ โดยฝังส่วนโคนลงดิน ใช้หญ้าแห้งหรือฟางข้าวคลุม การคลุมดินนอกจากจะเป็นการป้องกันแดด รักษาความชุ่มชื้นในดินให้คงอยู่แล้ว ยังป้องกันหญ้าขึ้นรบกวนอีกด้วย

การดูแลรักษา
ปุ๋ยสำหรับกระเทียม ควรมีส่วนของไนโตรเจนเท่ากับ 1 ส่วน ฟอสฟอรัส 1 ส่วน และโพแทสเซียม 2 ส่วน เช่น ปุ๋ยสูตร 10-10-15, 13-13-21 เป็นต้น อัตราปริมาณ 50-100 กิโลกรัม/ไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1ใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นตอนปลูก แล้วพรวนกลบลงในดิน ปริมาณครึ่งหนึ่ง
ครั้งที่ 2ใส่แบบหว่านทั่วแปลง เมื่ออายุประมาณ 30 วันหลังปลูก ควรใช้ปุ๋ยเสริม ไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก อัตราประมาณ 25-30 กิโลกรัม/ไร่ เมื่ออายุประมาณ 10-14 วันหลังปลูก

การกำจัดวัชพืช
วัชพืชเป็นปัญหาที่สำคัญมากสำหรับการปลูกกระเทียม การป้องกันและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกกระเทียมสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1.การใช้แรงงานคน ทำการถอนวัชพืชเมื่อวัชพืชยังมีขนาดเล็กเพื่อสะดวกต่อการถอน และไม่กระทบกระเทือนต้นกระเทียม
ประมาณ 2-3 ครั้ง ตลอดอายุของกระเทียม
2.การใช้สารเคมี

ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคกระเทียม


โรคใบจุดสีม่วง

garlicpat1

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Alternaria porri
ลักษณะอาการ
ไม่ว่าจะเกิดที่ส่วนใด อาการเริ่มจากจุดขาวเล็กๆ แล้วขยายกว้างออกเกิดเป็นแผลกลมรีหรือยาวไปตามใบขนาดไม่แน่นอน เนื้อเยื่อยุบตัวลงและมีสีม่วงเกิดขึ้นกลางแผล ขอบแผลมีสีเข้มและอาจมีแถบสีเหลืองปนส้มล้อมรอบ ต่อมา 2-3 สัปดาห์ จะเกิดมีกลุ่มสปอร์สีดำเกิดขึ้นตามบริเวณแผล ใบที่ถูกทำลายมากมีแผลใหญ่หลายแผล ใบจะเหลืองแห้งหักพับและตายหลังจากอาการปรากฏได้ 3-4 สัปดาห์ ทำให้กระเทียมไม่ลงหัวหรือถ้ากำลังลงหัว ก็จะไม่โตและเก็บไว้ได้ไม่นาน เพราะเชื้อที่ติดไปจากไร่จะทำให้กระเทียมเกิดอาการเน่าได้อีก โดยทำให้หัวเน่าและเกิดแผลสีเหลืองในตอนแรก ต่อมาก็เป็นสีแดงเหล้าองุ่นและกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำในเวลาต่อมา กาบกระเทียมจะแห้งบางและหลุดออกมาคล้ายเนื้อเยื่อกระดาษ ซึ่งกาบใบที่ถูกทำลายนี้จะหลุดออกมาเพียงกาบใบด้านนอกหรือกาบใบที่สองเท่านั้น
การแพร่ระบาด สปอร์แพร่ระบาดไปตามลม น้ำฝน เครื่องมือ เมล็ด
การป้องกันกำจัด
1.ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค
2.ไม่ควรปลูกกระเทียมแน่นเกินไป
3.ลดปุ๋ยไนโตรเจน เพิ่มปุ๋ยโพแทสเซียม
4.ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา


โรคใบแห้ง

garlicpat2

สาเหตุเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris
ลักษณะอาการ เป็นแผลจุดเล็กสีเขียวซีดบนใบ ต่อมากลายเป็นจุดแผลฉ่ำน้ำ ตอนเช้ามีละอองละเอียดจับอยู่บนแผล เมื่อถูกแสงแดดแผลจะแห้ง แผลจะเป็นรูปรี ขยายขนาดใหญ่ไปตามใบ เนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะบาง และจะแตกเป็นทางยาวลงมาตามเส้นใบ เรียกว่าโรคใบแตก ถ้าเป็นรุนแรงใบจะหักพับลง ใบพืชจะเหี่ยว มีสีเขียวอมเทาเหมือนถูกน้ำร้อนลวกทำให้ใบแห้งตายหมดทั้งต้น โรคนี้เกิดได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต
การแพร่ระบาด ระบาดไปยังแหล่งอื่นๆได้โดยฝน น้ำค้าง หรือการให้น้ำระบบสปิงเกอร์ เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคอาจเข้าทางบาดแผลจากการเขตกรรม หรือแผลถลอกบนใบจากลมที่พาดินทรายไปปะทะผิวใบพืช โรคใบแห้ง ระบาดได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น หรืออากาศอบอ้าวครึ้มฟ้าครึ้มฝน โรคนี้ระบาดตลอดปี แต่เสียหายรุนแรงสำหรับการปลูกในฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
1.ควรหมั่นตรวจแปลง ถ้าพบควรถอนไปเผาทำลาย เพื่อลดการระบาดของเชื้อในแปลง
2.ควรฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีสังกะสีผสมอยู่ด้วย
3.เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกระเทียมที่อยู่ในแปลงด้วยการรดหรือพ่นด้วยน้ำปูนใส สัปดาห์ละครั้ง จะช่วยให้กระเทียมแข็งแรงมีความต้านทานโรคใบแห้งเพิ่มขึ้น สังเกตดูใบกระเทียมที่รดด้วยน้ำปูนใส จะแข็งแรงไม่หักช้ำง่าย แม้เกิดโรคใบแห้งบ้างก็ไม่เสียหายรุนแรง


โรคราสนิม

garlicpat3

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Puccinia allii
ลักษณะอาการ
บนใบกระเทียมเกิดแผลเป็นจุดหรือขีดเล็กๆไปตามแนวความยาวใบ แผลมีลักษณะนูนกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย มีสีเหลืองอมส้ม เกิดประปรายทั่วไปทั้งด้านบนและด้านใต้ใบ ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้นและแตกปริออกปล่อยสปอร์สีเหลืองอมส้มฟุ้งกระจายออกมาข้างนอก ทำให้มีลักษณะเป็นขุยหรือเป็นละอองสีเหลืองอมส้มคล้ายสีสนิมกระจัดกระจายอยู่ทั่วใบ ใบที่มีแผลหลายแผลจะเหลืองและแห้งตายในที่สุด หากเกิดโรคในขณะที่ต้นยังเล็กอยู่จะทำให้ต้นตายได้เช่นเดียวกับที่เกิดในต้นโต นอกจากจะเกิดโรคบนใบและใต้ใบแล้ว ยังเกิดโรคที่ก้านดอกอีกด้วย
การแพร่ระบาด
เชื้อราสาเหตุโรคถูกสร้างขึ้นจำนวนมากและระบาดแพร่กระจายไปได้เป็นระยะทางไกลๆ โดยการพัดพาของลม เข้าทำลายพืชอาศัยอยู่ได้นานหลายปี โรคราสนิมจะระบาดได้ดีหากพืชอยู่ในสภาวะไม่เหมาะสมบางประการ เช่น แห้งแล้งเกินไปหรือชื้นแฉะเกินไป โรคราสนิมเกิดในช่วงอากาศเย็น คือ ปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว
การป้องกันกำจัด
1.เก็บเศษใบและต้นพืชที่เป็นโรคไปเผาและทำลายเพื่อขจัดแหล่งแพร่เชื้อ
2.ปรับปรุงดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์
3.ปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่พืชสกุลหอมกระเทียมสลับ เพื่อลดพืชอาศัยของเชื้อรา
4.พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เพื่อไม่ให้โรคลุกลามต่อไป

ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์

กระเทียมนั้นนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ กระเทียมไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะการขายเป็นกระเทียมสดเท่านั้น แต่เพราะกระเทียมนั้นมีประโยชน์ทางยา ในปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการหลายราย ที่ได้ทำการสกัดกระเทียมรูปแบบใหม่ เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร ที่มีกระเทียมเป็นส่วนผสม

1.กระเทียมดอง กระเทียมโทนดอง การทำกระเทียมดองเป็นภูมิปัญญาไทยอีกอย่างหนึ่งในเรื่องของการถนอมอาหาร ให้มีระยะเวลาการเก็บรักษาที่ยาวนานเนื่องจากกระเทียมสด จะมีอายุการเก็บรักษาในระยะเวลาสั้นๆ สามารถทำเองได้ง่าย กระเทียมดองจะมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่ากระเทียมสดเมื่อผ่านการหมักดองแล้วก็จะทำให้สารอาหารบางตัวหายไป แต่หายไปในปริมาณน้อยไม่แตกต่างกันมาก

2.กระเทียมเจียว การผลิตกระเทียมเจียวก็เป็นส่วนหนึ่งในการแปรรูป สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เพราะว่า กระเทียมนั้นมีการปลูกกันมากในภาคเหนือตอนบน มักจะปลูกในช่วงใกล้ ๆ กัน ทำให้กระเทียมออกพร้อมกัน ทำให้ราคาตกต่ำ ซึ่งการเพิ่มมูลค่าหรือแปรรูปกระเทียม โดยมีการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ซึ่งแปรรูปกระเทียมเจียว เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ฯลฯ

3.กระเทียมผงอบแห้ง เป็นกรรมวิธีที่ใช้กระเทียมมาแปรรูปเป็นกระเทียมผงทำในสภาวะที่เย็นในอุณหภูมิห้องโดยมีการแยกกระเทียมที่มีกลิ่นหอมและไม่มีการทำลายของสารอาหารธรรมชาติระหว่างทำกระบวนผลิต เพื่อนำมาใช้ประกอบอาหาร

4.น้ำมันกระเทียม (Garlic Oil) มีสารสำคัญ คือ อัลลิซิน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายโดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น เมื่อร่างกายเรามีเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลในการช่วยบรรเทา และช่วยลดอาการภูมิแพ้ ฤทธิ์ของกระเทียมที่เปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะ ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ดังนั้นกระเทียมจึงมีส่วนในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการแพ้ต่าง ๆ และลดอาการเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ คุณประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของน้ำมันกระเทียมนั่นคือ สารประกอบในกระเทียมจะยับยั้งการก่อมะเร็งของสารไนโตรซามีนในร่างกาย ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น กุนเชียง แหนม เป็นต้น



ที่มา :   ศูนย์บริการข้อมูลการลงทุน