การปลูกและการดูแลรักษามะม่วง


มะม่วง  จัดเป็นไม้ผลเขตร้อนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย มีพันธุ์ปลูกมากกว่า 100 พันธุ์ มะม่วงสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยได้ดี ปลูกได้เกือบทั้งประเทศ จึงเป็นไม้ผลที่มีผู้นิยมปลูกและรับประทานมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย

การเตรียมดิน
พื้นที่ดอน  ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ แล้วไถดะและพรวน 1-2 ครั้ง
พื้นที่ลุ่ม  ควรยกร่องให้สันร่องสูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุด 0.5-1.0 เมตร ปลูกมะม่วงบนสันร่อง ระยะระหว่างสันร่อง 6-8 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร

ระยะปลูก
ระยะปลูกมีหลายระยะด้วยกัน แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการปลูก ได้แก่
1.ระยะปลูกแบบถี่ หรือการปลูกระยะชิด เช่น 2.5X2.5 เมตร, 4X4 เมตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะได้มะม่วงประมาณ 256 ต้นต่อไร่ การปลูกระยะชิดนี้จําเป็นจะต้อง ดูแลตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอด้วย
2.ระยะปลูกแบบห่าง เช่น 8X8 เมตร, 10X10 เมตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม แนะนําให้ปลูกระยะ 8X8 เมตร หรืออย่างน้อยไม่ควรตํ่ากว่า 6X6 เมตร สําหรับมะม่วงที่ขยายพันธุ์ด้วยการทาบกิ่ง

วิธีการปลูก
การปลูกมะม่วงไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ตาม ต้องทําด้วยความ ระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมาก เพราะจะทําให้ต้นชะงักการเติบโตหรือตายได้ ต้นมะม่วงที่ปลูกไว้ใน ภาชนะนานๆ ดินจะจับตัวกันแข็ง และรากก็พันกันไปมา เวลานําออกจากภาชนะแล้วให้บิแยกดินก้น ภาชนะให้กระจายออกจากกันบ้าง ส่วนรากที่ม้วนไปมาให้พยายามคลี่ออกเท่าที่จะทําได้เพื่อจะได้เจริญ เติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว
1.การปลูกด้วยกิ่งทาบ กิ่งติดตา ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่า เดิมเล็กน้อย แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว้ เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นแตกออกมาจาก กิ่งพันธุ์หรือจากต้นตอ ถ้าเป็นกิ่งที่แตกจากต้นตอให้ตัดทิ้งไป
2.การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิม หรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ ใช้ในการตอนโผล่อยู่เล็กน้อย ไม่ควรกลบดินจนมิดจุกมะพร้าว เพราะจะทําให้เน่าได้ง่ายเมื่อปลูกเสร็จ ให้ปักไม้เป็นหลักผูกต้นกันลมโยก แล้วรดนํ้าให้ชุ่ม ต้นที่นํามาปลูกถ้าเห็นว่ายังตั้งตัวไม่ดีคือแสดง อาการเหี่ยวเฉาตอนแดดจัด ควรหาทางมะพร้าวมาปักบังแดดให้บ้าง ก็จะช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้นใน ระยะที่ต้นยังเล็กอยู่นี้ให้หมั่นรดนํ้าอยู่เสมอ อย่าให่ดินแห้งได้ การปลูกในฤดูฝนจึงเหมาะที่สุดเพราะจะประหยัดเรื่องการให้นํ้าได้มาก และต้นจะตั้งตัวได้เร็ว โดยเฉพาะการปลูกในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ไม่มีนํ้า ที่จะให้แก่ต้นมะม่วงได้ทั้งปี ให้ปลูกในระยะต้นฤดูฝน ช่วงแรกๆ อาจต้องรดนํ้าให้บ้าง เมื่อฝนเริ่มตกหนักแล้วก็ไม่ต้องให้นํ้าอีก ต้นจะสามารถตั้งตัวได้เต็มที่ก่อนจะหมดฝนและสามารถจะผ่านฤดูแล้งได้ โดยไม่ตาย ส่วนที่มีนํ้าอุดมสมบูรณ์จะปลูกตอนไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวก

การดูแลรักษา
-มะม่วงอายุ 1-2 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่ากันในช่วงต้นและปลายฤดูฝน ใส่รอบโคนต้นแล้วพรวนดินกลบ
-มะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้วหรือต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป มีการใส่ปุ๋ยเป็นระยะตามพัฒนาการหรือความต้องการ ดังนี้
ระยะบำรุงต้น หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งแล้วใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-10-10 หรือ 30-10-10 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อครั้ง ร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อต้นต่อครั้ง โดยใส่รอบทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบ ใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อมะม่วงเริ่มแตกใบชุดที่ 2 โดยใช้สูตรปุ๋ย และอัตราเดิม
ระยะเร่งสร้างตาดอก ก่อนมะม่วงออกดอก 2-3 เดือน ใส่ปุ๋ย 12-24-12 หรือ 8-24-24 อัตรา 1-2 กิโล กรัมต่อต้น สำหรับต้นอายุ 2-4 ปี อัตรา 2-4 กิโลกรัมต่อต้น สำหรับต้นอายุ 5-7 ปี และ 4-6 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่อต้นอายุ 8 ปีขึ้นไป
ระยะบำรุงผล หลังดอกบาน 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
ระยะปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น และอาจพ่นปุ๋ยทางใบร่วมในระยะนี้ด้วย

การกำจัดวัชพืช
การกําจัดวัชพืชต้องทําอยู่เสมอ เพราะวัชพืชต่างๆ จะคอยแย่งนํ้าและอาหารจากต้นมะม่วง และการปล่อยให้แปลงปลูกรกรุงรัง จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่างๆ ที่จะทําลายต้นมะม่วงอีกด้วย การกําจัดวัชพืชทําได้หลายวิธี เช่น การถางด้วยจอบ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชแซม การใช้สาร เคมีและการคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินต่างๆ เป็นต้น การจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความสะดวกและเหมาะสมของแต่ละราย เช่น ถ้ามีแรงงานเพียงพอควรปลูกพืชแซม แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตไปเรื่อยๆ หรือใช้วิธีไถพรวนดินกําจัดหญ้าอยู่เสมอ แต่ถ้ามีแรงงานพอ ควรใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน เพราะพืชคลุมดินปลูกครั้งเดียวสามารถอยู่ได้หลายปี

ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคมะม่วง


โรคราดำมะม่วง

mangopat1

สาเหตุ เกิดจากเชื้อราดำหลายชนิด เช่น Capnodium sp., Meliola sp.
ลักษณะอาการ
โรคราดำจะเกิดทั้งบนใบ ช่อดอก และผลอ่อน มีลักษณะเหมือนเขม่าหรือฝุ่นสีดำปกคลุมเป็นแผ่นสีดำ ซึ่งเมื่อแห้งอาจจะร่วงหลุดเป็นแผ่น
การแพร่ระบาด ปกติแล้วราดำมีอยู่ทั่วๆไปในอากาศ แต่ไม่สามารถจะเจริญขึ้นบนใบหรือช่อดอกมะม่วงได้ หากไม่มีแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง โดยแมลงเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ตามยอดอ่อน และช่อดอก แล้วจะถ่ายสารซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำหวานออกมาฟุ้งกระจายไปเคลือบตามบริเวณใบ และช่อดอก ซึ่งเชื้อราดำในอากาศก็จะสามารถขึ้นได้ และทำให้การติดดอกออกผลของมะม่วงลดลงหรือไม่ติดผลเลย
การป้องกันกำจัด
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากแมลงเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้นในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอก ให้เข้าสำรวจแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอยในสวน หากพบในปริมาณสูง ทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัด หากยังพบการทำลายของเพลี้ยจักจั่นก็ควรฉีดพ่นอีกครั้งในระยะดอกตูมใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา


โรคแอนแทรคโนส

mangopat2

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
ลักษณะอาการ
อาการ ของโรคที่ใบ ใบจะเป็นจุด อาการที่ดอก ดอกจะแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล-ดํา ถ้าเป็นที่ผลอ่อน ผลจะเป็นจุดดํา แต่ถ้าเป็นที่ผลโตแล้ว เชื้อรามักจะฝังตัวอยู่ที่ใต้ผิวมะม่วง ไม่แสดงอาการ อาการโรคจะไปปรากฏบนผลมะม่วงภายหลังเก็บเกี่ยว คือ ทําให้ผลมะม่วงเน่าเมื่อสุก
การแพร่ระบาด แพร่กระจายด้วยสปอร์ ที่ถูกพัดพามากับลมและฝน ดังนั้นการแพร่กระจายของเชื้อรา จึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นมะม่วงและตลอดช่วงฤดูการผลิต
การป้องกันกำจัด
1.ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อควบคุมทรงพุ่ม ลดความชื้น ให้แสงแดดส่องถึงในทรงพุ่ม และอากาศถ่ายเทได้สะดวก
2.กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น เก็บใบและกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลาย
3.ทำการฉีดพ่นสารฆ่าเชื้อราชนิดป้องกัน หากมีการระบาดรุนแรง ต้องใช้สารที่มีคุณสมบัติในการรักษาเพื่อหยุดการลุกลามของโรค
4.การควบคุมโรคโดยชีววิธี

ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์


มีการนำมะม่วงมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มะม่วงแปรรูปควรเป็นมะม่วงที่มีเนื้อแน่นมีปริมาณเนื้อและน้ำตาลมาก เมื่อสุกมีสีสวยกลิ่นหอม มีความเป็นกรดต่ำ และมีปริมาณแทนนินน้อย มะม่วงที่ใช้ในการแปรรูปมี 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 เป็นมะม่วงที่มีเนื้อมาก เส้นใยน้อย มะม่วงชนิดนี้เหมาะที่จะแปรรูปเป็นมะม่วงดอง มะม่วงในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง เช่น มะม่วงแก้ว
กลุ่มที่ 2 เป็นมะม่วงที่มีน้ำและเส้นใยมาก เมื่อสุกมีสีสวยและกลิ่นหอม มะม่วงชนิดนี้เหมาะสมที่จะใช้แปรรูปเป็นเครื่องดื่ม เช่น น้ำมะม่วง
ในประเทศไทยส่วนใหญ่ จะทำการแปรรูปมะม่วงเป็นมะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม และมะม่วงตากแห้ง มะม่วงกวน มะม่วงหยี แยมมะม่วง ไอศกรีมมะม่วง



ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร