มะเขือเทศ

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมะเขือเทศ มะเขือพวง มะเขือเปราะ มะเขือยาว


ลูกใหญ่สม่ำเสมอ ทรงสวย ผิวสวย เนื้อแน่น ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ออกดอกดก ติดผลดี เก็บได้นานหลายรุ่น หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง

ระยะเพาะกล้า

อย่างละ 10 ซี.ซี.


10 กรัม


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร-ซีบีเอ็น) อย่างละ 10 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน เคลียร์ 5 ซี.ซี. และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่น 1 ครั้ง
 

คุณประโยชน์
เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ต้นกล้าแข็งแรง ใบใหญ่ ใบหนา หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส

ระยะย้ายปลูก-เจริญเติบโต

อย่างละ 20 ซี.ซี.         5 ซี.ซี.


10 กรัม



อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส, โปร-ซีบีเอ็น) อย่างละ 10 ซี.ซี., เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน และ ฮิวโม่-เอฟ65 10 กรัม ฉีดพ่นทุกๆเดือน

 

คุณประโยชน์
เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ต้นกล้าแข็งแรง ใบใหญ่ ใบหนา หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส

ระยะออกดอก-ติดผลอ่อน

อย่างละ 20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้แพ็คคู่(อิมมูน พลัส,โปร-ซีบีเอ็น), สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, พรีคัส, แซมวิก้า) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

 

คุณประโยชน์
ออกดอกดก ช่วยผสมเกสร ติดผลดี ผลอ่อนโตเร็ว ลดปัญหาการหลุดร่วง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส

ระยะขยายขนาดผล-เก็บเกี่ยว

อย่างละ 20 ซี.ซี.

5 ซี.ซี.


อัตราและวิธีการใช้
ใช้สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส) อย่างละ 20 ซี.ซี. และ เคลียร์ 5 ซี.ซี. ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

 

คุณประโยชน์
เพิ่มการสร้างเนื้อ ขยายขนาดผล ลูกใหญ่สม่ำเสมอ ทรงสวย ผิวสวย เนื้อแน่น ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ออกดอกดก ติดผลดี เก็บได้นานหลายรุ่น

ทุกอัตราผสมน้ำ 20 ลิตร ห้ามใส่สารจับใบ


ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

แพ็คคู่(ซิลิซ่า แบล็ค, โปร ซีบีเอ็น), เคลียร์

ต้นสมบูรณ์ ใบใหญ่ ใบหนา ช่วยผสมเกสร หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส

เคลียร์

นวัตกรรมเคมีเกษตรพืชยุคใหม่ สูตรประจุบวกรุนแรง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคเชื้อราทุกชนิด ประสิทธิภาพสูง สามารถหยุดการลุกลามของเชื้อโรคทันที ใช้ปริมาณน้อย ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต


แพ็คคู่(เคลียร์, ออร์กาโน-เอฟ)

สูตรประจุบวกรุนแรง ผสมผสานกรดไขมัน สูตรความเข้มข้นสูง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบจุดวง โรคเหี่ยวเขียว โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคเชื้อราและโรคแบคทีเรียทุกชนิด

สามสหาย(โปร-ซีบีเอ็น, แซมวิก้า, พรีคัส)

ผลอ่อนโตเร็ว ลดปัญหาการหลุดร่วง เพิ่มการสร้างเนื้อ ขยายขนาดผล ลูกใหญ่สม่ำเสมอ ทรงสวย ผิวสวย เนื้อแน่น ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง ต้นสมบูรณ์ ใบใหญ่ ใบเขียวเข้ม ใบมัน ออกดอกดก ติดผลดี เก็บได้นานหลายรุ่น

ฮิวโม่-เอฟ65

สารอินทรีย์ปรับปรุงสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ช่วยการแตกราก รากขาว รากยาว รากเยอะ ปลดปล่อยปุ๋ย และเคลื่อนย้ายปุ๋ยไปยังส่วนที่พืชต้องการ เขียวทน เขียวนาน กินปุ๋ยดี ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย เสริมฤทธิ์ยาคุม-ฆ่าหญ้า ช่วยให้หญ้าตายดีขึ้น

การปลูกและการดูแลรักษามะเขือเทศ


มะเขือเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่ง ซึ่งมีผู้นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลาย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด เป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะวิตามินเอ วิตามีนซี นอกจากเกษตรกรมีการปลูกมะเขือเทศเพื่อขายส่ง เพื่อการบริโภคสดแล้วในปัจจุบันได้มีการผลิตส่งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปในแบบต่างๆ เช่น น้ำมะเขือเทศ และซอสมะเขือเทศเป็นต้น มะเขือเทศเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงในสภาพอากาศเย็นสบาย เช่น ฤดูหนาวมะเขือเทศจะติดผลดี และในฤดูหนาวโรคแมลงรบกวนน้อยกว่าฤดูอื่น ผลผลิตที่ได้รับมีปริมาณมากและคุณภาพดี จึงเหมาะที่จะปลูกส่งเข้าโรงงาน ส่วนฤดูร้อน และฤดูฝนมะเขือเทศจะเจริญเติบโตไม่ดี ผลผลิตต่ำ เนื่องจากมีโรคแมลงรบกวนมาก

การเตรียมดิน
การเตรียมดินสำหรับปลูกมะเขือเทศต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมากดินต้องมีการระบายน้ำดี กำจัดวัชพืชออกให้หมด เพราะวัชพืชนอกจากจะแย่งน้ำ อาหารและแสงแดดแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงอีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากมีการเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นการป้องกันการงอกของวัชพืชไปได้นาน การเตรียมดินควรไถดินให้ลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร ถ้าใช้เครื่องทุ่นแรง หรือรถไถ ควรไถ 2 ครั้ง โดยใช้ผาน 4 และผาน 7 ไถย่อยดินไปมาและ ตากดินให้แห้ง 3-4 อาทิตย์ แล้วย่อยดินให้ละเอียดพอสมควร เพราะมะเขือเทศต้องการสภาพดินที่มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี ถ้าหากดินเป็นกรดให้ใช้ปูนขาวหว่านในอัตราตามที่ได้รับคำแนะนำจากการวิเคราะห์ดินหรือหากไม่ได้ส่งดินไปวิเคราะห์จะหว่านปูนประมาณ 100-300 กิโลกรัมต่อไร่โดยใช้ปูนขาวหว่านและคลุกเคล้ากับดินหรืออาจจะหว่านก่อนการเตรียมดินครั้งสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตามควรใส่ปูนขาวก่อนปลูกประมาณ 2-3 อาทิตย์

ระยะปลูก
แปลงปลูกควรไถพรวนและปรับระดับดินให้เรียบสม่ำเสมอกันแล้วยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 100 เซนติเมตร และเพื่อป้องกันวัชพืชขึ้น รวมทั้งรักษาความชื้นในแปลง ควรคลุมแปลงด้วยผ้าพลาสติกทึบแสงและเจาะรูเฉพาะหลุมปลูกให้ปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างแถว 70 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอกหนึ่งกระป๋องนมต่อหลุม ปุ๋ยสูตร15-15-15 อัตรา 20 กรัมต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงย้ายกล้าลงหลุมปลูกหลุมละ 1-2 ต้น กลบดินให้เสมอระดับผิวดิน อย่าให้เป็นแอ่งหรือเป็นหลุมในช่วงฤดูฝน เพราะจะทำให้น้ำขังและต้นกล้าเน่าตายได้

วิธีการปลูก
ปลูกโดยการเพาะกล้า
การเพาะกล้าทำได้ 3 วิธี คือ
1.กระบะเพาะ นิยมใช้กรณีที่ต้องการต้นกล้าจำนวนไม่มากนัก การเพาะกล้าโดยวิธีนี้จะ สามารถเพาะได้ดี เนื่องจากใช้ดินน้อย สามารถนำดินมาอบฆ่าเชื้อโรคก่อนทำการเพาะได้โดย อบด้วยไอน้ำร้อน หรือตากดินที่จะใช้เพาะให้ดีก่อนประมาณ 3-4 อาทิตย์ หรือเลือกดินที่ปราศจากโรค มาเป็นส่วนผสมโดยสังเกตว่าดินนั้นปลูกพืชแล้วพืชไม่เคยเป็นโรคมาก่อนหรือเป็นดินที่ไม่เคยปลูกพืชมา ก่อนเลยก็ใช้ได้
2.แปลงเพาะ นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าเป็นจำนวนมาก
3.ถาดเพาะกล้า เป็นวิธีเพาะกล้าที่สะดวกและพัฒนาจากวิธีการเพาะกล้าในกระบะเพาะโดย เตรียมเพาะเมล็ดมะเขือเทศลงในถาดเพาะกล้าพลาสติก เมื่อกล้ามีอายุได้ประมาณ 20 วัน จึงเตรียม ย้ายปลูกลงแปลง โดยใช้มือบีบด้านล่างสุดของถาดหลุมต้นกล้าจะหลุดออกมาจากถาดพร้อมดินปลูก ทำให้ต้นกล้ามะเขือเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากนัก

การดูแลรักษา
นอกจากจะใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 รองก้นหลุมก่อนปลูกแล้ว การปลูกมะเขือเทศจำเป็นจะต้องมีปุ๋ยเคมีเสริมด้วย เพื่อให้คุณภาพและผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้น สำหรับปุ๋ยเคมีที่ใช้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินแต่ละพื้นที่ เช่น สภาพดินเหนียว ปุ๋ยเคมีที่ใช้ควรมีไนโตรเจนและ โพแทสเซียมเท่ากัน ส่วนฟอสฟอรัสให้มีอัตราสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรือ 15-30-15 ถ้าเป็นดินร่วน ควรให้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูงขึ้น แต่ไม่สูงกว่าฟอสฟอรัส เช่น สูตร 10-20-15 ส่วนดินทรายเป็นดินที่ไม่ค่อยมีธาตุโพแทสเซียม จึงควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสูงกว่าตัวอื่น เช่น สูตร 15-20-20, 13-13-21 และ 12-12-17 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูจะต้องใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เนื่องจากมะเขือเทศจะต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากในสภาพอุณหภูมิของอากาศสูง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถหาปุ๋ยสูตรดังกล่าวข้างต้นได้ ก็สามารถใช้ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากย้ายปลูก 7 วัน
ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งที่หนึ่ง 15 วัน
ครั้งที่ 3 หลังจากครั้งที่สอง 20 วัน

การกำจัดวัชพืช
-ควรกำจัดขณะวัชพืชยังเล็กเพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลักหรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืช หรือติดไปกับผลผลิต
-เก็บวัชพืชและเศษพืชโดยเฉพาะที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก

ที่มา:   กรมส่งเสริมการเกษตร

โรคมะเขือเทศ


โรคใบไหม้

tomatopat1

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans
ลักษณะอาการ
จะพบปรากฏอยู่บนใบส่วนล่างๆของต้นก่อน โดยเกิดเป็นจุดฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มเหมือนใบถูกน้ำร้อนลวก รอยช้ำนี้จะขยายขนาดออกไปอย่างรวดเร็วทางด้านใต้ใบ โดยเฉพาะขอบๆแผล จะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวอยู่รอบๆรอยช้ำนั้น เมื่อเชื้อเจริญมากขึ้นใบจะแห้ง อาการที่กิ่งและลำต้นเป็นแผลสีดำ อาการบนผลมีรอยช้ำเหมือนถูกน้ำร้อนลวก
การแพร่ระบาด โรคนี้พบระบาดมากทางภาคเหนือของประเทศไทยในฤดูหนาว เพราะสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการเกิดโรค โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-28 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 90 % ในเขตที่อุณหภูมิต่ำและความชื้นต่ำโรคจะไม่ระบาดนอกจากมีฝนโปรยลงมาโรคจะระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็วภายหลังจากที่มีฝน ส่วนของพืชที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะตายภายใน 1 สัปดาห์
การป้องกันกำจัด
1.ถ้าปลูกมะเขือเทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง
2.เมื่อเริ่มพบโรค ควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช


โรคใบจุดวง

tomatopat2

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Alternaria solani
ลักษณะอาการ สังเกตได้จากใบแก่เริ่มจากเป็นจุดเล็กๆสีน้ำตาล แผลค่อนข้างกลมแล้วขยายใหญ่ออกไป การขยายตัวของจุดจะปรากฏรอยการเจริญของแผลเป็นวงสีน้ำตาลซ้อนๆกันออกไป ถ้าเกิดบนกิ่ง ลักษณะแผลรียาวไปตามลำต้น สีน้ำตาลปนดำเป็นวงซ้อนๆกัน ผลแก่ที่เป็นโรคแสดงอาการที่ขั้วผลเป็นแผลสีน้ำตาลดำ และมีลักษณะวงแหวนเหมือนบนใบ
การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ โรคนี้จะเกิดมากในสภาพที่ความชื้นและอุณหภูมิสูง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการระบาดของโรคมาก ๆ จะทำให้อาการจุดวงขยายตัวอย่างรวดเร็วจนต่อเนื่องกันเกิดเป็นอาการใบแห้ง
การป้องกันกำจัด
1.คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดเชื้อสาเหตุที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้
2.ถ้าระบาดในแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด


โรคราแป้ง

tomatopat3

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp.
ลักษณะอาการ อาการที่มองเห็นด้านบนใบจะปรากฏเป็นจุดสีเหลือง จุดเหลืองนี้จะขยายออกและ จำนวนจุดบนใบจะมีมากขึ้นเมื่อโรคระบาดรุนแรงขึ้น จนบางครั้งมองเห็นเป็นปื้นสีเหลืองด้านบนใบ ตรงกลางปื้นเหลืองนี้อาจจะมีสีน้ำตาล ต่อมาใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทางด้านใต้ใบตรงบริเวณที่แสดงอาการปื้นเหลือง จะมีผงละเอียดคล้ายผงแป้งเกาะอยู่บางๆ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลือง จากส่วนล่างของต้นไปยังส่วนบนและใบที่เหลืองนี้จะร่วงหลุดไป ในสภาพอากาศเย็นบางครั้งจะพบผงสีขาวเกิดขึ้นบนใบได้และลุกลามไปเกิดที่กิ่งได้
การแพร่ระบาด โรคนี้มักพบในระยะเก็บผลผลิต ทำให้ต้นโทรมเร็วกว่าปกติ
การป้องกันกำจัด
1.ลดความชื้นบริเวณโคนต้นหรือในทรงพุ่ม โดยการตัดแต่งกิ่ง
2.กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุ เช่น น้ำนมราชสีห์ และหญ้ายาง
3.เมื่อพบโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด

ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร

การนำไปใช้ประโยชน์

เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่เก็บผลได้ไม่นานนัก การแปรรูปจึงมีความสำคัญต่อการบริโภค การแปรรูปทำได้หลายชนิด เช่น การทำแยมมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ ซอส ทอฟฟี่มะเขือเทศ หรือ นำไปทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น การแปรรูป ควรเลือกต้นมะเขือเทศที่มีผลเจริญเติบโตเต็มที่และปราศจากโรคและแมลง ผลสุกแดงคาต้น นำมาแกะเอาเมล็ดออก ใช้เฉพาะเนื้อมะเขือเทศนำมาแปรรูป แต่มีบางท่านนำมาบริโภคสด โดยนำมาฟานแช่เย็นรับประทานกับเกลือ จะมีรสชาติดี หรือนำมาคั้นเป็นน้ำมะเขือเทศ บริโภคประจำวัน ส่วนสุภาพสตรีนิยมนำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ นำมาวางบนใบหน้า สามารถบำรุงผิวให้เปล่งปลั่ง ใบหน้าสวยงามเพิ่มขึ้น ซึ่งการบริโภคมะเขือเทศทำได้ง่ายมาก ทั้งบริโภคสด และนำไปประกอบอาหารโดยเฉพาะเป็นพืชแบบไทย ๆ ซื้อหาง่ายกว่าผลไม้ต่างประเทศ



ที่มา :   กรมส่งเสริมการเกษตร