ทูเบอร์ก้า

สารช่วยส่งเสริมการลงหัวสำหรับพืช

คุณสมบัติ

ทูเบอร์ก้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารออกฤทธิ์สำคัญคือ กรดจัสโมนิค ซึ่งจัดเป็นฮอร์โมนพืชชนิดใหม่ที่สามารถช่วยกระตุ้นการลงหัว(Turberization)ได้ การใช้ ทูเบอร์ก้า เป็นเทคนิคใหม่ที่ทำให้การลงหัวของพืชเกิดได้รวดเร็วและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการให้เพียงครั้งเดียว

กรดจัสโมนิคใน ทูเบอร์ก้า จะทำให้เซล Subapical meristem ที่จะสะสมแป้งและโปรตีนบริเวณลำต้น Stolon หรือราก มีการขยายตัวขึ้นและแบ่งตัวมากขึ้นในแนวรัศมี(Radial Growth) หยุดการเจริญเติบโตที่ยอด(Elongation Growth) ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นมาเป็นหัวสะสมแป้งและโปรตีน

ทูเบอร์ก้า ทำให้เซลพืชบริเวณหัวสะสม ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และจำนวนมากขึ้นทำให้มีช่องว่างพร้อมในการสะสมแป้งและโปรตีนมากขึ้น

กรดจัสโมนิคและสารอินทรีย์ที่สำคัญในทูเบอร์ก้าา ยังช่วยการเคลื่อนย้ายแป้งและโปรตีนให้มาสะสมที่หัวได้มากง่ายขิ้นทำให้หัวมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทูเบอร์ก้า ยังมีแมกนีเซียมในรูปคีเลทที่ดูดซึมนำไปใช้ได้ง่าย และกรดกลูตามิค (Glutamic acid) ช่วยเสริมสร้างคลอโรฟิลล์ที่ใบ ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้เป็นแป้งและพลังงาน เพื่อใช้ในการสะสมที่หัวได้ดี

Contains:
Magnesium Chelate 1%, Jasmonic acid,
Glutamic acid and Organic compounds.

คุณประโยชน์

- ช่วยกระตุ้นขบวนการลงหัวของพืช(Tuberization) ทำให้การลงหัวดีมีประสิทธิภาพขึ้นและมีความสม่ำเสมอมากขึ้น
- เพิ่มการสะสมแป้งและโปรตีน ทำให้ได้หัวขนาดใหญ่ขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์แป้งสูง ได้คุณภาพ
- สามารถใช้ได้กับพืชหัวทุกชนิด เช่น มันฝรั่ง มันสำปะหลัง เผือก หอม กระเทียม หัวผักกาด เป็นต้น
- ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ด้วยวิธีง่ายๆและประหยัด โดยการฉีดพ่นทางใบเพียงครั้งเดียว
- สามารถใช้ได้กับพืชลงหัวทุกชนิดโดยไม่เกิดอันตราย ปลอดภัยผู้บริโภค ไม่มีสารอันตราย ไม่มีสารตกค้าง

อัตราและวิธีการใช้

ใช้ ทูเบอร์ก้า อัตรา 20ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (1:1000) ฉีดพ่นทางใบจนเปียกชุ่มให้กับพืชหัวเพียงครั้งเดียวช่วงที่พืชเริ่มลงหัว

ทูเบอร์ก้า สามารถใช้ร่วมสารเสริมประสิทธิภาพ และสามารถให้พร้อมกับยาหรือปุ๋ยทางใบทุกชนิด
tuberga2

การลงหัว (Tuberization)

ในธรรมชาติ Photoperiod หรือระยะเวลาที่พืชได้รับแสงต่อวัน และอุณหภูมิจะมีผลต่อการลงหัวของพืชที่มีการลงหัว เมื่อช่วงเวลารับแสงเหมาะสมและอุณหภูมิที่ลดลง พืชจะสังเคราะห์ กรดจัสโมนิค (Jasmonic acid) ที่ใบ หลังจากนั้นจะถูกเคลื่อนไปยังลำต้นที่ทอดแนวราบไปตามดิน (Stolon) หรือราก (Root) ทำให้เกิดการลงหัว

tuberga3


การลงหัวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลที่เซลเยื่อเจริญ (meristems) ที่อยู่บริเวณปลายรากและปลายยอดของพืชหลังจากได้รับกรดจัสโมนิคในระดับปริมาณที่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงระดับเซลเกิดขึ้นทั้งทางด้านโครงสร้าง มีดังนี้

1. เซลขยายตัว (Cell Enlargement)เซลจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับการสะสมแป้งและโปรตีน

2. เซลแบ่งตัว (Cell Division) เซลจะเริ่มแบ่งตัวในแนวขวาง และหยุดการแบ่งตัวในแนวยาว ทำให้เกิดลักษณะบวมขึ้นเป็นหัว

3. เซลเปลี่ยนสภาพและหน้าที่ (Cell Differentiation) ทำให้Stolonเปลี่ยนสภาพและหน้าที่ไปสะสมอาหาร และเซลท่อลำเลียงยังเปลี่ยนสภาพทำให้การลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัวสะดวกและง่ายขึ้นด้วย

tuberga4

การสะสมอาหารที่หัวยังขึ้นกับระดับน้ำตาลในพืชด้วย ถ้าระดับน้ำตาลสูงก็จะทำให้การลงหัวดีและมีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นการสังเคราะห์แสงดีจะมีส่วนช่วยในการลงหัว
tuberga5