พรีคัส

สารตั้งต้นเพิ่มการผลิตสารสะสมของพืช

คุณสมบัติ

พรีคัส เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเอาสารตั้งต้นที่พืชจะได้จากการสังเคราะห์แสงตามธรรมชาติเพื่อนำไปใช้ในการผลิตสารสะสมในพืชมาให้กับพืชโดยตรง พรีคัส เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารสะสมในพืชชนิดต่างๆได้ทุกชนิด ได้แก่ แป้ง น้ำตาล โปรตีน ไขมัน น้ำยาง อัลคาลอยด์ ฮอร์โมน กลิ่น รงควัตถุสี เป็นต้น

พรีคัส ให้สารมาเลท(Malate)โดยตรงแก่พืช ซึ่งในธรรมชาติพืชจะได้สารนี้จากการสังเคราะห์ โดยเฉพาะพืชชนิด C4 และ CAM สารมาเลทจะเป็นสารตั้งต้นในการเปลี่ยน Pyruvate และ Acetyl-CoA ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนเป็นไขมัน น้ำมัน น้ำยาง แป้ง น้ำตาล ตามขบวนการสังเคราะห์ของพืชแต่ละชนิด

พรีคัส ให้สารกลูตามิค แอซิด(Glutamic acid) ซึ่งจะเป็นสารตั้งต้นที่พืชจะสังเคราะห์ขึ้นหลังจากที่ได้ปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นสารมาเลทต่อไปและช่วยเพิ่มพลังงานทำให้พืชเจริญเติบโตและเพิ่มสารสะสมอย่างรวดเร็ว

พรีคัส ยังมีแมกนีเซียมในรูปคีเลท และโปตัสเซียม ซึ่งช่วยให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น และยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำคัญในการต่อสายโมเลกุลของน้ำมันและน้ำยาง ทำให้เพิ่มคุณภาพของสารสะสมต่างๆในพืช

Active Ingredients:
Magnesium Chelate 0.3%
Glutamic Acid, and Malate compounds.

คุณประโยชน์

- ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำมันและไขมัน ใช้เพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน และเหมาะกับการนำไปใช้เพิ่มผลผลิตแก่พืชให้น้ำมันทุกชนิด
- ข่วยเพิ่มการสะสมน้ำยาง เพิ่มผลผลิตน้ำยาง เพิ่มคุณภาพน้ำยางให้ข้นขึ้นมีเปอร์เซ็นต์ยางสูงและมีโมเลกุลยาวมากขึ้น
- ช่วยเพิ่มการสะสมน้ำตาล เพิ่มผลผลิตให้กับอ้อย ช่วยเพิ่มคุณภาพและความหวานให้กับผลไม้ทุกชนิด
- ช่วยเพิ่มการสะสมแป้ง ในพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง เผือก เป็นต้น
- ช่วยเพิ่มการสะสมอัลคาลอยด์ ในพืช เช่น ยาสูบ ชา กาแฟ เป็นต้น
- ช่วยเพิ่มสีสันและกลิ่นให้กับ พืชดอก เช่น กล้วยไม้ ดาวเรือง เบญจมาศ กุหลาบ มะลิ ฯลฯ เป็นต้น
- ช่วยพืชทุกชนิดที่มีปัญหาจากการสังเคราะห์แสงจากปัจจัยต่างๆ เช่นภาวะแสงน้อยฟ้าปิด ภาวะเครียดจากอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป สภาพของพืชไม่สมบูรณ์จากโรคหรือแมลงทำลาย ธาตุอาหารไม่สมบูรณ์ ภาวะเครียดจากการขาดน้ำหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ให้สามารถเจริญเติบโตสมบูรณ์ได้

อัตราและวิธีการใช้

ใช้ พรีคัส อัตรา 20ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (1:1000) ฉีดพ่นทางใบให้กับพืช ทุกๆ 10-15 วัน ใช้ได้กับพืชทุกชนิด เช่น พืชผัก ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับและพืชไร่ ในปาล์มน้ำมันให้ฉีดพ่นที่กาบบริเวณทะลายปาล์ม ในต้นยางให้ฉีดพ่นบริเวณหน้ายางที่กรีด

พรีคัส สามารถใช้ร่วมสารเสริมประสิทธิภาพ และสามารถให้พร้อมกับยาหรือปุ๋ยทางใบทุกชนิด
precus03

ขบวนการสังเคราะห์แสงกับการสร้างสารสะสม

ขบวนการสังเคราะห์แสง เป็นขบวนการที่พืชใช้พลังงานแสงอาทิตย์เปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี โดยมี น้ำ และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ

ขบวนการสังเคราะห์แสงในพืช C3 พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน 3 ตัว คือ G3P (Glyceraldehyde-3-phosphate) ใน Calvin Cycle และสารG3Pจะถูกเปลี่ยนเป็นสารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาลโดยตรงต่อไป

precus2

ในพืช C4 และ พืช CAM พืชจะตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2 Fixation) ให้อยู่ในรูปของสารที่มีคาร์บอน 4 ตัว คือ มาเลท (Malate) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการเปลี่ยนเป็นสารสะสมต่างๆในพืชต่อไป ดังนี้

1. สารสะสมประเภทแป้งและน้ำตาล – พืช C4 และ CAM จะใช้มาเลทเป็นสารตั้งต้นให้คาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ Calvin Cycleได้สาร G3P ก่อนสังเคราะห์เป็นแป้งและน้ำตาลต่อไป

2. สารสะสมประเภท โปรตีน น้ำมัน น้ำยาง อัลคาลอยด์ สี กลิ่น ฮอร์โมนพืช ฯลฯ – พืช C4 และ CAM จะใช้ Pyruvate ที่ได้จาก Malate หลังจากปลดปล่อยคาร์บอนได้ออกไซด์แล้ว มาใช้ในการสังเคราะห์สารสะสมประเภทต่างๆ โดยมีขั้นตอน(Pathway)ตามลำดับต่อไป เช่นPyruvate เป็นน้ำยางได้โดยผ่าน Isoprenoid Pathway หรือ ผ่าน GAP/Pyruvate Pathway, Pyruvate เป็นน้ำมันต่างๆได้โดยผ่าน Mevalonic Pathway เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง

1. สภาพของพืช ได้แก่ สภาพทางสรีรวิทยา เช่นสรีระของใบ อายุของใบ การเข้าทำลายใบของโรคพืช ที่ผลต่อสภาพรงควัตถุที่ใช้สังเคราะห์แสง สภาพทางพันธุกรรม ได้แก่ C3, C4, CAM มีผลต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชนั้นๆ

2. แสง ได้แก่ ความเข้มของแสง ความเข้มของแสงสูงอ้ตราการสังเคราะห์แสงจะสูงแต่ถ้าเกินจุดอิ่มตัวจะทำให้ใบไหม้ได้ ความเข้มของแสงต่ำอัตราการสังเคราะห์แสงจะต่ำ แต่อัตราการหายใจไม่ขึ้นกับความเข้มของแสง ดังนั้นถ้าความเข้มของแสงต่ำเกินจุดอัตราสมดุลย์ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ CO2 และ O2 พืชก็จะเริ่มไม่เจริญและตายในที่สุด ความยาวช่วงแสง อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มเป็นสัดส่วนกับความยาวของช่วงวัน ความยาวคลื่นแสง พบว่าช่วงคลื่นแสงสีแดงและสีน้ำเงินมีผลต่อการสังเคราะห์แสงมากกว่าแสงในช่วงคลื่นอื่นๆ

3. อุณหภูมิ ถ้าสูงหรือต่ำเกินไปจะมีผลต่อการทำงานของเอ็มไซม์ในขบวนการ Dark Reaction ในอุณหภูมิที่สูงมากจะทำให้ปากใบปิดอัตราการหายใจสูงและอัตราการสังเคราะห์แสงลดลง

4. ความเข้มข้นของก๊าซในบรรยากาศ เช่น CO2 มากทำให้อัตราการสังเคราะห์แสงมากขึ้นจนถึงจุดอิ่มตัวอัตราการสังเคราะห์ก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีก O2 มากจะลดการสังเคราะห์แสงของพืช C3 เพราะแย่งการใช้วัตถุดิบRuBPตัวเดียวกับ CO2

5. ธาตุอาหาร มีผลต่อการสังเคราะห์ทั้งทางตรงและทางอ้อม แมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของคลอโรฟิลล์ ธาตุอาหารหลายชนิดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นตอนการสังเคราะห์แสง

6. ปริมาณน้ำที่พืชได้รับ เพราะน้ำเป็นแหล่งอิเลคตรอนที่ใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสง น้ำมีผลต่อการปิดเปิดปากใบทำให้มีผลต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้าไปใบ น้ำมีผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซในระดับเซล

ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือเมื่อสภาพของพืชไม่สมบูรณ์ พืชมักมีปัญหาจากการสังเคราะห์แสง พืชจะอยู่ในสภาพเครียด จากปัจจัยที่มีผลได้ข้างต้น พรีคัส สามารถปรับสภาพของพืชได้อย่างรวดเร็ว จากการให้สารตั้งต้น C4 หรือมาเลทแก่พืชโดยตรง ชดเชยการขาดมาเลทจากการสังเคราะห์แสงที่มีปัญหาชองพืช