เทคนิคการเพิ่มผลผลิตลำไย


8 ขั้นตอนง่ายๆ
กับเทคนิคการทำ
ลำไยในฤดู-นอกฤดู

ระยะฟื้นสภาพต้นหลังเก็บเกี่ยว

ทางดิน


หลังการตัดแต่งกิ่ง
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ซอยล่อน-25 อัตรา 200 ซี.ซี. ผสม ฮิวโม่-เอฟ65 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 ผสม 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1:1 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หว่านใต้ทรงพุ่ม

หลังแตกใบชุดแรก
อัตราและวิธีการใช้
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 1 กระสอบ หว่านใต้ทรงพุ่ม

คุณประโยชน์
แก้ปัญหาดินแข็ง ดินเหนียว ดินอัดแน่น และดินดาน ทำให้การระบายน้ำในดินดีขึ้น เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในดิน ปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ปลดปล่อยปุ๋ยที่ถูกตรึงอยู่ในดินช่วยกำจัดสารพิษ และโลหะหนักจากยาฆ่าแมลง ฟื้นฟูรากฝอย รากเยอะ ทำให้ต้นลำไยแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น

คำแนะนำ:
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง แสงแดดส่องถึงใต้ต้นลำไย และไม่ให้ทรงพุ่มลำไยชนกัน ตัดแต่งกิ่งให้ 1 กิ่งหลักแตกแขนงไม่เกิน 3 กิ่งย่อย ให้ตัดกิ่งลำไยที่ถูกแมลงเข้าทำลายกิ่งที่เป็นโรค และกิ่งที่ชี้ลงดินออก ทำการระเบิดดิน ฟื้นฟูรากฝอยและใส่ปุ๋ยทางดินให้อาหารเสริมทางใบ ทำให้ต้นลำไยแตกกิ่งก้านใบใหม่เพื่อสังเคราะห์แสง และสะสมอาหารเต็มที่อีกครั้งทำให้ต้นลำไยมีความพร้อมในการให้ผลผลิตคร้ังต่อไป

ทางใบ



หลังการตัดแต่งกิ่ง
อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 100-200 ซี.ซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน ใช้เคลียร์ อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 1 ครั้ง

หลังการแตกใบชุดแรก
อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 100-200 ซี.ซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน

คุณประโยชน์
สามสหาย ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นได้อย่างรวดเร็ว ช่วยในการแตกกิ่ง ใบใหญ่ ใบหนา ใบเขียวเข้ม ใบมัน ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มพลังงานและสารอาหารสะสมที่จำเป็นต่อการออกดอก ติดผล เคลียร์ ช่วยเสริมการชำระล้างเชื้อโรคทุกชนิดในสวนลำไย โรคราดำ โรคราสนิม และโรคเชื้อราทุกชนิด

เกร็ดความรู้:
การฟื้นสภาพต้นโดยให้ปุ๋ยทางดินอย่างเดียวจะช้าและไม่สมบูรณ์เท่าฉีดพ่นสามสหายเสริมทางใบด้วย เพราะพืชสามารถได้รับอาหารสะสมและพลังงานโดยตรง รวมทั้งธาตุอาหารรองธาตุอาหารเสริมที่จำเป็นอย่างมากในขบวนการฟื้นสภาพต้นของพืช นอกจากนั้นการเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่งทำให้ต้นลำไยเกิดบาดแผลมาก เป็นจุดอ่อนที่เชื้อโรคเข้าทำลายง่าย การใช้เคลียร์ จะช่วยลดและทำให้ต้นลำไยไม่เป็นโรคช่วงอ่อนแอ
ระยะสะสมอาหาร ก่อนราดสาร 1 เดือน

ทางดิน

หลังแตกใบชุดที่ 2 อัตราและวิธีการใช้
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 หรือ ผสม สูตร 0-0-60 อัตรา 1:1 หว่านใต้ทรงพุ่ม

คุณประโยชน์
ช่วยการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ของต้น ทำให้ต้นลำไยเกิดความพร้อมในการออกดอกติดผล ช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อนของต้นลำไย

คำแนะนำ:
ควรให้ต้นลำไยแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ควรให้อาหารเสริมทางใบเพื่อเพิ่มการสะสมอาหารให้สมบูรณ์อย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากพัฒนาการของใบอ่อน เปลี่ยนเป็นใบสีเขียวเข้ม ใบมัน ก่อนราดสารควรงดการให้น้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์

ทางใบ


หลังแตกใบชุดที่ 2 อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ผสม ปุ๋ยเกร็ด 0-52-34 อัตรา 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

คุณประโยชน์
ช่วยการสะสมอาหารทำให้ ใบใหญ่ ใบหนา ใบเขียวเข้ม ใบมัน ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง เพิ่มพลังงานและสารอาหารสะสมที่จำเป็นต่อการออกดอกติดผล ช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อนของต้นลำไยและทำให้สภาพต้นพร้อมที่จะราดสาร

เกร็ดความรู้:
ระยะสะสมอาหารของต้นลำไยมีระยะเวลาสั้นเพียง 3-4 เดือน ขณะที่ระยะเวลาการพัฒนาผลยาวนานถึง 6-7 เดือน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยื่งที่ต้องเร่งสร้างใบเพื่อช่วยในการสะสมอาหารให้มากพอ โดยการใส่ปุ๋ยทางดิน และฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบอย่างสม่ำเสมอ
ระยะราดสาร

ทางดิน



หลังแตกใบชุดที่ 2 หรือ 3 ช่วงใบเพสลาด อัตราและวิธีการใช้
ใช้ลองก้า-เอ็น 1 ขีด ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ผสม น้ำ 4 บัว หรือประมาณ 40-80 ลิตร ราดลงดินบริเวณปลายทรงพุ่มเป็นวงแหวนกว้างประมาณ 80 เซนติเมตร ให้เปียกชุ่มรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นทุกวัน เป็นเวลา 10 วัน หรือ ทุกๆ 3 วัน 3 ครั้ง หลังจากนั้นรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ ทุกๆ 7-10 วัน

คุณประโยชน์
ทำให้ต้นลำไยออกดอกในฤดู-นอกฤดูแน่นอน เริ่มแทงช่อดอกภายใน 15-30 วัน ใช้ปริมาณน้อย ประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ ต้นลำไยไม่โทรม ไม่ตาย

คำแนะนำ:
อาจใช้ สูตรประหยัดราดสารทางดิน : แนะนำใช้ลองก้า-เอ็น 5 กก. ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดลงดินบริเวณปลายทรงพุ่มเป็นวงแหวนกว้างประมาณ 80 ซม.ให้เปียกชุ่ม กรณีอากาศแล้งหลังราดสาร : แนะนำใช้ลองก้า-เอ็น 3 ขีด ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบให้เปียกชุ่ม 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังราดสาร 3 วัน ฉีดพ่นทางใบ ครั้งที่ 2 หลังฉีดพ่นสารรอบแรก 7 วัน กรณีฝนตกหนักหลังราดสาร : แนะนำใช้ลองก้า-เอ็น 3-5 ขีด ต่อน้ำ200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบให้เปียกชุ่มหลังฝนหยุดตกทุกครั้ง เพื่อป้องกันต้นลำไยแตกใบอ่อน

ทางใบ



หลังแตกใบชุดที่ 2 หรือ 3 ช่วงใบเพสลาด อัตราและวิธีการใช้
ใช้ลองก้า-เอ็น 3 ขีด ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบให้เปียกชุ่ม
ครั้งที่ 1 หลังราดสาร 3 วัน ฉีดพ่นทางใบ
ครั้งที่ 2 หลังฉีดพ่นสารรอบแรก 7 วัน

คุณประโยชน์
กระตุ้นให้ต้นลำไยแทงช่อดอก ช่วยยับยั้งต้นลำไยแตกใบอ่อน ช่วยในการตัดใบอ่อน

เกร็ดความรู้:
การใช้ ลองก้า-เอ็น ดีกว่าสารราดและสารพ่นทางใบทั่วไปเพราะ
1.คุณสมบัติละลายน้ำดี ทำให้ดอกออกเร็ว สม่ำเสมอและแน่นอนกว่า
2. ผสมสารหน่วง และสารเฉื่อย ทำให้ปลอดภัย ไม่ระเบิด ไม่ตกค้างในดิน
3. ช่วยฟื้นฟูรากฝอย ทำให้ต้นลำไยไม่โทรม ไม่ตาย
4. ใช้ปริมาณน้อย (ใช้ลองก้า-เอ็น 5 กก. ต่อน้ำ 200 ลิตร) ประสิทธิภาพสูง (ออกดอกทั่วทั้งต้น) ต้นทุนต่ำ (35บาทต่อต้น)
ระยะเปิดตาดอก

ทางดิน

ให้น้ำทางดินแต่พอเปียกชุ่ม จนกว่าต้นลำไยเริ่มแทงช่อดอก

คุณประโยชน์
ทำให้ต้นลำไยเกิดความพร้อมในการออกดอก

คำแนะนำ:
กรณีฝนตก หลังราดสารลองก้า-เอ็น 15-17 วัน แนะนำใช้อิมเพล 100-200 ซีซี. ผสม ลองก้า-เอ็น 3 ขีด ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบให้เปียกชุ่ม ทุกๆ 5-7 วันจนกว่าต้นลำไยจะแทงช่อดอก

ทางใบ



อัตราและวิธีการใช้
หลังราดสารลองก้า-เอ็น 15-17 วัน ใช้อิมเพล 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

คุณประโยชน์
ทำให้ต้นลำไยแทงช่อดอกเต็มต้นได้อย่างรวดเร็ว แก้ปัญหาดอกอั้น ดอกไม่เดิน เพิ่มแขนงตาดอก แตกตาดอกด้านข้างทำให้ช่อดอกเยอะ ช่อดอกสมบูรณ์ ดอกตัวผู้แข็งแรง ดอกตัวเมียรังไข่อวบ

เกร็ดความรู้:
ปัจจัยที่มีผลต่อการแทงช่อดอก
น้ำ- ช่วงก่อนช่อดอกยาวพัฒนาเต็มที่ การให้น้ำมากหรือฝนตกจะทำให้ช่อดอกเปลี่ยนเป็นใบ
อุณหภูมิ- อุณหภูมิต่ำจะทำให้การพัฒนาและการแทงช่อดอกช้า
แสงแดด- แสงแดดน้อยจะทำให้การพัฒนาและแทงช่อดอกช้า
ความสมบูรณ์ของต้น- ต้นลำไยที่สมบูรณ์จะพัฒนาและแทงช่อดอกเร็ว ดกและสม่ำเสมอกว่า
ระยะดึงช่อดอก - ระยะก่อนดอกบาน

ทางดิน

ระยะดึงช่อดอก
รดน้ำให้ดินชุ่มชื้น ทุกๆ 7-10 วัน
ระยะก่อนดอกบาน
อัตราและวิธีการใช้
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 15-0-0 หว่านใต้ทรงพุ่ม

คุณประโยชน์
ฟทำให้ช่อดอกเกิดการพัฒนาเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขั้วเหนียว ลดปัญหาการหลุดร่วงและการแตก

คำแนะนำ:
ระยะดึงช่อ ควรให้ปุ๋ยเคมีทางดิน และอาหารเสริมทางใบเพื่อช่วยให้ช่อดอกยาวและก้านอวบควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 7 วัน ดูแลความชื้นของดินอย่าให้แห้ง และควรดูแลกำจัดโรคและแมลง ระยะดอกบาน ควรให้น้ำทางดินน้อยๆ

ทางใบ


ระยะดึงช่อดอก
อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 200 ซีซี. ผสม อิมเพล อัตรา 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน ระยะก่อนดอกบาน
อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 200 ซีซี. ผสม อิมเพล อัตรา 100-200 ซีซี. ผสม เคลียร์ อัตรา 100 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตรฉีดพ่นทางใบให้เปียกชุ่ม 1 ครั้ง

คุณประโยชน์
ช่อดอกอ้วน ช่อดอกยาว ช่อดอกใหญ่ ช่อดอกสมบูรณ์ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมียสมบูรณ์แข็งแรงอายุยาวขึ้น ช่วยในการผสมเกสร ช่วยให้ลำไยติดผลอ่อนได้ดี ขั้วเหนียว ลดปัญหาการหลุดร่วงช่วยเสริมการชะล้างเชื้อราในสวนลำไย ไม่ให้เชื้อราเข้าขั้วดอก

เกร็ดความรู้:
อิมเพล คือสารสร้างฮอร์โมนไซโตไคนิน สร้าง RNA DNA และมีส่วนผสมสาหร่าย การใช้อิมเพล ในระยะเปิดตาดอกมีผลทำให้ต้นลำไยสร้างฮอร์โมนไซโตไคนินมากขึ้น ทำให้ต้นลำไยมีความพร้อมในการเกิดตาดอก ดอกดก ส่วนการใช้อิมเพล ในระยะดึงช่อดอก มีผลทำให้ช่อดอกยาวช่อดอกสมบูรณ์ ติดผลดก ผลอ่อนที่ได้มีความสมบูรณ์ รูปทรงสวย เม็ดในดำเล็ก
ระยะติดผลอ่อน

ทางดิน


อัตราและวิธีการใช้
ใช้ซอยล่อน-25 อัตรา 200 ซีซี. ผสม ฮิวโม่-เอฟ65 อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 ผสม ปุ๋ยอินทรีย์ หว่านใต้ทรงพุ่ม

คุณประโยชน์
ฟื้นฟูรากฝอย รากเยอะ ช่วยให้รากกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ช่วยกำจัดสารพิษและโลหะหนักจากยาฆ่าแมลง ปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ปลดปล่อยปุ๋ยที่ถูกตรึงอยู่ในดิน

คำแนะนำ:
ควรฉีดพ่นฮอร์โมนอาหารเสริมพืชเป็นระยะ เพื่อช่วยการสร้างเปลือก และเสริมให้โครงสร้างเปลือกแข็งแรงพร้อมที่จะรับการขยายตัวของลูกลำไย ควรให้น้ำต้นลำไยอย่างสม่ำเสมอ ควรดูแลและป้องกันการเข้าทำลายของแมลง และศัตรูพืช

ทางใบ



อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน ใช้เคลียร์ อัตรา 100 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 1 ครั้ง

คุณประโยชน์
ทำให้ลูกลำไยโตเร็ว สม่ำเสมอทั่วทั้งต้น ช่วยการสร้างเปลือก สร้างเมล็ด และขยายลูกลำไย ขั้วเหนียว เปลือกหนา ลดปัญหาการหลุดร่วง ช่วยล้างเชื้อราในสวนลำไย ไม่ให้เชื้อราเข้าขั้วผล

เกร็ดความรู้:
ระยะติดผลอ่อนเป็นช่วงที่ลำไยสร้างเปลือกและเตรียมโครงสร้างเพื่อให้เกิดความพร้อมในการรับการขยายลูกในระยะต่อไป ต้นลำไยที่ติดผลดกจะสลัดลูกทิ้งมากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น และสภาพความแห้งแล้งของอากาศ
ระยะมะเขือพวง

ทางดิน


อัตราและวิธีการใช้
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 หว่านใต้ทรงพุ่ม

คุณประโยชน์
เพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้นลำไย ช่วยการสร้างเมล็ด สร้างเปลือก และขยายลูกลำไย

คำแนะนำ:
ควรฉีดพ่นฮอร์โมนอาหารเสริมพืชเป็นระยะเพื่อช่วยการสร้างเปลือก และเสริมให้โครงสร้างเปลือกแข็งแรงพร้อมที่จะรับการขยายตัวของลูกลำไย ควรให้น้ำต้นลำไยอย่างสม่ำเสมอควรดูแลและป้องกันการเข้าทำลายของแมลง และศัตรูพืช

ทางใบ



อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2-3 ครั้ง

คุณประโยชน์
สามสหาย ทำให้ลูกลำไยโตเร็ว สม่ำเสมอทั่วทั้งต้น ช่วยการสร้างเปลือก สร้างเมล็ดและ ขยายลูก ลำไยขั้วเหนียว เปลือกหนา ลดปัญหาการหลุดร่วง

เกร็ดความรู้:
ระยะมะเขือพวงเป็นช่วง 60-100 วันหลังดอกบาน เป็นระยะที่ลำไยสร้างเมล็ดเป็นหลัก ขนาดของผลอ่อนจะเริ่มขยายอย่างรวดเร็วจากการสร้างเมล็ดและเปลือกมากกว่าเนื้อ
ระยะเมล็ดในดำ

ทางดิน


อัตราและวิธีการใช้
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 หรือ สูตร 13-13-21 หว่านใต้ทรงพุ่ม
คุณประโยชน์
เพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้นลำไย ช่วยการสร้างเนื้อ สร้างเปลือก และขยายลูกลำไย

คำแนะนำ:
-ควรให้น้ำต้นลำไยอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา
-ควรใช้ไม้ไผ่ช่วยค้ำกิ่งเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักเนื่องจากลมแรงหรือพายุ โดยเฉพาะกิ่งที่ติดผลลำไยจำนวนมาก
-ควรป้องกันการเข้าทำลายของแมลงและศัตรูพืช รวมทั้งค้างคาว

ทางใบ



อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 200 ซีซี. ผสม เคลียร์ 50-100 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จนเก็บเกี่ยว

คุณประโยชน์
ทำให้ลูกใหญ่สม่ำเสมอทั่วทั้งต้น (AA)รสชาดดี หอมหวาน เนื้อแน่น ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ขั้วเหนียว เปลือกหนา ลดปัญหาการหลุดร่วงและการแตก ป้องกันเชื้อราเข้าขั้วผล และขัดสีผลลำไยให้เหลืองนวล

เกร็ดความรู้:
หลังจากเมล็ดในดำหรือประมาณ 100 วันหลังดอกบาน ลำไยจะเริ่มสร้างเนื้ออย่างรวดเร็วประมาณ 50 วันก่อนเก็บเกี่ยว ดังนั้นระยะนี้ น้ำ แสงแดด ปุ๋ยเคมี และอาหารเสริมจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการสร้างเนื้อลำไย สร้างเปลือก เพิ่มความหวานและลดปัญหาการหลุดร่วง


ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

อิมเพล
อิมเพล สารส่งเสริมเปิดตาและพัฒนาดอกสำหรับพืช
เพิ่มเปอร์เซ็นต์การออกดอก ออกดอกดก แขนงดอกเยอะ ช่อดอกสมบูรณ์ ช่วยผสมเกสร ติดผลดี เม็ดในดำเล็ก เนื้อเยอะ รูปทรงสวย
สารสำคัญ
สารผสมนิวคลีโอไทด์, สารสกัดสาหร่่าย (Ascophyllum nodosum)

อัตราและวิธีการใช้
ใช้อิมเพล 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
สามสหาย
สามสหาย โปร-ซีบีเอ็น , พรีคัส , แซมวิก้า
ใบใหญ่ ใบหนา ใบเขียวเข้ม ใบมัน ช่อดอกอวบ ช่อดอกยาว ช่อดอกสมบูรณ์ ช่วยผสมเกสร ติดผลดก ขั้วเหนียว ผลอ่อนโตไว ลูกเรียงสม่ำเสมอ รูปทรงสวย ผิวสวย ขยายผลจัมโบ้
สารสำคัญ
โปร-ซีบีเอ็น - แคลเซียมคีเลท, โบรอน, กรดอะมิโน
พรีคัส - สารมาเลท, แมกนีเซียมคีเลท, กรดกลูตามิค
แซมวิก้า - คาร์โบไฮเดรต, กรดอะมิโน, กรดฟูลวิค, แมกนีเซียมคีเลท

อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย อย่างละ 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
เคลียร์
เคลียร์ สารเสริมประสิทธิภาพ
สารเสริมประสิทธิภาพชำระล้างโรคราดำ โรคราสนิม โรคเชื้อราเข้าขั้วดอกและผล ขัดสีผิวลำไยให้เหลืองนวล ปลอดภัยไม่มีสารตกค้าง
สารสำคัญ
สารลดแรงตึงผิว

อัตราและวิธีการใช้
ใช้เคลียร์ 100 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
แพ็คคู่ เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ
แพ็คคู่ เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ สารเสริมประสิทธิภาพชนิดสัมผัสและชนิดดูดซึม
สารเสริมประสิทธิภาพชำระล้างโรคราดำ โรคราสนิม โรคเชื้อราเข้าขั้วดอกและผล ลูกเน่า ลูกแตก โรคไฟทอปธอร่า ขัดสีผิวลำไยให้เหลืองนวล
สารสำคัญ
ออร์กาโน-เอฟ - แคลเซียมคีเลท, กรดคาร์บอกซิลิก กรดไขมัน, สารประกอบเซลลูโลส
เคลียร์ - สารลดแรงตึงผิว

อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่ เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ อย่างละ 100-200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
แพ็คคู่ ซอยล่อน-25, ฮิวโม่-เอฟ65
แพ็คคู่ ซอยล่อน-25, ฮิวโม่-เอฟ65 สารเสริมประสิทธิภาพดิน
เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ปรับปรุงสภาพดินให้โปร่ง ร่วนซุย ปลดปล่อยปุ๋ยที่ถูกตรึงอยู่ในดิน เคลื่อนย้ายปุ๋ยและธาตุอาหารไปยังส่วนที่พืชต้องการ ล้างสารพิษ และโลหะหนักที่ตกค้างในดิน
สารสำคัญ
ซอยล่อน-25 - แอมโมเนียม ลอริล อีเทอร์ซัลเฟต
ฮิวโม่-เอฟ65 - กรดฮิวมิค, กรดฟูลวิค

อัตราและวิธีการใช้
ใช้ซอยล่อน-25 200 ซีซี. ผสม ฮิวโม่-เอฟ65 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ราดใต้ทรงพุ่ม

การปลูกและการดูแลรักษาลำไย


ลำไย เป็นไม้ผลที่นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเนื่องจากมูลค่าการส่งออกหลายพันล้านบาท ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง หรือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินต้องมากกว่า 0.75 เมตร ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 5.5-6.5 การเจริญเติบโตต้องการอุณหภูมิช่วง 20-35 องศาเซลเซียส ระยะออกดอก อุณหภูมิต้องต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,000 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ตลอดปีและมีการกระจายตัวของฝน

การเตรียมดิน ถ้าเป็นพื้นที่ที่เคยปลูกพืชอื่นมาก่อนให้ไถดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 20-25 วัน พรวนย่อยดินอีก 1-2 ครั้ง และปรับระดับดินให้สม่ำเสมอตามแนวลาดเอียง

ระยะปลูก วางผังระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 8x8 เมตร หรือ 10x8 เมตร ตามสภาพพื้นที่ หรือระยะ 7x5 เมตร ในกรณีที่มีการควบคุมทรงพุ่ม

วิธีการปลูก
ลำไยเป็นพืชที่สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่ที่นิยมมากในปัจจุบันคือ การตอนกิ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลแน่นอนเนื่องจากลำไยเป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือต้นไม่มีรากแก้วจึงทำให้มีโอกาสโค่นล้มเนื่องจากลมพายุสูงมาก ปัจจุบันชาวสวนบางรายเริ่มให้ความสนใจในการขยายพันธุ์ลำไยโดยวิธีการอื่น ๆ เช่น การเสียบกิ่ง, การทาบกิ่ง และการเสริมราก โดยใช้ต้นตอที่เพาะจากเมล็ด ซึ่งจะมีระบบรากแก้วที่สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน ป้องกันต้นลำไยโค่นล้ม มีวิธีการปลูก คือ
1. ขุดหลุมปลูกขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 80x80x80 เซนติเมตร
2. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วอัตรา 3-5 กิโลกรัมต่อหลุม โดยผสมกับหน้าดิน ใส่ลงหลุม พูนดินสูงจากปากหลุมประมาณ 15 เซนติเมตร
3. ก่อนปลูกทำหลุมเท่าถุงเพื่อวางชำต้นกล้าตัดรากที่ขดงอรอบๆ ถุงชำต้นกล้าทิ้งไป โดยเฉพาะบริเวณก้นถุงใช้มีดคมกรีดจากก้นถุงขึ้นมาปากถุงทั้งสองด้าน แล้วดึงถุงพลาสติกออกระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินให้แน่น
4. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดต้นเพื่อป้องกันต้นกล้าโยกคลอนรดน้ำให้ชุ่ม พรางแสงให้จนกระทั่งแตกยอดอ่อน 1 ครั้ง จึงงดการพรางแสง

การดูแลรักษา
-ลำไยอายุ 1-3 ปี หลังจากต้นแตกใบอ่อนชุดที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 100 กรัมต่อต้น ปีละ 3 ครั้ง และเพิ่มขึ้นปีละ 2 เท่าทุกปี
-ลำไยอายุ 4 ปี แตกใบอ่อนประมาณต้นเดือนสิงหาคม ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น และเดือนพฤศจิกายน พ่นปุ๋ยเคมีสูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่มเพื่อไม่ให้ลำไยแตกใบใหม่ พ่น 3 ครั้ง ทุก 7 วัน
-สำหรับลำไยที่ให้ผลผลิตแล้ว (อายุ 5 ปีขึ้นไป) หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีที่ผ่าน มาใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อกระตุ้น การแตกใบอ่อนชุดที่ 1 หลังจากนั้นประมาณเดือนกันยายนใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15- 15 และ 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เมื่อลำไยแตกใบอ่อนชุดที่ 2 กลางเดือนตุลาคมใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-46-0 และ 0-0-60 สัดส่วน 1:1 อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อให้ลำไยพักตัวและพร้อมต่อการออก
-เมื่อลำไยติดผลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต
-ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อเพิ่ม คุณภาพผลผลิต
-หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

การกำจัดวัชพืช
การจัดการวัชพืชมีหลายวิธี เช่น การปลูกพืชคลุมดินซึ่งจะช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดิน ช่วยรักษาความชื้น และเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับดิน การตัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก และระหว่างต้นลำไยซึ่งอาจจะใช้สลับกับการพ่นสารกำจัดวัชพืชบ้าง โดยพ่นเพียงปีละครั้งเมื่อไม่สามารถตัดวัชพืชได้ทัน ด้วยเหตุผลเพราะขาดแรงงานหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมที่จะตัดวัชพืชได้ การรักษาบริเวณโคนต้นลำไยให้สะอาด ควรตัดวัชพืชให้สั้น ไม่ควรใช้จอบดาย เนื่องจากเป็นอันตรายต่อระบบรากของลำไยและควรหลีกเลี่ยงการใช้สารกำจัดวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่ม

ที่มา:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร

โรคลำไย


โรคราน้ำฝน

longanpat1

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ กิ่งอ่อนและใบอ่อนไหม้ เน่าและร่วงหล่นทำให้ผลเน่าละร่วงหล่น ผลมีราสีขาวฟูขึ้นมา
การแพร่ระบาด ระบาดในฤดูฝนช่วงที่มีฝนตกชุก
การป้องกันกำจัด
1.ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ไม่แน่นทึบ
2.เก็บใบ กิ่งหรือผลที่เป็นโรคฝังดินหรือเผาทำลาย
3.พ่นสารกำจัดโรคพืช


โรคราดำ

longanpat2

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Capnodium ramosum, Meliola euphoriae.
ลักษณะอาการ สีดำของเชื้อราขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก และผิวของผล ทำให้เห็นเป็นคราบสีดำคล้ายเขม่า บนใบที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดำของเชื้อรานี้ เมื่อแห้งจะหลุดออกเป็นแผ่นได้ง่าย เชื้อราไม่ได้ทำลายพืชโดยตรง แต่ไปลดการปรุงอาหารของใบ อาการที่ปรากฎที่ช่อดอกถ้าเป็นรุนแรงทำให้ดอกร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกร่วงเพราะถูกเชื้อราดำเข้ามาเคลือบ
การแพร่ระบาด ลักษณะอาการเช่นนี้ เกิดจากผลของการทำลายของแมลงพวกปากดูด ที่ดูดกินส่วนอ่อนของลำไย แล้วถ่ายน้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย เชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา แล้วเจริญเป็นคราบสีดำ แมลงปากดูดเท่าที่พบ เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยเพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น
การป้องกันกำจัด
ป้องกันและกำจัดแมลงพวกปากดูดดังกล่าว โดยพ่นสารเคมี อาจพ่นควบคู่กับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา

ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์


ลําไยเริ่มให้ผลประมาณเดือนมิถุนายนและจะชุกมากเดือนสิงหาคม มีหลายพันธุ์ พันธุ์ดีและนิยมปลูกกันมากเป็นพันธุ์ที่หวาน เนื้อหนาและเมล็ดเล็ก เช่น พันธุ์กะโหลก เบี้ยวเขียว สีชมพู แห้วและอีดอ ลำไยมีสรรพคุณในทางแก้ความเหนื่อย ความอ่อนเพลีย ช่วยให้หลับสบายและเจริญอาหาร

มีการนำลำไยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น
-ลำไยบรรจุกระป๋องหรือบรรจุขวด
-ลำไยอบแห้ง
-เครื่องดื่ม เช่น กาแฟลำไย น้ำลำไย
-อาหารคาวหวานจากลำไย เช่น ลำไยกวน ข้าวเหนียวเปียกลำไย ขนมปังลำไย ข้าวต้มลำไย ซุปไก่ตุ๋นลำไย เยลลี่ลำไย ลำไยลอยแก้ว เป็นต้น

ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร