เทคนิคการเพิ่มผลผลิต สตรอว์เบอร์รี

ผลใหญ่สม่ำเสมอ รูปทรงสวย ผิวสวย
เนื้อแน่นสีเข้ม ขยายขนาดผล เพิ่มน้ำหนัก
วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา
ไวรัสและแบคทีเรีย


10 กรัม
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

อย่างละ 20 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
เสริมสร้างการแตกราก เพิ่มจำนวนไหล ไหลสมบูรณ์ แข็งแรง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา ไวรัส และ แบคทีเรีย


อย่างละ 20 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

10 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา ไวรัส และ แบคทีเรีย


อย่างละ 20 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
หยุดต้น ลดการบ้าใบ เพิ่มเปอร์เซ็นต์การออกดอก ออกดอกดก ชุดดอกสมบูรณ์ ออกดอกต่อเนื่อง ติดผลดี


อย่างละ 20 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
ผลใหญ่สม่ำเสมอ รูปทรงสวย ผิวสวย เนื้อแน่นสีเข้ม ขยายขนาดผล เพิ่มน้ำหนัก
ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

แคลเซียม โบรอน อะมิโนแอซิดคีเลท ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ป้องกันโรคต้นเตี้ย แคระแกร็น วัคซีนพืช สร้างภูมิคุ้มกันโรคไวรัส และ แบคทีเรีย



หมดปัญหาโรคราแป้ง โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเชื้อรา และ เเบคทีเรียทุกชนิด ปลอดภัย ไม่มีสารเคมีตกค้าง



หมดปัญหาโรครากเน่า โคนเน่า,ผลเน่า โรคไหลดำ โรคแอนแทรกโนส ใบสีม่วง โรคเชื้อรา และ โรคแบคทีเรียทุกชนิด





หยุดต้น ลดการบ้าใบ เพิ่มเปอร์เซ็นต์การออกดอก ออกดอกดก ชุดดอกสมบูรณ์ ออกดอกต่อเนื่อง ติดผลดี

ผลใหญ่สม่ำเสมอ รูปทรงสวย ผิวสวย ไส้ไม่กลวง ขั้วผลยาว เนื้อแน่นสีเข้ม ได้น้ำหนัก ขยายผลจัมโบ้ เก็บผลผลิตได้นานหลายรุ่น ผลผลิตต่อไร่สูง

เสริมสร้างการแตกราก ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ล้างความเค็มจากเม็ดปุ๋ย นำสารอาหารไปยังส่วนที่พืชต้องการ
การปลูกและการดูแลรักษา สตรอว์เบอร์รี
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
อุณหภูมิ อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสตรอเบอรี่คืออุณหภูมิกลางวัน 24c กลางคืน 18c หรืออุณหภูมิเฉลี่ยอยูที่ 17c – 20c
แสง ความเข้มแสงที่เหมาะสมคือมากกวา 4000 แรงเทียน ในด้านช่วงแสงที่เหมาะสมคือ 8 ชั่วโมงตอวัน
ดิน ดินที่ใช้ปลูกสตรอเบอรี่ควรเปนดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ําดี มีความเป็นกรดเล็กนอย pH ประมาณ 5.5 – 6.5 ความลึกของหนาดินอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
การปลูกและการดูแลรักษา
การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต
การเตรียมแปลงปลูก การปลูกควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ ที่เคยปลูกพืชตะกูลพริกและแตงมาก่อนรวมทั้งพืชบาง ชนิดเช่นมะเขือ และมันฝรั่ง ซึ่งพืชเหลานี้เป็นแหล่งสะสมไวรัส หรือถ้ามีการปลูกพืชตระกูลดังกล่าวควรเป็นพื้นที่ ที่หยุดการปลูกมาแลว3ปี ซึ่งก่อนเตรียมแปลงปลูกในเดือนเมษายน จะมีการปลูกพืชตระกูลถั่วบํารุงดิน ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ใช้ถั่วพุมดําเนื่องจากมีความตองการน้้าน้อย เมื่อถึงเดือนมิถุนายนถั่วจะออกดอกจึงทํา การไถกลบ ในเดือนกรกฎาคมจึงทําการเตรียมแปลงปลูกโดยหว่านปูนขาวอัตรา 60-8- กิโลกรัมตอไร่ เพื่อปรับ สภาพดิน (ทั้งนี้ขึ้นอยูกับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน) พร้อมไถดะ ไถแปร เพื่อพลิกดิน พึ่งดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกําจัดศัตรูสตรอเบอรี่และวัชพืช หลังจากนั้นจึงนําปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา ในอัตรา 2-2.5 ตันต่อไร่ คลุกลงในดินลึก2-3 นิ้ว ก่อนขึ้นแปลงปลูก เตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องให้ฐานกว้าง ประมาณ 60-75 เซนติเมตร สูงประมาณ 25- 30 เซนติเมตร สันแปลงกว้างประมาณ 45-50 เซนติเมตร
การคลุมแปลง เนื่องจากสตรอเบอรี่มีระบบรากตื้น พืชจะเหี่ยวได้ง่ายเมื่อหนาดินขาดความชื้นจําเป็นต้อง คลุมแปลงปลูกดวยวัสดุ เพื่อป้องกันหนาดินแห้งและรักษาความชุ่มชื้นในดิน ควบคุมวัชพืช ลดการระบาดของโรค ทางใบ รวมทั้งป้องกันไม่ให้ผลสตรอเบอรี่เกิดการเสียหายเนื่องจากสัมผัสกับดิน โดยทําการคลุมกอนปลูกหรือหลัง ปลูกได้ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งวัสดุคลุมแปลงแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้
1. ฟางข้าว หาง่ายในท้องถิ่น ราคาถูกแต่มักย่อยสลายได้เร็วต้องคอยใสฟางข้าวเพิ่มเติมหลังปลูก และมักพบบ่อยว่าผลผลิตเน่าเสียช้ําง่ายเนื่องจากฟางขาวหลงติดไปกับผลสตรอเบอรี่ ทําความสะอาดยากซึ่งเปนปัญหากับ การส่งออก
2.ใบตองตึงหรือใบตองเหียงที่ทําเป็นตับเช่นเดียวกับที่ใช้มุงหลังคาเป็นวัสดุคลุมแปลงที่นิยมใช้ มีอายุคงทน กว่าฟางข้าว โดยนํามาคลุมทั้งสองด้านของแปลง ชิดกับต้นที่ปลูกเป็นแถว จะที่ว่างสําหรับใหน้ําให้ปุ๋ยได้ แล้วใช้ไม้ ไผ่ตอกประกับตามแนวยาวเพื่อยึดใบตองตึงกับพื้นดิน
3. พลาสติก มีหลายประเภทเช่นพลาสติกสีเงิน-ดํา มีลักษณะคือด้านหนึ่งสีดํา อีกด้านสีเงิน โดยเวลาคลุม ต้องเอาด้านสีเงินหันขึ้น เนื่องจากสามารถไล่พวกเพลี้ยไฟต่างๆได้ดี สามารถคลุมวัชพืชได้บางชนิด สําหรับพลาสติก สีดําไม่ควรใช้อย่างยิ่ง เนื่องจากดูดความร้อนทําให้อุณหภูมิดินใต้พลาสติกสูงเป็นอันตรายต่อระบบราก อีกทั้งผลของ สตรอเบอรี่ที่สัมผัสกับพลาสติกดําที่ร้อนจัดจะเสียหายเป็นรอยตําหนิ นอกจากนี้พลาสติกมีราคาแพงทําให้ต้นทุน การผลิตสูง
วิธีการปลูก
ใช้ระยปลูก ระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 30-40 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ปลูกแบบ สลับฟันปลา ใช้ต้นไหลประมาณ 8000 - 10000 ต้นต่อไร โดยนําต้นไหลจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ตรงตาม สายพันธุ์ ซึ่งผลิตบนพื้นที่สูง ลําต้นและรากสมบูรณ์แข็งแรง รากสีขาวหรือสีฟางข้าว ควรมีใบไม่น้อยกวา 3-4 ใบ ปลูกโดยให้ระดับรอยต่อรากและลําต้นของต้นไหลพอดีกับระดับผิวดิน ไม่ตื้นเกินไปเพราะรากจะแห้งเร็ว แต่ถ้า ปลูกลึกเกินไปรากจะเน่า ให้หันขั้วไหลด้านที่เจริญจากตนแม่เข้าหาแปลงเพื่อให้ผลของสตรอเบอรี่ออกมาอยู่ด้าน นอกของแปลงซึ่งผลได้จะรับแสงแดดเต็มที่ทําให้รสชาติดี สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวและลดปัญหาเรื่องโรคของผลได้ หลังปลูกกดดินให้แนน่ อย่าให้มีช้องว้างรอบๆราก
การให้น้ำ
น้ําที่ใช้ต้องได้มาจากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดลอมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อน และในช่วงหลังย้ายปลูกสองสัปดาห์แรกต้องระวังเรื่องการให้น้ำ เนื่องจากสตรอเบอรี่เป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ควรให้น้ําทันทีหลังปลูกเสร็จ เมื่อต้นเติบโตมีระบบรากแข็งแรงให้รดน้ําทุกวันวันละครั้งในกรณีที่ฝนไม่ตก การที่จะทราบว่าควรให้น้ำ มากน้อยเพียงใดนั้นต้องคาดคะเนจากความชื้นของดินอย่างสม่ําเสมอ หากดินแห้งขาดน้ําจะทําให้สตรอเบอรี่ชะงัก การเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพต่ํา ระยะวิกฤตเมื่อสตรอเบอรี่ขาดน้ําจะมีผลกระทบตอผลผลิตคือ ระยะย้าย ต้นกล้าใหม่ ระยะพัฒนาของผล และระยะการเจริญของไหล แต่ถ้าดินชื้นเกินไป มีน้ำขัง รากก็จะเน่า นอกจากนี้การให้น้ำมากเกินไปยังทําให้ลําต้นอวบน้ำ ใบมีขนาดใหญ่ การออกดอกลดลง สีซีด ผลสดนิ่ม เป็นรอยช้ําและเชื้อราเขาทําลายง่าย
การให้ปุ๋ย
ชนิดและปริมาณของปุ๋ยนั้นขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์ดิน ระยะการเจริญเติบโต สภาพอากาศ ระยะปลูก ตลอดจนปริมาณน้ํา โดยหลักปฏิบัติดังนี้ หลังจากย้ายปลูก 7 วันใหปุยสูตร 46-0-0 โดยนํา ปุ๋ยละลายในน้ําในอัตราปุ๋ย 50 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร หลังย้ายปลูก 15 วัน ให้ปุ๋ยสูตรเดิมในอัตรเดิมอีกหนึ่งครั้ง หลังจากย้ายปลูก 21 วันให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 5-10 กรัมต่อต้น เมื่อย้ายปลูกครบ 30 วัน ให้ปุ๋ย สูตร 12-24-12 อัตรา10-12กรัมต่อต้น และช่วงติดผลคือประมาณ 45 วันให้ปุ๋ย13-13-21 ในอัตรา 10 กรัมต่อต้น ฉีดปุ๋ยเกล็ดสูตร 10-20-30 เสริม หลังจากเก็บเกียวผลผลิตชุดแรกให้ฉีดปุ๋ยเกล็ดสูตร 11-45-11 เพื่อกระตุ้นดอกชุดที่สอง และควรฉีดพ่นธาตุอาหารเสริม ได้แก่แคลเซียม แมกนีเซียม และโบรอน เป็นต้น ในอัตราที่ฉลากกําหนดอย่างน้อยเดือนละครั้งตลอดช่วงการปลูก
การดูแลรักษา
หมั่นสํารวจแปลงโดยสํารวจชนิดและปริมาณศัตรูเขาทําลายสตรอเบอรี่ทุก 7-10 วัน ตั้งแต่หลังปลูกจนสิ้นสุดฤดูการปลูก นอกจากนี้ยังต้องหมั่นกําจัดวัชพืชอย่างสม่ําเสมอเนื่องจากเป็นแหล่งสะสมโรค และแมลงที่ทําความเสียหายแก่สตรอเบอรี่ ต้องตัดแต่งใบและลําต้นที่ไม่สมบูรณ์ออกซึ่งแต่ละกอควรมีจํานวนต้น 3-5 ต้น อย่าทิ้งเศษพืชไว้ในแปลงปลูกเพราะเป็นแหล่งสะสมโรค ควรเก็บเศษพืชไปเผาทําลาย หรือฝังดิน ในช่วงออกดอกควรเด็ดดอกที่ไม่สมบูรณ์ออกเพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสูง ไม่ควรให้สตรอเบอรี่แตกกอมากเกินไป อยู่ที่ประมาณ 3 ต้นต่อกอ
การติดดอกออกผล
ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มแทงช่อดอกเมื่ออุณหภูมิเริ่มต่ําลงและช่วงแสงสั้น คือประมาณ หนึ่งเดือนหลังปลูกจะเริ่มแทงช่อดอกชุดแรก ดอกชุดแรกควรเด็ดทิ้งเพื่อให้ธาตุอาหารไปเลี้ยงลําต้น ลําต้นสมบูรณ์เสียกอน โดยลําต้นที่สมบูรณ์จะให้ดอกที่สมบูรณ์และต่อเนื่อง โดยลําต้นที่สมบูรณ์จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อดอกบานจะมีการผสมเกสร ประมาณหนึ่งเดือนหลังเกสรได้รับการผสมผลผลิตจะเริ่มทยอยออก พร้อมให้เก็บเกี่ยวได้
ที่มา : นายคงกฤช อินทแสน นักวิชากการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร