เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมะนาว

ใบใหญ่ ใบหนา ใบเขียวเข้ม ใบมัน
ต้นสมบูรณ์ ช่วยในการสะสมอาหาร
ออกดอกดก ติดผลดี ขั้วเหนียว
ลูกใหญ่สม่ำเสมอ ผลผลิตต่อไร่สูง
ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

อัตราและวิธีการใช้
เคลียร์ 100 ซี.ซี. ฉีดพ่นทางใบให้ทั่ว ทุกๆ 7-10 วัน
เสริมประสิทธิภาพป้องกันรักษาโรคราแป้ง ราสนิม แคงเกอร์ ใบเหลือง ฯลฯ


อัตราและวิธีการใช้
เคลียร์ 100 ซี.ซี. และออร์กาโนเอฟ 200 ซี.ซี. ฉีดพ่นทางใบให้ทั่ว ทุกๆ 7-10 วัน
เสริมประสิทธิภาพป้องกันรักษา โรคราดำ ยางไหล โคนเน่า


ระยะต้นมะนาว ที่ใช้(ซอยล่อน-25, ฮิวโม่-เอฟ65)
-ระยะฟื้นสภาพต้น
-ระยะการสะสมอาหาร
-ระยะติดผลอ่อน
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ซอยล่อน-25 อัตรา 200 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 อัตรา 100 กรัม ราดใต้ทรงพุ่ม
คุณประโยชน์
-ช่วยแก้ปัญหาดินแข็ง ดินเหนียว ดินอัดแน่น
-ทำให้การระบายน้ำในดินดีขึ้น
-เพิ่มออกซิเจนในดิน ทำให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดี
-เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ
-ปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย
-รักษาสมดุล ความเป็นกรด-ด่างของดิน
-ปลดปล่อยปุ๋ยที่ถูกตรึงอยู่ในดิน
-เพิ่มปริมาณและอัตราการดูดซึมปุ๋ยเข้าไปในพืช
-เคลื่อนย้ายปุ๋ย สารอาหารไปยังส่วนที่พืชต้องการ
-กำจัดสารพิษ โลหะหนักจากยาฆ่าแมลง
การปลูกและการดูแลรักษามะนาว
มะนาวเป็นไม้ผลตระกูลส้มประเภทหนึ่งที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย มะนาวเป้นพืชที่มีประโยชน์และคุณค่ามาก เนื่องจากสามารถใช้ปรุงเป็นอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังมีสรรพคุณทางยา ทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้มะนาวเป็นวัตถุดิบมีความต้องการมะนาวสูงขึ้นทุกปี ดังนั้นมะนาวจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดสูงตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปี มะนาวจึงมีราคาสูงกว่าปกติ 5-10 เท่า เนื่องจากในฤดูแล้งจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จึงทำให้มีผู้สนใจปลูกมะนาวนอกฤดูมากขึ้น
การเตรียมดิน
มะนาวสามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินทราย แต่ถ้าต้องการจะปลูกมะนาวให้เจริญงอกงามดี มีผลดก และคุณภาพดีก็ควรจะปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุผสมอยู่มาก แต่ถ้าเป็นดินเหนียวควรมีการยกร่องปลูก เพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี โดยทั่วไปพื้นที่ปลูกมะนาวมี 2 ลักษณะ คือพื้นที่ดอนและพื้นที่ลุ่มซึ่งการเตรียมพื้นที่จะต่างกันไป
1.การปลูกแบบที่ดอน ทำการไถดินอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกไถดะให้ได้ดินก้อนโตและรอยไถลึก ทิ้งตากดินไว้จนแห้งถึงไถแปรย่อยดินให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในกรณีที่ดินปลูกมีอินทรีย์วัตถุอยู่น้อย ควรปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด
2.การปลูกแบบที่ลุ่ม พื้นที่มักจะเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน ตามปกติจะมีระดับน้ำใต้ดินสูง ส่วนใหญ่มักเป็นที่นามาก่อน ดินเหนียวจัดระบายน้ำยากจึงต้องมีการยกระดับดินให้สูงกว่าพื้นที่ราบโดยทั่วไป โดยทำเป็นร่องปลูกจะทำให้รากต้นไม้ปลูกกระจายได้ลึก ระหว่างแปลงดินเป็นร่องน้ำสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้และขณะเดียวกันเป็นช่องทางระบายน้ำ โดยมีคันดินรอบแปลงปลูกทั้งหมด เพื่อเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมและรักษาระดับน้ำตามต้องการได้
ระยะปลูก
เตรียมพื้นที่คันดินให้มีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร ที่พื้นร่องกว้าง 0.5-0.7 เมตร โดยใช้ระยะปลูกประมาณ 4x4 เมตร หรือ 6x6 เมตร
วิธีการปลูก
การขยายพันธุ์มะนาว สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การตอนกิ่ง การติดตา และการต่อกิ่งบนต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด และการทาบกิ่ง เป็นต้น การตอนกิ่งเป็นวิธีที่นิยมเนื่องจากทำได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน และแม้ในช่วงฤดูแล้งที่มีอากาศร้อนจัด การตอนมะนาวก็สามารถทำได้ เพียงแต่คอยหมั่นให้น้ำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
การดูแลรักษา
หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 0.5 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจากจากพรวนดินกำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวณรอบทรงพุ่ม แล้วให้น้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
เมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ ต้นละ 300 กรัม
มะนาวอายุ 2 ปี ให้เพิ่มปริมาณปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของต้น
มะนาวอายุ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต จากนั้นช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ตัน ซึ่งปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของพืช โดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น
การกำจัดวัชพืช
ในสวนมะนาวทำได้หลายวิธี เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้า แต่ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้นหรือกระทบกระเทือนราก วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี การใช้ต้องระวังอย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาวเพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่น ทำให้ใบไหม้เหลือง เป็นจุดหรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ
ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร
โรคมะนาว
โรคแคงเกอร์

สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomanas compestris
ลักษณะอาการ
อาการบนใบ ในระยะแรกเกิดเป็นจุดกลมขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ใส และฉ่ำน้ำ มีสีชัดกว่าสีใบปกติ ต่อมาจุดขยายใหญ่ขึ้นมีลักษณะฟูคล้ายฟองน้ำ ต่อมาแผลจะนูนขึ้นทั้งสองด้านและเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และมีวงแหวนสีเหลืองชัดเป็นมันล้อมรอบแผล
อาการบนผล มีลักษณะคล้ายกับอาการที่ใบ แผลที่เกิดเดี่ยวๆมีลักษณะกลมบริเวณรอบแผลดูคล้ายกับฝังลึกลงใบใต้ผิวของผล แผลจะนูนและปรุโปร่งคล้ายฟองน้ำ แต่มีสีเหลืองแข็งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแผลเก่า บางครั้งแผลจะรวมกันมีขนาดใหญ่เป็นสะเก็ด รูปร่างไม่แน่นอน ซึ่งเมื่อหลุดจะมียางไหลออกมาจากแผลได้ลักษณะวงแหวนสีเหลืองซีดรอบแผล
การแพร่ระบาด แพร่ระบาดโดยน้ำค้างหรือน้ำฝน สภาพอากาศร้อนและชื้น ฝนติดต่อกัน แมลงจะพาเชื้อซึ่งมีอยู่มากในแผลของพืชที่เป็นโรคแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ การขนย้ายกิ่งพันธุ์จากสถานที่ต่างๆ จากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีชีวิตบนต้นพืชได้เป็นเวลานานอีกด้วย
การป้องกันกำจัด
1.ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค แล้วนำไปเผาไฟ
2.ป้องกันแมลงกัดหรือทำลายใบ โดยเฉพาะหนอนชอนใบ
3.ควรใช้สารประกอบทองแดง ฉีดป้องกันก่อนฤดูฝนหรือก่อนเกิดโรคเพียงอาการเริ่มแรก ทุก 7-10 วัน โดยเฉพาะในระยะใบอ่อนจนพ้นระยะการเจริญเติบโต
4.ถ้าเป็นโรคนี้ค่อนข้างรุนแรงให้ใช้ยาปฏิชีวนะ
โรคยางไหล

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ มียางไหลบริเวณลำต้นและกิ่งก้านเปลือกจะเน่า และแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้
การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราติดไปกับยางที่ไหลออกมากับหยดน้ำที่กระเด็นไปจากแผล ติดไปกับเครื่องมือทำสวน
และติดไปกับกิ่งตอน
การป้องกันกำจัด
ควรตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึงและควรทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว
ถ้ามีการระบาดมากควรนำไปเผาทำลาย
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
การนำไปใช้ประโยชน์
การแปรรูปเพื่อแก้ปัญหาผลผลิตมะนาวล้นตลาดในฤดูฝน โดยนํามะนาวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่
-มะนาวเชื่อม
-มะนาวแช่อิ่ม
-มะนาวกวนปรุงรส (หรือบ๊วยมะนาว)
-นํ้ามะนาวพร้อมดื่ม
-นํ้ามะนาวหวานเข้มข้น
-เครื่องดื่มมะนาวชนิดเม็ดสําหรับชงละลาย
-มะนาวดอง
-แยมมะนาว
-มาร์มาเลดมะนาว
-มะนาวผง
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์บริการ