ถั่วลิสง

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตถั่วลิสง


ฝักใหญ่ เมล็ดเต็ม เมล็ดเยอะ น้ำหนักดี ผลผลิตต่อไร่สูง


ระยะเริ่มปลูก

อย่างละ 20 ซี.ซี.    5 ซี.ซี.


10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร-ซีบีเอ็น)อย่างละ 20 ซี.ซี., เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่น 1 ครั้ง
 

คุณประโยชน์
งอกดี งอกไว รากขาวแข็งแรง กินปุ๋ยดี โตไวสมบูรณ์

ระยะเจริญเติบโต(ออกดอก)

อย่างละ 20 ซี.ซี.


5 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี.และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน
 

คุณประโยชน์
ต้นใหญ่สมบูรณ์แข็งแรง ใบเขียวเข้ม สะสมอาหาร ออกดอกดก ช่วยผสมเกสร ทนต่อโรค

ระยะแทงเพ็ก(แทงไหล)

20 ซี.ซี.


5 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้ทูเบอร์ก้า 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่น 1 ครั้ง
 

คุณประโยชน์
เริ่มการแทงเหล็กไหล ไหลแข็งแรง แทงไหลเยอะ ติดฝักดก

ระยะขยายฝัก

อย่างละ 20 ซี.ซี.


5 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน
 

คุณประโยชน์
ช่วยให้ฝักใหญ่ เมล็ดเต็ม เมล็ดเยอะ น้ำหนักดี ผลผลิตต่อไร่สูง

ทุกอัตราผสมน้ำ 20 ลิตร ห้ามใส่สารจับใบ

ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

ฮิวโม่-เอฟ65
อัตราและวิธีการใช้
ฮิวโม่-เอฟ65 100 กรัม ใช้แช่และคลุกเมล็ด 50 กิโลกรัม
 

เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ช่วยให้พืชกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ต้นสมบูรณ์ เขียวทน เขียวนาน ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย ใช้ปริมาณน้อย ต้นทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง


เคลียร์
อัตราและวิธีการใช้
ใช้เคลียร์ 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
 

เสริมประสิทธิภาพ ป้องกัน รักษาโรคสนิม โรคเชื้อราในถั่วลิสงได้ทุกชนิด ควรฉีดพ่นแพ็คคู่ เคลียร์ ออร์กาโน-เอฟ หรือพ่นเคลียร์ ป้องกันโรคก่อนในทุกระยะ


แพ็คคู่(เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ)
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ออร์กาโน-เอฟ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
 

เสริมประสิทธิภาพ ป้องกัน รักษาโรคสนิม โรคเชื้อราในถั่วลิสงได้ทุกชนิด ควรฉีดพ่นแพ็คคู่ เคลียร์ ออร์กาโน-เอฟ หรือพ่นเคลียร์ ป้องกันโรคก่อนในทุกระยะ


แพ็คคู่(ซอยล่อน-25, ฮิวโม่-เอฟ65)
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ซอยล่อน-25 200 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางดิน
 

สารระเบิดดิน แก้ปัญหาดินแข็ง ดินเหนียวและ ดินอัดแน่น

การปลูกและการดูแลรักษาถั่วลิสง

ถั่วลิสง เป็นพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่ง เป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำมาบริโภคได้ หลายรูปแบบ ทั้งบริโภคเป็นอาหารโดยตรง หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นพืชตระกูลถั่วที่เป็นพืชบำรุงดิน สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของไทย ทั้งในพื้นที่อาศัยน้ำฝนและน้ำชลประทาน แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้บริโภคภายในประเทศ

การเตรียมดิน
สิ่งที่เกษตรกรพึงปฏิบัติในการปลูกถั่วลิสงในขั้นตอนของการเตรียมดิน คือ ดินต้องร่วนซุย โดยการไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร พรวนและคราด กำจัดวัชพืช หากดินเป็นกรดควรใส่ปูนหรือหินฟอสเฟตตามค่าความต้องการปูนที่ได้จากผลการวิเคราะห์ดินซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการวิเคราะห์ดินสามารถให้คำแนะนำได้ ควรปรับสภาพดินให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.8-6.5 การปรับสภาพดินให้เหมาะสมจะช่วยทำให้ธาตุอาหารพืชสามารถละลายออกมา และเป็นประโยชน์กับรากพืชที่จะดึงดูดไปใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ ในกรณีดินด่าง-ด่างจัดเช่นดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจากหินปูน ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยที่มีฤทธิ์ตกค้างเป็นกรด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต ใส่ตามอัตราแนะนำ สำหรับดินที่มีค่าวิเคราะห์อินทรีย์วัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมต่ำกว่าจากที่ระบุ สามารถปลูกถั่วลิสงได้โดยการใส่ปุ๋ยตามอัตราแนะนำ

ระยะปลูก
ดินที่ปลูกถั่วลิสงในพื้นที่ไร่ไม่ต้องยกร่อง ส่วนดินที่ปลูกในที่นาฤดูแล้ง มีการให้น้ำ ควรยกแปลงให้ดินมีการระบายน้ำดี ขนาดของแปลงกว้างประมาณ 60-90 เซนติเมตร ปลูก 2-3 แถวระยะปลูกระหว่างต้น 20 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินถ้าหากปลูกถั่วลิสงพันธุ์ที่มีขนาดเมล็ดปานกลาง เช่น พันธุ์ไทนาน 9, ขอนแก่น 5, ขอนแก่น 4 ฯลฯ ควรใช้ระยะระหว่างต้น xระยะระหว่างแถว 20x30 เซนติเมตร หากปลูกถั่วลิสงเมล็ดโต (จัมโบ้)และพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ควรใช้ระยะระหว่างต้น xระยะระหว่างแถว 20x50 เซนติเมตร

วิธีการปลูก
ขั้นตอนการปลูกควรแยกกลุ่มตามขนาดเมล็ด โดยกลุ่มที่มีเมล็ดขนาดโตให้ปลูกในกลุ่มเดียวกัน ส่วนขนาดเมล็ดเล็กถึงปานกลางก็ให้แยกกลุ่ม เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอในการเจริญเติบโตในพื้นที่ กลุ่มเมล็ดขนาดเล็กสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดี เช่นเดียวกับกลุ่มเมล็ดขนาดใหญ่

การดูแลรักษา
-ใช้ปุ๋ยสูตร 12–24–12 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ หรือ สูตร 16–16–8 อัตรา 35 กิโลกรัม/ไร่ รองก้นหลุมก่อนปลูกหรือโรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบหลังถั่วลิสงงอก 10–15 วัน
-ดินที่มีปริมาณแคลเซียมต่ำ ควรหว่านปูนขาว อัตรา 100–200 กิโลกรัม/ไร่แล้วพรวนดินก่อนปลูก หรือโรยยิปซัมให้ต้นถั่วลิสง ในช่วงออกดอก อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อ ลดเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ และเพิ่มเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ

การกำจัดวัชพืช
-ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7–10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหล ของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน 1–2 ครั้ง เมื่อ 15 วันหรือ 30–40 วัน หลังถั่วลิสงงอกโดยใช้จอบดายระหว่างแถว และใช้มือถอนระหว่างต้น ต้องระวังไม่ให้รากและต้นของถั่วลิสงกระทบกระเทือน
-ในกรณีที่กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกลที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรพ่นสารกำจัดวัชพืชก่อนหรือหลังปลูกถั่วลิสง หลีกเลี่ยงการพ่นสารกำจัดวัชพืชโดยตรงไปที่ต้นถั่วลิสง

ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคถั่วลิสง


โรคราสนิม

peanutpat3

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Puccinia arachidis spegazzini
ลักษณะอาการ ถั่วลิสงที่เป็นโรคจะพบแผลตายสีน้ำตาลขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ทั่วผิวใบเริ่มจากใบล่างแล้วค่อยลุกลามขึ้นสู่ใบบน แผลดังกล่าวถ้าดูจากด้านหลังใบจะปรากฏเป็นเพียงจุดสีเหลือง แต่เมื่อพลิกดูใต้ใบจึงจะเห็นเป็นตุ่มนูนขึ้น ปกคลุมด้วยผงสปอร์ลักษณะคล้ายผงสนิมเหล็กจำนวนมากมาย ในกรณีที่เป็นโรครุนแรงใบอาจจะเหลือและแห้งตาย โรคราสนิมนี้ถ้าเกิดโรคระยะที่ถั่วแก่แล้วจะไม่ทำความเสียหายกับผลผลิตมากนัก แต่ถ้าเข้าทำลายในระยะที่ถั่วลิสงอยู่ในระยะออกดอกถึงฝักอ่อน จะทำให้ผลผลิตลดลงมาก โดยมีผลทำให้เมล็ดถั่วลิสงมีขนาดเล็กและลีบ
การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดโดยลมหรือฝนพัดพาสปอร์ไปตกตามใบ ความชื้นสูงจะมีส่วนทำให้การระบาดรุนแรงมากขึ้น
การป้องกันกำจัด
1.ถ้าทำได้ ควรเลี่ยงการปลูกถั่วลิสงตอนช่วงกลางหรือปลายฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่มักมีการระบาดของโรคราสนิม
2.พิจารณาใช้สารเคมีป้องกันกำจัดตามความเหมาะสม จำนวนครั้งที่จะฉีดพ่นขึ้นกับความรุนแรงของโรคและช่วงเวลาการเกิดโรค
3.พยายามทำลายซากพืชที่เป็นโรคให้หมดหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคในฤดูถัดไป


โรคลำต้นเน่าหรือโคนเน่าขาว

peanutpat2

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii
ลักษณะอาการ เชื้อราอาจเข้าทำลายส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช อาจเป็นโคนต้น กิ่งก้าน เข็ม ฝัก จะทำให้เกิดแผลเน่าสีน้ำตาลอ่อน เนื้อเยื่อบริเวณแผลจะยุบตัวลง ส่วนยอดของพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาและแห้งตายในที่สุด ในระยะที่พืชเริ่มเหี่ยวจะพบเส้นใยของเชื้อราสีขาว ตามส่วนของพืชที่เป็นโรคหรือตามผิวดิน ซึ่งต่อมาจะพบเม็ด Sclerotium มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดผักกาดสีน้ำตาล เชื้อราที่เข้าทำลายส่วนของเข็ม จะทำให้เข็มหลุดจากลำต้นหากทำลายฝักจะทำให้ฝักเน่า
การแพร่ระบาด โรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้ง่ายโดยอาจจะติดไปกับดิน เศษซากพืชหรือต้นพืชที่เป็นโรค การแพร่กระจายของเชื้อราส่วนใหญ่จะเป็นไปในรูปของเม็ด Sclerotium มากกว่ารูปของเส้นใย เขื้อราอยู่ข้ามฤดูในรูปของเม็ด Sclerotium โดยตกอยู่ตามดิน หรือเศษซากพืชเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะงอกเจริญกลายเป็นเส้นใยเข้าทำลายพืชต่อไป สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เชื้อรา S.rolfsii จะเจริญได้ดีในที่ที่มีความชื้นสูง อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 30-500 องศาเซลเซียส ความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6-7 ชอบดินร่วนปนทรายมากกว่าดินค่อนข้างเหนียว
การป้องกันกำจัด
1.คลุกเมล็ดถั่วลิสงก่อนปลูกด้วยสารเคมี
2.หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วควรมีการไถกลบหน้าดินให้ลึกกว่า 6 นิ้ว เพื่อกลบเม็ด Sclerotium
3.ปลูกพืชหมุนเวียนที่ทนทานต่อเชื้อราชนิดนี้ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น

ที่มา :   กรมวิชาการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์

1.ใช้เพื่อการบริโภค เช่น ต้ม คั่ว ทอด อบ เคลือบช็อกโกเลต เนยถั่วลิสง ส่วนประกอบอาหาร และขนมต่างๆ เช่น ถั่วตัด ถั่วกระจก ถั่วแผ่น ถั่วทอด เป็นต้น

2.ใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในโรงงานต่างๆ ทั้งในระดับครัวเรือนและโรงงานได้หลายประเภท ดังนี้
-โรงงงานต้ม ตาก หรืออบแห้งถั่วลิสงทั้งเปลือก ไว้จำหน่ายเพื่อบริโภค ในประเทศในช่วงปลายฤดูหรือช่วงที่ขาดแคลน หรือส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ และฮ่องกง เป็นต้น ถั่วลิสงที่ใช้ควรเป็นถั่วใหม่และสดไม่เกิน 3-5 วัน หลังจากเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้คุณภาพดี ความต้องการโดยเฉลี่ยปีละ 20,000-25,000 ตัน ส่วนใหญ่ผลิตเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน ถั่วลิสงทั้งเปลือกสดที่ผ่านการต้มแล้วเมื่อนำไปตากจนเหลือน้ำหนัก แห้งเฉลี่ยร้อยละ 52-55 แต่ถ้าใช้เครื่องอบจะเหลือน้ำหนักแห้งเฉลี่ยร้อยละ 50-51
-โรงงานหีบหรือสกัดน้ำมัน ถั่วลิสงที่ใช้ส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำเมล็ดลีบ มีขนาดเล็กและแตกหักความต้องการใช้เมล็ดในปีหนึ่งๆ มีประมาณ 12,000 ตัน ซึ่งจะ ได้น้ำมันประมาณ 11,000 ตันเศษ ส่วนใหญ่ใช้ภายในประเทศ ส่งออกปริมาณน้อย
-โรงงานถั่วลิสงป่น เพื่อใช้ประกอบผลิตภัณท์อาหารต่างๆ เช่น ถั่วตัด และถั่วป่นซึ่งโรงงานส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน และผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศทั้งสิ้น
-โรงงานอาหารสัตว์ จะใช้กากถั่วลิสงที่ได้จากโรงงานสกัดน้้ามันเป็นวัตถุดิบ เพื่อทดแทนการใช้กากถั่วเหลืองที่มีคุณภาพใกล้เคียงกันในสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 โดยน้ำหนักแม้จะมีปัญหาเรื่องสารพิษอะฟลาทอกซินที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยง เนื่องจากกากถั่วลิสงมีราคาถูกกว่าปลาป่นและกากถั่วเหลือง ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตามกากถั่วลิสงไม่เพียงพอ ต่อความต้องการโดยเฉลี่ยปีละประมาณ20,000 ตันเศษ แต่ผลิตได้เพียง 11,000-12,000 ตันเศษเท่านั้น ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

ที่มา:   สำนักงาน กศน.