เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแตงโม แตงไทย แคนตาลูป

ลูกใหญ่สม่ำเสมอ ทรงสวย ผิวสวย
เนื้อแน่นสีเข้ม ได้น้ำหนัก เพิ่มความหวาน
ผลผลิตต่อไร่สูง เก็บผลผลิตไว้ได้นาน
หมดปัญหาโรคใบหงิก ใบด่าง ยอดไม่เดิน


อย่างละ 10 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

10 กรัม
ฉีดพ่น 1 ครั้ง
เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ต้นกล้าแข็งแรง ใบใหญ่ ใบหนา หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส


อย่างละ 20 ซี.ซี. 5 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

10 กรัม
ฉีดพ่นทุกๆเดือน
เพิ่มการแตกราก รากขาว รากเยอะ ต้นกล้าแข็งแรง ใบใหญ่ ใบหนา หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส


อย่างละ 20 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

5 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
ออกดอกดก ช่วยผสมเกสร ติดผลดี ผลอ่อนโตเร็ว ลดปัญหาการหลุดร่วง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส


อย่างละ 20 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน

5 ซี.ซี.
ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
เพิ่มการสร้างเนื้อ ขยายขนาดผล ทรงสวย ลูกใหญ่สม่ำเสมอ ผิวสวย เพิ่มความหวาน เนื้อแน่นสีเข้ม ได้น้ำหนัก ผลผลิตต่อไร่สูง หมดปัญหาไส้ล้ม ไส้ฟ่าม และผลแตก
ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาพืช

ต้นสมบูรณ์ ใบใหญ่ ใบหนา ช่วยผสมเกสร หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบหงิก ใบด่าง วัคซีนพืช ป้องกันโรคเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส


นวัตกรรมเคมีเกษตรพืชยุคใหม่ สูตรประจุบวกรุนแรง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคเชื้อราทุกชนิด ประสิทธิภาพสูง สามารถหยุดการลุกลามของเชื้อโรคทันที ใช้ปริมาณน้อย ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้างในผลผลิต


สูตรประจุบวกรุนแรง ผสมผสานกรดไขมัน สูตรความเข้มข้นสูง หมดปัญหาโรคใบไหม้ โรคใบจุดวง โรคเหี่ยวเขียว โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคเชื้อราและโรคแบคทีเรียทุกชนิด


ออกดอกดก ติดผลดี ลดปัญหาการหลุดร่วง ผลอ่อนโตเร็ว เพิ่มการสร้างเนื้อ ขยายขนาดผล ลูกใหญ่สม่ำเสมอ ทรงสวย ผิวสวย
เนื้อแน่น สีเข้ม ได้น้ำหนัก เพิ่มความหวาน ผลผลิตต่อไร่สูง เก็บผลผลิตไว้ได้นาน หมดปัญหาไส้ล้ม ไส้ฟ่าม และผลแตก

สารอินทรีย์ปรับปรุงสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ช่วยการแตกราก รากขาว รากยาว รากเยอะ ปลดปล่อยปุ๋ย และเคลื่อนย้ายปุ๋ยไปยังส่วนที่พืชต้องการ
เขียวทน เขียวนาน กินปุ๋ยดี ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย เสริมฤทธิ์ยาคุม-ฆ่าหญ้า ช่วยให้หญ้าตายดีขึ้น
การปลูกและการดูแลรักษาแตงโม
แตงโม เป็นผักตระกูลแตง ที่คนไทยเรารู้จักบริโภคกันมานานแล้ว นอกจากนิยมใช้ผลรับประทานแล้ว ส่วนของผลอ่อน ยอดอ่อน ยังใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิด แตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่ายสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทุกฤดูกาลตลอดปี แตงโมปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย ซึ่งมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.0–7.5 มีการระบายนํ้าได้ดี
การเตรียมดิน
ก่อนปลูกแตงโมให้ไถพลิกหน้าดินตากดินอย่างน้อย 7-10 วัน ในดินที่เป็นกรดจัดให้ใช้ปูนขาวปรับสภาพดินอัตรา 500 กิโลกรัม/ไร่ หากเป็นพื้นที่เดิมที่มีการปลูกแตงโมซ้ำซากให้ปลูกพืชหมุนเวียน(พืชตระกูลถั่ว) ก่อนปลูกแตงโม
ระยะปลูก
หลังจากไถ ให้ทำการพรวนดินย่อยดินให้มีหน้าดินลึก ร่วนและโปร่ง จากนั้นยกร่องกว้าง1.5-2 เมตร ความยาวตามสภาพพื้นที่ ความกว้างระหว่างแปลง 30-50 เซนติเมตร เตรียมหลุมปลูกระยะ 80 x100 เซนติเมตร ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่จะสามารถปลูกแตงได้ประมาณ 1,400 ต้น ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 200 กรัม
วิธีการปลูก
1.วิธีหยอดเมล็ด
โดยหยอดเมล็ดลงหลุมปลูก หลุมละ 3-4 เมล็ด ลึก 2-3 เซนติเมตร กลบด้วยดินละเอียด รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลงหนาพอสมควร เมื่อต้นกล้าแตกใบจริงได้ 2-3 ใบ หรือประมาณ 10-15 วัน จะทำการถอนแยกให้เหลือ 1-2 ต้นต่อหลุม
2.วิธีการเพาะกล้าโดยทำการเพาะเมล็ดในถ้วยหรือถุงเพาะกล้า วัสดุเพาะประกอบด้วย ดินร่วน 3 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน และปุ๋ยคอก 1 ส่วน หรือใช้วัสดุเพาะสำเร็จรูป คือ พีทมอส ซึ่งสามารถอุ้มน้ำได้ดี มีธาตุอาหารครบ เมื่อต้นกล้ามีอายุ 10-15 วัน หรือมีใบจริง 2-3 ใบ ทำการย้ายลงแปลงปลูก การปลูกแตงโมลูกผสม แนะนำให้ใช้วิธีเพาะกล้า จะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาต้นกล้า และประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ได้ ถ้าเป็นแตงโมชนิดไม่มีเมล็ด จะต้องมีการหนีบเมล็ดก่อน ถึงจะนำไปเพาะลงถ้วยเพาะกล้า
การจัดเถาแตงโม
ถ้าปล่อยให้เถาแตงโมเลื้อยและแตกแขนงไปตามธรรมชาติ เถาแตงของแต่ละต้นก็จะเลื้อยทับกัน และซ้อนกันจนหนาแน่น ทำ ให้ผลผลิตลดน้อยลง สืบเนื่องมาจากแมลงช่วยผสมเกสรได้ไม่ทั่วถึง เพราะไม่อาจแทรกหาดอกได้ทั้งหมด ฉะนั้นเมื่อเถาแตงโมเจริญเติบโตไปจนมีความยาว 1-2 ฟุต ควร ได้มีการจัดเถาให้เลื้อยไปในทางเดียวกันและตัดเถาให้เหลือไว้ต้นละ 4 เถา
การกำจัดวัชพืช
1.ใช้จอบถาก
2.ใช้ฟางคลุมดิน ควบคุมไม่ให้หญ้าขึ้นและเจริญเติบโตมาแข่งกับแตงโม เพราะแตงโมแพ้หญ้ามากเนื่องจากหญ้าส่วนใหญ่มีใบปรกดิน เถาแตงโมนั้นทอดนอนไปกับผิวดิน หากหญ้าขึ้นคลุมแตงโมเมื่อใด หญ้าจะบังใบแตงโมไม่ให้ถูกแดดทำ ให้ใบแตงโมปรุงอาหารไม่ได้เต็มที่ และจะอ่อนแอลงทันทีในที่สุดจะตายหมด ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ เท่านั้น
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
โรคแตงโม
โรคราน้ำค้าง

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลือง เพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อน ต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย
การแพร่ระบาด
สปอร์ ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง
การป้องกันกำจัด
1.กำจัดวัชพืชพวกแตงต่างๆ และต้นที่งอก หรือหลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวให้หมดจากบริเวณหรือแปลงปลูก
2.เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นในแปลงปลูกให้รีบป้องกันการระบาดเพื่อรักษาต้นที่ยังดีอยู่โดยการใช้สารเคมี
3.เลือกปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค
โรคเถาเหี่ยว

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum
ลักษณะอาการ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ จะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาในเถาใดเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่ และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้น
การแพร่ระบาด ปกติเชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตง ต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบของแมลงเต่าแตงนี้ เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อน้ำและอาหารของแตงโม
การป้องกันกำจัด
1.อย่าปลูกแตงโมซ้ำที่เดิมที่เคยมีการระบาด
2.คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี ก่อนนำไปปลูก
3.ใช้สารเคมีราดลงในหลุมแตงโมที่เกิดโรคและบริเวณข้างเคียงทุก 7 วัน
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
การนำไปใช้ประโยชน์
1.แตงโม นิยมรับประทานเป็นผลไม้ โดยแตงโมมีสรรพคุณ แผนไทย คือ
-ราก แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
-เปลือก แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ
-ผล แก้ร้อนใน บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ แก้อ่อนเพลีย
-เมล็ด ขับพยาธิ
2.ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากแตงโม เช่น เมล็ดแตงโมอบแห้ง เปลือกแตงโมหยี ไอศกรีมแตงโม
ที่มา: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล