เทคนิคการเพิ่มผลผลิตหอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม หอมแบ่ง

หัวใหญ่สม่ำเสมอ หัวแน่น ได้น้ำหนัก
ผลผลิตต่อไร่สูง วัคซีนพืช
เสริมประสิทธิภาพป้องกันโรคพืช
และต้านทานแมลง หมดปัญหาโรคใบจุดสีม่วง
โรคใบไหม้ โรคหอมเลื้อย


อย่างละ 20 ซี.ซี. 5 ซี.ซี.

10 กรัม
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, โปร-ซีบีเอ็น) อย่างละ 20 ซี.ซี., เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง
คุณประโยชน์
เพิ่มการแบ่งเซลล์ พืชเจริญเติบโตดี ช่วยให้พืชแข็งแรง หาอาหารได้ดี ป้องกันโรคหอมเลื้อยหรือโรคแอนแทรคโนส วัคซีนพืช ป้องกันโรคพืช และป้องกันแมลง


อย่างละ 20 ซี.ซี. 5 ซี.ซี.

10 กรัม
อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, โปร-ซีบีเอ็น) อย่างละ 20 ซี.ซี., เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง
คุณประโยชน์
เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ต้นแข็ง ใบตั้ง ต้นแข็งแรง สมบูรณ์ หมดปัญหาโรคใบจุดสีม่วง โรคใบไหม้ โรคหอมเลื้อย วัคซีนพืช ป้องกันโรคพืช และต้านทานแมลง


20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.
อัตราและวิธีการใช้
ใช้ทูเบอร์ก้า 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง
คุณประโยชน์
ช่วยการลงหัว ทำให้พืชลงหัวได้ดีขึ้น ไม่รัดต้น เพิ่มขนาดหัว หัวใหญ่สม่ำเสมอ ผลผลิตต่อไร่สูง ไม่มีสารตกค้าง หมดปัญหาโรคใบจุดสีม่วง โรคใบไหม้ โรคหอมเลื้อย


อย่างละ 20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.
อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
คุณประโยชน์
หัวใหญ่สม่ำเสมอ ทรงสวย ผิวสวย ไส้ไม่กลวง หัวไม่แตก หัวแน่น ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ปลอดภัย ไม่มีสารอันตราย ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต
ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

ต้นแข็ง ใบตั้ง ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง เขียวนวลสมบูรณ์ เขียวทน เขียวนาน หมดปัญหาโรคใบจุดสีม่วง โรคใบไหม้ โรคหอมเลื้อย วัคซีนพืช ป้องกันโรคพืช และต้านทานแมลง

นวัตกรรมเคมีเกษตรพืชยุคใหม่ สูตรประจุบวกรุนแรง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคเชื้อราทุกชนิด ประสิทธิภาพสูง สามารถหยุดการลุกลามของเชื้อโรคทันที ใช้ปริมาณน้อย ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต


สูตรประจุบวกรุนแรง ผสมผสานกรดไขมัน สูตรความเข้มข้นสูง หมดปัญหาโรคหอมเลื้อย โรคใบจุดสีม่วง โรคใบไหม้ โรคเน่าเละ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราทุกชนิดและโรคเชื้อแบคทีเรียทุกชนิดคุ้มครองให้ต้นหอมปราศจากเชื้อโรคทุกชนิดอย่างยาวนาน


หัวใหญ่สม่ำเสมอ หัวแน่นได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง

ช่วยการลงหัว ทำให้พืชลงหัวได้ดีขึ้น เพิ่มขนาดหัว ไม่รัดต้น หัวใหญ่สม่ำเสมอ ผลผลิตต่อไร่สูง ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต

สารอินทรีย์ปรับปรุงสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ช่วยการแตกราก รากขาว รากยาว รากเยอะ ปลดปล่อยปุ๋ย และเคลื่อนย้ายปุ๋ยไปยังส่วนที่พืชต้องการ กินปุ๋ยดี ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย เสริมฤทธิ์ยาคุม-หญ้า คุมหญ้าได้นานขึ้น
การปลูกและการดูแลรักษาหอมแดง
หอมแดง เป็นพืชเพื่อเก็บหัว ออกดอกในช่วงฤดูหนาว ปลูกกันมากทางภาคเหนือ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่โดยธรรมชาติแล้ว หอมแดงชอบอากาศเย็น และกลางวันสั้น คือ ต้องการแสงแดดเพียง 9-10 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นหากปลูกในฤดูหนาว หอมแดงจะมีการ เจริญเติบโตดี แตกกอให้จำนวนหัวมาก และมีขนาดหัวใหญ่ แต่หอมแดงที่ปลูกในฤดูหนาวนี้จะ มีอายุการเก็บเกี่ยวนานกว่าหอมแดงที่ปลูกในฤดูอื่น เช่น ในฤดูหนาวทางภาคเหนือ หอมแดง จะแก่จัดเก็บเกี่ยวได้ช่วงอายุ 90-110 วัน หากปลูกในฤดูฝนจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงอายุ 45-60 วัน
การเตรียมดิน
-ไถดินกลับไปมา 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งให้ตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ดินแห้ง ง่ายต่อการพรวนและย่อยดิน
-พรวนดินและย่อยดินให้เป็นก้อนขนาดเล็ก ไม่ควรย่อยละเอียดจนเป็นผง เพราะจะทำให้ดินแน่นน้ำซึมลงได้ยาก
-ยกร่องให้สูงประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำฝนที่อาจจะตกลงมาท่วมได้
-ควรเว้นระยะระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร สำหรับใช้เป็นทางเดินเข้าไปปฏิบัติดูแลรักษาและกำจัดวัชพืช
ระยะปลูก
นิยมปลูกเป็นแปลงขนาดกว้าง 1x1.5 เมตร ความยาวของแปลง ประมาณตามความสะดวกในการปฎิบัติงาน ควรปลูกเป็นแถว ระยะปลูก 15x20 เซนติเมตร หรือ 20x20 เซนติเมตร
วิธีการปลูก
ทำได้ 2 แบบ
1.แบบมีเพศ คือ ใช้เมล็ดหอมแดงที่แก่จัด แห้งสนิท และเก็บรักษาให้ฟักตัวอยู่ระยะหนึ่ง มาทำการเพาะโดยหว่านหรือโรยเป็นแถว คอยดูแล เลี้ยงดูต้นกล้าหอมที่งอกจากเมล็ด รดน้ำเช้าเย็นทุกวัน จนได้ขนาดลำต้น 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปปลูกลงแปลงที่เตรียมไว้ ต้นกล้าหอมแดงอายุประมาณ 40-50 วัน จึงย้ายปลูกได้
2.แบบไม่มีเพศ เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปลูกกันทั่วไป โดยใช้หัวหอมแดงที่แก่จัด แห้งสนิท เก็บรักษาไว้อย่างน้อย 2 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งหัวหอมที่เก็บไว้นี้จะเริ่มมีบางหัวแทงหัวอ่อน ใบอ่อน ปกติหอมแดงจะงอกหมดแม้ไม่ลงดิน เมื่อเก็บรักษาไว้ไม่เกิน 6 เดือน
ก่อนปลูกควรรดน้ำแปลงปลูกให้ดินชุ่มชื้นไว้ล่วงหน้า นำหัวหอมพันธุ์มาปลูกลงในแปลง โดยเอาส่วนโคนหรือที่เคยเป็นที่ออกรากเก่าจิ้มลงไปในดินประมาณครึ่งหัว ระวังอย่ากดแรงนัก จะทำให้ลำต้นหรือหัวช้ำจะทำให้ไม่งอกหรืองอกรากช้า เมื่อปลูกทั่วทั้งแปลง ให้คลุมด้วยฟาง หรือแกลบหนาพอสมควร เป็นการรักษาความชุ่มชื้นและคุมวัชพืช จากนั้นรดน้ำ ให้ชุ่ม ๆ ต้นหอมจะงอกออกมาภายใน 7-10 วัน หากหัวใดไม่งอก ให้ทำการปลูกซ่อมทันที
การดูแลรักษา
-เมื่ออายุ 14 วัน หลังจากปลูก ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่
-เมื่ออายุ 35-40 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 15 -15 -15 ในอัตรา 20-50 กิโลกรัม/ไร่
การใส่ปุ๋ยใช้วิธีโรยห่าง ๆ ต้นห่างจากต้นราว 7 เซนติเมตรหรือใช้วิธีโรยให้ทั่วแปลงก็ได้ หลังจากให้ปุ๋ย ให้เอาน้ำรดหรือเอาน้ำเข้าแปลงให้ชุ่ม
การกำจัดวัชพืช
ควรกำจัดวัชพืชบ่อย ๆ เมื่อวัชพืชยังเล็ก หากโตแล้วจะทำการกำจัดยาก และจะกระทบกระเทือนรากหอมแดงได้มาก ปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากขึ้นเพราะประหยัดแรงงาน
ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร
โรคหอมแดง
โรคหอมเลื้อย

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides
ลักษณะอาการ
โรคหอมเลื้อย เป็นลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงอาการเลื้อยไม่ลงหัวของหอม มีลักษณะแคระแกร็นไม่ลงหัว หัวลีบยาว บิดโค้งงอ ใบบิดเป็นเกลียว ส่วนคอมักยืดยาว มีระบบรากสั้นกว่าปกติทำให้รากขาดหลุดจากดินได้ง่าย จึงเกิดการเน่าก่อนถึงเวลาเก็บเกี่ยว หรือเน่าหลังเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็ว บนต้นพืชที่เป็นโรค มักพบแผลเป็นรูปรี เนื้อเยื่อของแผลยุบตัวต่ำกว่าระดับเดิมเล็กน้อย บนแผลจะพบกลุ่มสปอร์ของเชื้อราเป็นของเหลวข้นสีส้มอมชมพู ซึ่งเมื่อแห้งแล้วจะกลายเป็นตุ่มสีดำเล็ก ๆ เรียงซ้อนกันเป็นวงหลายชั้น ที่บริเวณใบ โคนกาบ ใบ คอ หรือส่วนหัว เกิดร่วมกับอาการแคระแกร็น เลื้อยไม่ลงหัวเสมอ
การแพร่ระบาด ระบาดรุนแรงในฤดูฝน หรือภายหลังฝนตกในฤดูหนาว
การป้องกันกำจัด
1.ก่อนปลูกหอมทุกครั้งควรปรับปรุงดินด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก เพื่อฟื้นฟูสภาพของดินให้ดีขึ้น
ปูนขาวควรใส่ก่อนปลูก 1-2 สัปดาห์
2.ควรเก็บชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลายทุกครั้ง เพื่อลดแหล่งแพร่กระจายของโรค
3.พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช
โรคเน่าเละ

สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora
ลักษณะอาการ หัวมีลักษณะนิ่มภายใน เมื่อผ่าออกจะพบเนื้อเยื่อตรงกลางหัวเน่าช้ำ มีกลิ่นเหม็น ต่อมาจะเน่าเละทั้งหัว
การแพร่ระบาด โรคเน่าเละนี้จะเกิดการระบาดทำความเสียหายรุนแรงในฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง หากเกิดการติดเชื้อในช่วงที่มีฝนตกพรำๆหลายวันติดต่อกัน แสงแดดน้อย ครึ้มฟ้าครึ้มฝน โรคนี้จะลุกลามออกไปอย่างรุนแรง
การป้องกันกำจัด
1.ถ้าพบโรคในแปลง ต้องเก็บต้นเป็นโรคออกแล้วนำไปเผา และราดสารเคมีป้องกัน
กำจัดบริเวณที่เกิดโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
2.เก็บหอมในระยะแก่จัด ผึ่งให้แห้งก่อนเก็บรักษาในที่ร่มเย็น และมีอากาศถ่ายเทดี
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
การนำไปใช้ประโยชน์
หอมแดงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยอีกชนิดหนึ่ง โดยปัจจุบันมีการนำเอาหอมแดงไปใช้แต่งกลิ่นอาหารคาวหลายชนิด เป็นส่วนผสมในเครื่องแกง น้ำพริก ต้มยำ และอาหารประเภท ยำ ลาบ ต่างๆ ใช้ทำหอมเจียวโรยหน้า อาหารให้มีกลิ่นหอม รวมถึงประกอบอาหารหวาน เช่น หม้อแกง เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปหอมแดง เช่น
-หอมแดงเจียว
-หอมแดงป่น
-หอมแดงอบแห้ง
ที่มา : ศูนย์บริการข้อมูลการลงทุน