เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมะละกอ


ออกดอกดก ลูกเต็มคอ
เก็บได้หลายรุ่น
ผลผลิตต่อไร่สูง
หมดปัญหาโรคใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ

ระยะเพาะกล้า

อย่างละ 20 ซี.ซี.

10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร- ซีบีเอ็น)อย่างละ 20 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน

 

คุณประโยชน์
แตกรากดี รากขาว รากเยอะ ต้นกล้าแข็งแรง ใบใหญ่ใบหนา วัคซีนพืช ป้องกันโรค เชื้อราไวรัส

ระยะย้ายปลูก-อายุ 3 เดือน

อย่างละ 20 ซี.ซี.

10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร- ซีบีเอ็น)อย่างละ 20 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน

 

คุณประโยชน์
แตกรากดี รากขาว รากเยอะ ต้นกล้าแข็งแรง ใบใหญ่ใบหนา วัคซีนพืช ป้องกันโรค เชื้อราไวรัส

ระยะติดดอก

อย่างละ 20 ซี.ซี.

20 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร- ซีบีเอ็น)และพรีคัส อย่างละ 20 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน

 

คุณประโยชน์
ติดดอกดก ขั้วเหนียว ลดปัญหาการหลุดร่วง วัคซีนพืช ป้องกันโรค เชื้อราไวรัส

ระยะติดลูก-เก็บเกี่ยว

อย่างละ 20 ซี.ซี.

อย่างละ 20 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร- ซีบีเอ็น) พรีคัส และแซมวิก้า อย่างละ 20 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน

 

คุณประโยชน์
ลูกเต็มคอ ผิวสวย เนื้อแน่น ได้น้ำหนัก รสชาติดี สีสวย วัคซีนพืช ป้องกันโรค เชื้อราไวรัส

ทุกอัตราผสมน้ำ 20 ลิตร


ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร ซีบีเอ็น)-เคลียร์


อัตราและวิธีการใช้
แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร- ซีบีเอ็น) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 10 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน ใช้รักษาโรคใบไวรัสใบจุดวงแหวน เกิดจากเชื้อไวรัส Papaya ringspot virus (PRV)


แพ็คคู่(เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ)


อัตราและวิธีการใช้
เคลียร์ 10 ซี.ซี. และ ออร์กาโน-เอฟ 20-40 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-15 วัน ใช้รักษาโรคใบจุด/แอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides, โรครากเน่าและโคนเน่า เกิดจากเชื้อรา Pythium aphanidermatum (Edson) Fitz.

บี-ลอง


อัตราและวิธีการใช้
บี-ลอง 1 กก. คลุกปุ๋ย 50 กก. ใส่ทุกๆ 3-6 เดือน

เขียวไว เขียวทน เขียวนาน ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ลดปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผล

การปลูกและการดูแลรักษามะละกอ


มะละกอ เป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายนํ้าดี มีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบนํ้าขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรง ไม่ได้ควรทำ แนวไม้กันลมโดยรอบด้วย มะละกอจะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ มะละกอมีก้านใบยาวและกลุ่มใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะละกอ

การเตรียมดิน
พื้นที่ที่จะปลูกมะละกอควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงและควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ถ้าหากเป็นที่ลุ่มควรทําแปลงปลูกแบบยกร่อง สําหรับการเตรียมดินปลูกก่อนอื่นต้องกําจัดวัชพืชออกให้หมดแล้วทําการพรวนดิน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดินก้อนโต พลิกดินตากแดดจนแห้งดีแล้วจึงไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง ถ้าดินปลูกไม่ค่อย อุดมสมบูรณ์ควรบํารุงดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนแล้วไถกลบลงดินให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในแปลง

ระยะปลูก
ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 4x3 เมตร หรือ 3x3 เมตร หรือ 2.5x3 เมตร

วิธีการปลูก
มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายใน การดูแลรักษาในขั้นแรกมาก เพราะพื้นที่กว้างขวางและต้นกล้าที่งอกใหม่ๆ ต้องการเอาใจ ใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลง แปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง
การเตรียมต้นกล้ามะละกออาจใช้วิธีต่าง ๆ ได้ 2 แบบ คือ
1. เพาะเมล็ดลงถุง
2. เพาะเมล็ดลงแปลงเพาะ แล้วย้ายลงถุง

การดูแลรักษา
ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้น ยังไม่พอเพียงสำหรับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต จึงต้องมีการให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่ มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 เดือน โดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง ในระยะ 1 ปี ตลอดช่วงฤดูฝน แบ่งใส่ครั้งละประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้น

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อาจใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 21-21-21 ชนิดที่มีอาหารธาตุรองฉีดพ่น ทุก 14 วันต่อครั้ง หลังย้ายปลูกเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง โดยใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกง ต่อนํ้า 20 ลิตร

ขณะเดียวกัน ก็อาจใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 50 กรัมหลังจากย้ายปลูก 1 เดือน และใส่ทุกเดือนจนถึงเดือนที่ 3 หลังย้ายปลูกจะใส่เพิ่มเป็นต้นละ 100 กรัมทุกเดือน เมื่อมะละกอติดผลแล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 100 กรัม ผสมกับยูเรีย อัตรา 50 กรัมต่อต้น

วิธีการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ทางดิน ให้ใส่ปุ๋ยหว่านทางดิน พรวนกลบแล้วรดนํ้าตาม อย่าใส่ปุ๋ยกลบโคนต้น

การกำจัดวัชพืช
ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซมร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถว ระหว่างต้น เมื่อมีวัชพืชขึ้น การดายหญ้าพืชแซมควรดายหญ้ามะละกอไป ด้วย แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้นหรือรากมะละกอ จะทำ ให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต หรือทำ ให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งคลุมโคนต้น ให้หนา ๆ จะทำ ให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกใหม่

ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคมะละกอ


โรคแอนแทรคโนส

papayapat1

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
ลักษณะอาการ
ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจาง และมักจะขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา มักพบจุดดำเล็ก ๆ กระจายทั่วบริเวณแผล ซึ่งคือส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา
ผล เห็นได้เด่นชัดเมื่อเกิดกับผลสุก จะเกิดลักษณะแผลกลมฉ่ำน้ำ และยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพูขึ้นฟูเป็นวงชั้น ๆ บริเวณแผลและแผลจะลุกลามขยายตัวไป ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว และมีความชื้นสูง เชื้อสาเหตุของโรคจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะที่เป็นผลอ่อน และฟักตัวไม่แสดงอาการของโรค แต่จะปรากฏอาการของโรคเมื่อผลมะละกอสุก
การแพร่ระบาด เชื้อราจะแพร่กระจายจากแหล่งเพาะเชื้อตามผล กิ่งก้านที่เป็นโรค โดยลมฝนและเข้าทำลายผลอ่อน โดยสปอร์ของเชื้อจะงอก และแทงเข้าสู่ผิวผลได้โดยไม่ต้องมีบาดแผลเกิดขึ้น และเจริญฟักตัวอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณใต้ส่วนผิวผลมะละกอ จนผลเริ่มสุกจึงจะเกิดอาการของโรค
การป้องกันกำจัด
1. เก็บทำลายใบแห้งที่ร่วงหล่น โดยเผาทำลาย เพื่อตัดต้นตอของการระบาดของเชื้อโรค
2. มะละกอที่ปลูกเพื่อขายผลสุก ควรจะฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ทุกระยะ 14-20 วัน ตั้งแต่ระยะแทงช่อดอก หรือเริ่มติดผล โดยเฉพาะถ้าอยู่ในช่วงอากาศอบอ้าวและความชื้นสูง
3. จุ่มผลมะละกอในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 48 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที แล้วลดอุณหภูมิให้เย็นลงหลังจุ่มในน้ำร้อน จะช่วยลดปัญหาการเกิดโรคนี้กับผลสุกได้


โรคใบด่างจุดวงแหวน

papayapat2

สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Papaya ringspot virus (PRV)
ลักษณะอาการ
ระยะต้นกล้า เชื้อเข้าทำลายจะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบ จะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย
ผลมะละกอ อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็น รุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผล
การแพร่ระบาดโรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยอ่อนยาสูบ และโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายที่พาหะสำคัญที่แพร่ระบาดของโรคนี้ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นเป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง และเมื่อบินหรือย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก โดยดูดจากต้นเป็นโรคประมาณ 10-30 วินาที ก็สามารถถ่ายโรคไปยังต้นอื่นได้ ภายหลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคให้เห็น
การป้องกันกำจัด
1.ต้องทำลายต้นที่ติดเชื้อโรคนี้ ที่แสดงอาการอย่างแน่ชัดก่อน โดยการเผาหรือฝังในดินให้ลึก
2.ปลูกมะละกอพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคนี้ เช่น ปากช่อง 1, แขกดำ, ท่าพระ
3.บริเวณปลูกมะละกอควรกำจัดวัชพืชให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกเพลี้ยอ่อน และควรปลูกห่างจากพืชตระกูลแตง
4.การปลูกพืชอาหารเพลี้ยอ่อน เช่น ข้าวโพด ถั่ว กล้วย รอบแปลงปลูกมะละกอ โดยเฉพาะด้านเหนือลม เพื่อเป็นกับดักให้เพลี้ยอ่อนเข้าดูดกิน และสูญเสียการถ่ายเชื้อไวรัสเข้าสู่มะละกอ
5.การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการปลูกวัคซีนให้กับมะละกอ

ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์


มะละกอเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ปลูกง่าย ได้ผลเร็ว ขายได้คล่อง แต่เมื่อถึงฤดูที่มีมากๆ แล้วราคาถูก จึงมีการศึกษาทดลองทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ผลดีทั้งมะละกอดิบและสุก ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีดังนี้
-มะละกอผง
-มะละกอแผ่นกรอบ
-มะละกอแผ่นหนา, แผ่นบาง
-มะละกอกวน
-มะละกอเชื่อม
-มะละกอแช่อิ่ม, มะละกอดอง
-มะละกอในน้ำเชื่อม
-มะละกอเส้น
-น้ำมะละกอหวานเข้มข้น
-แยมมะละกอ, เยลลี่มะละกอ, ซอสมะละกอ
-ข้าวเกรียบมะละกอ



ที่มา:   กรมวิทยาศาสตร์บริการ