เทคนิคการเพิ่มผลผลิตข้าว


ต้นแข็ง ใบตั้ง แก้ปัญหาข้าวล้ม วัคซีนพืช ป้องกันโรค ต้านทานแมลง


ระยะฉีดยาคุม-ฆ่า(อายุ 7-15 วัน)

อย่างละ 20 ซี.ซี.


10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม
 

คุณประโยชน์
ต้นแข็ง ใบตั้ง แตกรากดี ฟื้นต้นไว ทนทุกสภาพอากาศ วัคซีนพืชป้องกันโรค ต้านทานแมลง

ระยะข้าวแตกกอ(20-35 วัน)

อย่างละ 20 ซี.ซี.


10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม
 

คุณประโยชน์
ต้นแข็ง ใบตั้ง รากขาว รากเยอะ แตกกอดี ทนทุกสภาพอากาศ วัคซีนพืชป้องกันโรค ต้านทานแมลง

ระยะข้าวตั้งท้อง(60-70 วัน)

อย่างละ 20 ซี.ซี.

ออร์กาโนเอฟ 20 ซี.ซี.,
เคลียร์ 10 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค,พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี., แพ็คคู่(ออร์กาโน-เอฟ, เคลียร์) โดยใช้ออร์กาโน-เอฟ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 10 ซี.ซี.

คุณประโยชน์
ต้นแข็ง ใบตั้ง ตั้งท้องสมบูรณ์ ออกรวงสุด รวงข้าวใหญ่ คอรวงยาว วัคซีนพืชป้องกันโรค ต้านทานแมลง เสริมประสิทธิภาพ ป้องกันรักษาโรค

ระยะข้าวออกรวง(80-90 วัน)

แซมวิก้า 20 ซี.ซี.
อะไรส์ 10 ซี.ซี.

ออร์กาโนเอฟ 20 ซี.ซี.,
เคลียร์ 10 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
แพ็คคู่(แซมวิก้า, อะไรส์) โดยใช้แซมวิก้า 20 ซี.ซี. และ อะไรส์ 10 ซี.ซี., แพ็คคู่(ออร์กาโน-เอฟ, เคลียร์) โดยใช้ออร์กาโน-เอฟ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 10 ซี.ซี.

คุณประโยชน์
เมล็ดเต่งเหลืองใส ใบธงเขียว เมล็ดเต็มรวง เนื้อแน่นได้น้ำหนัก เสริมประสิทธิภาพ ป้องกันรักษาโรค

ระยะสะสมแป้ง(95-105 วัน)

แซมวิก้า 20 ซี.ซี.
อะไรส์ 10 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
แพ็คคู่(แซมวิก้า, อะไรส์) โดยใช้แซมวิก้า 20 ซี.ซี. และ อะไรส์ 10 ซี.ซี.

คุณประโยชน์
เมล็ดเต่งเหลืองใส ใบธงเขียว เมล็ดเต็มรวง เนื้อแน่นได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ความชื้นน้อย

ทุกอัตราผสมน้ำ 20 ลิตร

ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

แพ็คคู่(เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ)

เสริมประสิทธิภาพ ป้องกันรักษาโรค เชื้อราและแบคทีเรีย โรคกาบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบขีดโปร่งแสง โรคใบล้ม โรคคอรวงเน่า โรคเมล็ดด่าง


แพ็คคู่(อะไรส์, แซมวิก้า)

เมล็ดเต่งเหลืองใส ใบธงเขียว เมล็ดเต็มรวง เนื้อแน่นได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ความชื้นน้อย


แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, พรีคัส)

ต้นแข็ง ใบตั้ง แตกกอดี ตั้งท้องสมบูรณ์ คอรวงยาว ทนทุกสภาพอากาศ วัคซีนพืช ป้องกันโรคพืช และต้านทานแมลง

การปลูกและการดูแลรักษาข้าว


การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี สำหรับการทำนาในประเทศไทย มีปัจจัยหลัก 2 ประการ เป็นพื้นฐานของการทำนาและเป็นตัวกำหนดวิธีการปลูกข้าว และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทำนาด้วยหลัก 2 ประการ คือ
1.สภาพพื้นที่ (ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำ)และภูมิอากาศ
2.สภาพน้ำสำหรับการทำนา ฤดูทำนาปีในประเทศไทย ปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรัง สามารถทำได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้

การเตรียมดิน
ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
1.การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
2.การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ ในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว
3.การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ

วิธีการปลูก
การปลูกข้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง ได้แก่ การทำนาหยอดและนาหว่าน และ การเพาะเมล็ดในที่หนึ่งก่อน แล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในที่อื่นๆ ได้แก่ การทำนาดำ
การทำนาหยอด ใช้กับการปลูกข้าวไร่ตามเชิงเขาหรือในที่สูง วิธีการปลูก หลังการเตรียมดินให้ขุดหลุมหรือทำร่อง แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมหรือร่อง จากนั้นกลบหลุมหรือร่อง เมื่อต้นข้าวงอกแล้วต้องดูแลกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช
การทำนาหว่าน ทำในพื้นที่ควบคุมน้ำได้ลำบาก วิธีหว่าน ทำได้ 2 วิธี คือ การหว่านข้าวแห้ง และการหว่านข้าวงอก
1.การหว่านข้าวแห้ง แบ่งตามช่วงระยะเวลาของการหว่านได้ 3 วิธี คือ
-การหว่านหลังขี้ไถ ใช้ในกรณีที่ฝนมาล่าช้าและตกชุก มีเวลาเตรียมดินน้อย จึงมีการไถดะเพียงครั้งเดียวและไถแปรอีกครั้งหนึ่ง แล้วหว่านเมล็ดข้าวลงหลังขี้ไถ เมล็ดพันธุ์อาจเสียหายเพราะหนู และอาจมีวัชพืชในแปลงนามาก
-การหว่านคราดกลบ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด จะทำหลังจากที่ไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วคราดกลบ จะได้ต้นข้าวที่งอกสม่ำเสมอ
-การหว่านไถกลบ มักทำเมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องหว่าน แต่ฝนยังไม่ตกและดินมีความชื้นพอควร หว่านเมล็ดข้าวหลังขี้ไถแล้วไถแปรอีกครั้ง เมล็ดข้าวที่หว่านจะอยู่ลึกและเริ่มงอกโดยอาศัยความชื้นในดิน
2.การหว่านข้าวงอก(หว่านน้ำตม) เป็นการหว่านเมล็ดข้าวที่ถูกเพาะให้รากงอกก่อนที่จะนำไปหว่านในที่ที่มีน้ำท่วมขัง เพราะหากไม่เพาะเมล็ดเสียก่อน เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวอาจเน่าเสียได้ การเพาะข้าวทอดกล้า ทำโดยการเอาเมล็ดข้าวใส่กระบุง ไปแช่น้ำเพื่อให้เมล็ดที่มีน้ำหนักเบาหรือลีบลอยขึ้นมาแล้วคัดทิ้ง แล้วนำเมล็ดถ่ายลงในกระบุงที่มีหญ้าแห้งกรุไว้ หมั่นรดน้ำเรื่อยไป อย่าให้ข้าวแตกหน่อ แล้วนำไปหว่านในที่นาที่เตรียมดินไว้แล้ว
การทำนาดำเป็นการปลูกข้าวโดยเพาะเมล็ดให้งอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง แล้วย้ายไป ปลูกในที่หนึ่ง สามารถควบคุมระดับน้ำ วัชพืชได้ การทำนาดำแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ
1. การตกกล้า เพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3-5 มิลลิเมตร นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และจะสามารถถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20-30 วัน
2. การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงปักดำ ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่มปักดำระยะห่าง เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ

การดูแลรักษา
โดยธรรมชาติแล้วดินนาจะมีแร่ธาตุอาหารพืชต่ำกว่าดินสำหรับปลูกพืชอื่น ๆ ทั่วไป ข้าวต้องการธาตุโพแทสเซียมในปริมาณสูง แต่เนื่องจากดินนาส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นดินเหนียวและดินร่วน ซึ่งมักมีธาตุโพแทสเซียมเพียงพอแก่ความต้องการของข้าว ยกเว้นดินส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ บางแห่งที่เป็นดินปนทราย ซึ่งจะขาดแคลนธาตุโพแทสเซียม จึงต้องพิจารณาใส่ธาตุอาหารนี้ในดินดังกล่าวนี้ด้วย เกษตรกรในปัจจุบันรู้จักใช้ปุ๋ยเคมีแทนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากสะดวกและให้ผลเร็ว แต่ส่วนใหญ่จะใส่ในปริมาณต่ำ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรเป็นข้อจำกัดที่สำคัญ อย่างไรก็ตามทางราชการได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีดังตัวอย่างต่อไปนี้คือ แบ่งการใส่ปุ๋ยออกเป็นสองครั้ง
ครั้งที่1 ใส่ก่อนปักดำ 1 วัน หรือใส่วันปักดำหรือหลังจากปักดำประมาณ 15 วัน เมื่อข้าวตั้งตัวได้แล้ว
ครั้งที่2 ใส่หลังปักดำแล้วประมาณ 35-45 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวเริ่มสร้างช่อดอกอ่อน (ประมาณ 30 วันก่อนออกดอก) เป็นการใส่ปุ๋ยแต่งหน้า ส่วนชนิดของปุ๋ยอัตราที่ใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน วิธีปลูกและประเภทของพันธุ์ข้าว เช่น ข้าวนาดำพันธุ์ข้าวประเภทไวต่อช่วงแสงในสภาพดินเหนียว
ครั้งที่1 ใช้ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 18-20-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ไร่
ครั้งที่2 ใช้ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต (20%N) อัตรา 15-30 กิโลกรัม/ไร่ หรือปุ๋ยยูเรีย (45%N) อัตรา 7-15 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง (นาปรัง) จะใช้อัตราปุ๋ยที่สูงกว่า

การกำจัดวัชพืช
การป้องกันกำจัดวัชพืชสามารถจะทำได้หลายวิธี การเขตกรรม เช่น การไถ การคราดกำจัดด้วยมือจนถึงการใช้สารเคมีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของเกษตรกร การป้องกันกำจัดสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนปลูกเป็นต้นไป โดยที่อาจจะใช้หลักการต่อไปนี้
1.การใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมและเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ พันธุ์พื้นเมืองที่มีลักษณะต้นสูง ใบปรก รากหยั่งลงในแนวนอนจะแข่งขันกับวัชพืชได้ดีกว่าพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุง ซึ่งมีลักษณะใบตั้ง ต้นเตี้ยและรากหยั่งลงในแนวดิ่ง เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงมีความสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ดี อีกอย่างหนึ่งเมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเมล็ดวัชพืชเจือปนก็จะเป็นการลดปัญหาวัชพืชได้ตั้งแต่ต้น
2.การเตรียมแปลงปลูก การไถดะเป็นการพลิกดินชั้นล่างขึ้นด้านบนและดินด้านบนลงล่าง ส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชที่อยู่ใต้ผิวดินเมื่อมีความชื้นเพียงพอก็จะงอก เมื่อไถครั้งที่สอง (ไถแปร) ในขณะที่วัชพืชเริ่มงอกจะช่วยทำลายวัชพืชไปด้วยส่วนหนึ่ง บางรายพบว่า การไถครั้งที่สองจะลดปริมาณวัชพืชถึงเกินครึ่งถึงเกือบหมด (ขึ้นอยู่กับชนิดของวัชพืชด้วย) ส่วนขั้นตอนการคราดนั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อเก็บซากวัชพืชออกจากแปลงอยู่แล้วทั้งยังช่วยให้ดินร่วนซุยข้าวเจริญเติบโตดีสู้วัชพืชที่จะขึ้นมาภายหลังได้อีก ดังได้กล่าวมาแล้วว่าการปรับระดับพื้นที่ปลูกข้าวเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง หากปรับไม่ได้สม่ำเสมอจะทำให้เกิดปัญหาวัชพืชในบริเวณที่ดอนกว่าและยังเป็นที่อยู่อาศัยของหนูอีกด้วย ถ้าหากเกษตรกรสามารถจะพิถีพิถันในเรื่องเหล่านี้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาวัชพืชและศัตรูพืชอื่น ๆ ได้ดีวิธีหนึ่ง
3.อัตราปลูกหรือความหนาแน่นของต้นข้าว การปลูกด้วยอัตราที่มีความหนาแน่นสูงก็จะช่วยป้องกันกำจัดวัชพืชได้ เนื่องจากต้นกล้าจะลดช่องว่างที่จะให้วัชพืชขึ้นนั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่แน่นเกินไปจนต้นข้าวเกิดสภาพแก่งแย่งปัจจัยการเจริญเติบโตกันเอง จากการทดลองพบว่าเมื่อใช้เมล็ดพันธุ์ 18 กิโลกรัม/ไร่ ในนาหว่าน (อัตราปกติประมาณ 10 กิโลกรัม/ไร่) และนาดำอัตราปักดำ 25x25 เซนติเมตร จะลดปัญหาวัชพืชและมีผลผลิตสูงสุด

ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคข้าว


โรคใบจุดสีน้ำตาล

ricepat1

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Helminthosporium oryzae Breda de Haan.
ลักษณะอาการ แผลที่ใบข้าว พบมากในระยะแตกกอ มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลม หรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1-2 x 4-10 มิลลิเมตร บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจาย ทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก(โรคเมล็ดด่าง) บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสี ข้าวสารจะหักง่าย
การแพร่ระบาด
เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ด
การป้องกันกำจัด
1.ปรับปรุงดินโดยการไถกลบฟาง หรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินโดยการปลูกพืชที่ใช้เป็นปุ๋ยสด หรือปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค
2.คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
3.ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ไร่ ช่วยให้ข้าวเป็นโรคน้อยลง
4.กำจัดวัชพืชในนา ทำแปลงให้สะอาด และใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม
5.ถ้าพบอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาลรุนแรงทั่วไป 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ในระยะข้าวแตกกอ หรือในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง เมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาล ที่ใบธงในสภาพฝนตกต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดโรคเมล็ดด่าง ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา


โรคใบขีดสีน้ำตาล

ricepat2

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Cercospora oryzae I. Miyake
ลักษณะอาการ ลักษณะแผลที่ใบมีสีน้ำตาลเป็นขีดๆ ขนานไปกับเส้นใบข้าว มักพบในระยะข้าวแตกกอ แผลไม่กว้าง ตรงกลางเล็กและไม่มีรอยช้ำที่แผล ต่อมาแผลจะขยายมาติดกัน แผลจะมีมากตามใบล่างและปลายใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตายจากปลายใบก่อน ต้นข้าวที่เป็นโรครุนแรงจะมีแผลสีน้ำตาลที่ข้อต่อใบได้เช่นกัน เชื้อนี้สามารถเข้าทำลายคอรวง ทำให้คอรวงเน่าและหักพับได้
การแพร่ระบาด
สปอร์ของเชื้อราสามารถปลิวไปกับลม และติดไปกับเมล็ด
การป้องกันกำจัด
1.ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมเฉพาะท้องที่ เช่น ภาคใต้ใช้พันธุ์แก่นจันทร์ ดอกพะยอม
2.ใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
3.กรณีที่เกิดการระบาดของโรครุนแรงในระยะข้าวตั้งท้อง อาจใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา ตามอัตราที่ระบุุ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเมล็ดด่าง


โรคกาบใบแห้ง

ricepat3

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani
ลักษณะอาการ เริ่มพบโรคในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ปรากฏตามกาบใบ ตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมากมาย
การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์ อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดินนา และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูการทำนา
การป้องกันกำจัด
1.หลังเก็บเกี่ยวข้าว และเริ่มฤดูใหม่ ควรพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุโรค
2.กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อลดโอกาสการฟักตัวและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราสาเหตุโรค
3.ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา ตามอัตราที่ระบุโดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรานี้ในบริเวณที่เริ่มพบโรคระบาด ไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลง เพราะโรคกาบใบแห้งจะเกิดเป็นหย่อม


โรคใบหงิก(โรคจู๋)

ricepat4

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV)
ลักษณะอาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ย ไม่พุ่งสูงเท่าที่ควร ใบสีเขียวเข้ม แคบและสั้น ใบใหม่แตกช้ากว่าปกติ และเมื่อแตกพุ่งขึ้นมาไม่ค่อยสมบูรณ์ ปลายใบบิดเป็นเกลียว เป็นลักษณะเด่นที่เรียกว่า โรคใบหงิก นอกจากนี้ยังสังเกตเห็นขอบใบแหว่งวิ่นและเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบข้าวที่เป็นโรคออกรวงล่าช้าและให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่ เมล็ดด่างเสียคุณภาพเป็นส่วนมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 30-70 เปอร์เซ็นต์ และถ้ามีโรคแทรกเข้าซ้ำเติม เช่น โรคเมล็ดด่างและโรคใบขีดสีน้ำตาล ซึ่งทั้งสองโรคนี้มักพบเสมอกับข้าวที่เป็นโรคใบหงิก อาจทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 100 เปอร์เซ็นต์
การแพร่ระบาด
การแพร่ระบาดสามารถถ่ายทอดโรคได้โดยแมลงพาหะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเชื้อไวรัสคงอยู่ในตอซัง และหญ้าบางชนิด
การป้องกันกำจัด
1.กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่ อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ
2.ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
3.ในแหล่งที่มีการระบาด และควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์ จนถึงระยะตั้งท้องควบคุม น้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยได้

ที่มา :   กรมการข้าว

การนำไปใช้ประโยชน์


ในปัจจุบันการผลิตและการส่งออกข้าวต้องประสบปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา และการแข่งขันจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว นับเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือเกษตรกร โดยช่วยเพิ่มความต้องการข้าว เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวนานาชนิด เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตข้าว ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออก และนำมาซึ่งรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

ผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวที่สำคัญในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ดังนี้
1.ผลิตภัณฑ์จากข้าว
-ผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าว เช่น แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า แป้งบริสุทธิ์ แป้งดัดแปร
-ผลิตภัณฑ์เส้นและแผ่น เช่น แป้งแผ่น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก เส้นจันทร์ ขนมจีน เกี้ยมอี๋
-การใช้แป้งข้าวเจ้าทดแทนแป้งสาลี เช่น แป้งข้าวโม่แห้ง แป้งข้าวโม่น้ำ
-ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดข้าว เช่น ข้าวกึ่งสำเร็จรูป ข้าวบรรจุกระป๋อง

2.ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป
-ข้าวกึ่งสำเร็จรูป เช่น ข้าวต้มกึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
-ข้าวบรรจุซอง
-อาหารประเภทพองกรอบ เช่น ข้าวเกรียบว่าว
-ขนมประเภทพองกรอบ
-อาหารเช้า
-เครื่องดื่มจากข้าวประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น น้ำนมข้าวหรือข้าวยาคู เครื่องดื่มน้ำข้าวและข้าวกล้อง
-อาหารประเภทหมักดอง เช่น ขนมถ้วยฟู ขนมตาล ข้าวหมาก ไวน์ข้าว น้ำส้มสายชูจากข้าว
-เครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์
-ขนมหวานที่ทำจากข้าว

3.ผลิตภัณฑ์จากส่วนอื่นของข้าว
-ผลิตภัณฑ์จากรำข้าว เช่น น้ำมันรำข้าว ไขข้าว ส่วนผสมในอาหารเด็กอ่อน อาหารสัตว์
-การใช้ประโยชน์จากแกลบ เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงาน ใช้เป็นวัสดุการเกษตร ใช้สกัดสารซิลิก้า
-การใช้ประโยชน์จากฟางข้าว เช่น ใช้เป็นวัสดุการเกษตร ใช้ปรับปรุงดิน ใช้ทำกระดาษ ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน ใช้ผลิตสารให้ความหวาน ไซลิทอล (Xylitol) ใช้ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อเป็นพลังงานทดแทน


ที่มา:   กรมการข้าว